เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อจ่ายเป็นค่าสินบนรางวัล หรือค่าใช้จ่าย
ในการจัดให้ได้มาซึ่งเงินจากการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้ง 2 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อจ่ายเป็นค่าสินบนรางวัล หรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้ได้มาซึ่งเงินจากการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. อนุมัติให้ถอนร่างข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอได้ และให้แจ้งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติ ที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ทราบต่อไป
กระทรวงการคลังเสนอว่า ได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับการอาศัยอำนาจที่เหมาะสมในการออกข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา พ.ศ. .... โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12) พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า เนื่องจากกระทรวงการคลังได้ออกข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการหักรายรับจ่ายขาดและการถอนคืนเงินรายรับ พ.ศ. 2550 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การหักรายจ่ายจากเงินรายรับที่ต้องนำส่งเข้าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 โดยในข้อ 7 (2) ของข้อบังคับดังกล่าวได้กำหนดให้รายจ่ายเพื่อจ่ายเป็นค่าสินบน รางวัล หรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้ได้มาซึ่งเงินอันพึงต้องชำระให้แก่รัฐบาลสามารถนำมาหักจากเงินรายรับที่จะต้องนำส่งคลังได้ การดำเนินการต่อไปจึงต้องกำหนดระเบียบตามที่ได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลังเพื่อกำหนดรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายในกรณีดังกล่าว แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีระเบียบกำหนดรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายเกี่ยวกับการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง ตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 จึงจะต้องมีการออกระเบียบเพื่อกำหนดให้มีการจ่ายค่าตอบแทนการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้ได้มาซึ่งเงินอันพึงต้องชำระให้แก่รัฐบาลตามมาตรา 4 วรรคสอง (2) ก่อน เมื่อมีระเบียบดังกล่าวแล้วก็สามารถหักรายจ่ายจากเงินรายรับที่ต้องนำส่งคลังได้ตามข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการหักรายรับจ่ายขาดและการถอนคืนเงินรายรับ พ.ศ. 2550 โดยไม่จำเป็นต้องออกร่างข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษา พ.ศ. .... ตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 อีก จึงได้เสนอร่างระเบียบดังกล่าวและเสนอขอถอนร่างข้อบังคับฯ มาเพื่อดำเนินการ
โดยร่างระเบียบฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการมีอำนาจพิจารณาคัดเลือกหรือยกเลิกสำนักงานและการจ่ายเงินค่าตอบแทน (ร่างข้อ 4)
2. กำหนดให้ส่วนราชการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่ผู้สืบหาทรัพย์สินจากเงินที่ได้รับจากการบังคับคดีและหรือการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา (ร่างข้อ 5)
3. กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหักเงินที่ได้รับจากการบังคับคดีและหรือการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้จ่ายเป็นค่าตอบแทนให้แก่ผู้สืบหาทรัพย์สินก่อนนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (ร่างข้อ 6)
4. กรณีที่ไม่มีผู้สืบหาทรัพย์สินมาขอรับเงินค่าตอบแทนภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่บังคับคดีและหรือการขายทอดตลาดได้แล้วแต่กรณี ให้นำเงินดังกล่าวส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (ร่างข้อ 9)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--
ในการจัดให้ได้มาซึ่งเงินจากการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้ง 2 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายเพื่อจ่ายเป็นค่าสินบนรางวัล หรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้ได้มาซึ่งเงินจากการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. อนุมัติให้ถอนร่างข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอได้ และให้แจ้งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติ ที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ทราบต่อไป
กระทรวงการคลังเสนอว่า ได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับการอาศัยอำนาจที่เหมาะสมในการออกข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา พ.ศ. .... โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 12) พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า เนื่องจากกระทรวงการคลังได้ออกข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการหักรายรับจ่ายขาดและการถอนคืนเงินรายรับ พ.ศ. 2550 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การหักรายจ่ายจากเงินรายรับที่ต้องนำส่งเข้าบัญชีเงินคงคลังบัญชีที่ 1 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 โดยในข้อ 7 (2) ของข้อบังคับดังกล่าวได้กำหนดให้รายจ่ายเพื่อจ่ายเป็นค่าสินบน รางวัล หรือค่าใช้จ่ายในการจัดให้ได้มาซึ่งเงินอันพึงต้องชำระให้แก่รัฐบาลสามารถนำมาหักจากเงินรายรับที่จะต้องนำส่งคลังได้ การดำเนินการต่อไปจึงต้องกำหนดระเบียบตามที่ได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลังเพื่อกำหนดรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายในกรณีดังกล่าว แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีระเบียบกำหนดรายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายเกี่ยวกับการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งได้รับความตกลงจากกระทรวงการคลัง ตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 จึงจะต้องมีการออกระเบียบเพื่อกำหนดให้มีการจ่ายค่าตอบแทนการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันถือได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้ได้มาซึ่งเงินอันพึงต้องชำระให้แก่รัฐบาลตามมาตรา 4 วรรคสอง (2) ก่อน เมื่อมีระเบียบดังกล่าวแล้วก็สามารถหักรายจ่ายจากเงินรายรับที่ต้องนำส่งคลังได้ตามข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการหักรายรับจ่ายขาดและการถอนคืนเงินรายรับ พ.ศ. 2550 โดยไม่จำเป็นต้องออกร่างข้อบังคับกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนการสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษา พ.ศ. .... ตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 อีก จึงได้เสนอร่างระเบียบดังกล่าวและเสนอขอถอนร่างข้อบังคับฯ มาเพื่อดำเนินการ
โดยร่างระเบียบฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการมีอำนาจพิจารณาคัดเลือกหรือยกเลิกสำนักงานและการจ่ายเงินค่าตอบแทน (ร่างข้อ 4)
2. กำหนดให้ส่วนราชการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่ผู้สืบหาทรัพย์สินจากเงินที่ได้รับจากการบังคับคดีและหรือการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา (ร่างข้อ 5)
3. กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหักเงินที่ได้รับจากการบังคับคดีและหรือการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้จ่ายเป็นค่าตอบแทนให้แก่ผู้สืบหาทรัพย์สินก่อนนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (ร่างข้อ 6)
4. กรณีที่ไม่มีผู้สืบหาทรัพย์สินมาขอรับเงินค่าตอบแทนภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่บังคับคดีและหรือการขายทอดตลาดได้แล้วแต่กรณี ให้นำเงินดังกล่าวส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (ร่างข้อ 9)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--