คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎ ก.ค.ศ. ดังกล่าว มีดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และปลัดกระทรวง (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดระยะเวลาในการร้องทุกข์คำสั่งให้ออกจากราชการให้ร้องทุกข์ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง (ร่างข้อ 2)
3. กำหนดหลักเกณฑ์การร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์ในกรณีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากการกระทำของผู้บังคับบัญชาหรือการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย กำหนดสิทธิให้ผู้ร้องทุกข์สามารถขอแถลงการณ์ด้วยวาจาได้ (ร่างข้อ 3 — ร่างข้อ 6)
4. กำหนดวิธีการร้องทุกข์สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มิได้สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา (ร่างข้อ 7 — ร่างข้อ 8)
5. กำหนดให้ผู้ร้องทุกข์มีสิทธิคัดค้านอนุกรรมการ หรือกรรมการผู้พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ได้ ถ้าเข้าตามเหตุที่กำหนด (ร่างข้อ 9)
6. กำหนดให้ผู้ร้องทุกข์สามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ก่อนที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ.จะพิจารณาเสร็จสิ้น(ร่างข้อ 10)
7. กำหนดระยะเวลาให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องทุกข์และเอกสาร ยกเว้นมีเหตุจำเป็น ให้ขยายเวลาได้อีกไม่เกินสามสิบวันและให้บันทึกแสดงเหตุผลความจำเป็นไว้ด้วย (ร่างข้อ 13)
8. กำหนดไว้เมื่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ. มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้เป็นที่สุด (ร่างข้อ 15)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--
สาระสำคัญของร่างกฎ ก.ค.ศ. ดังกล่าว มีดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และปลัดกระทรวง (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดระยะเวลาในการร้องทุกข์คำสั่งให้ออกจากราชการให้ร้องทุกข์ได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่ง (ร่างข้อ 2)
3. กำหนดหลักเกณฑ์การร้องทุกข์และการพิจารณาร้องทุกข์ในกรณีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากการกระทำของผู้บังคับบัญชาหรือการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย กำหนดสิทธิให้ผู้ร้องทุกข์สามารถขอแถลงการณ์ด้วยวาจาได้ (ร่างข้อ 3 — ร่างข้อ 6)
4. กำหนดวิธีการร้องทุกข์สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มิได้สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา (ร่างข้อ 7 — ร่างข้อ 8)
5. กำหนดให้ผู้ร้องทุกข์มีสิทธิคัดค้านอนุกรรมการ หรือกรรมการผู้พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ได้ ถ้าเข้าตามเหตุที่กำหนด (ร่างข้อ 9)
6. กำหนดให้ผู้ร้องทุกข์สามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ก่อนที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ.จะพิจารณาเสร็จสิ้น(ร่างข้อ 10)
7. กำหนดระยะเวลาให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ. พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องทุกข์และเอกสาร ยกเว้นมีเหตุจำเป็น ให้ขยายเวลาได้อีกไม่เกินสามสิบวันและให้บันทึกแสดงเหตุผลความจำเป็นไว้ด้วย (ร่างข้อ 13)
8. กำหนดไว้เมื่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา หรือ ก.ค.ศ. มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้เป็นที่สุด (ร่างข้อ 15)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--