แท็ก
กระทรวงแรงงาน
เรื่อง ร่างระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยการได้มา วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของ
ผู้แทนองค์กรนายจ้างและผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าวและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยการได้มา วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้แทนองค์กรนายจ้างและผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าวและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงแรงงานเสนอว่า พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 41 และมาตรา 45 ได้บัญญัติให้มีคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีผู้แทนองค์กรนายจ้าง ผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการโดยกำหนดให้การได้มา วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้แทนองค์กรนายจ้างและผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงได้เสนอร่างระเบียบดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างระเบียบมีดังนี้
1. กำหนดคำนิยามขององค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง สมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน คณะกรรมการ (ร่างข้อ 3)
2. กำหนดให้จัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรนายจ้าง และกรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างในคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว (ร่างมาตรา 5)
3. กำหนดให้องค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้างเสนอชื่อผู้แทนซึ่งต้องเป็นกรรมการขององค์กรนั้น เพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ (ร่างข้อ 8)
4. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม (ร่างข้อ 9)
5. กำหนดให้สมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงาน มีสิทธิเสนอชื่อผู้แทน ซึ่งเป็นกรรมการเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนองค์กรนายจ้าง และผู้แทนองค์กรลูกจ้างในคณะกรรมการ (ร่างข้อ 10)
6. กำหนดให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจคะแนน โดยมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระเบียบ ควบคุมดูแลให้ความสะดวก ตรวจสอบหลักฐานการแสดงตนของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และตรวจนับและรวมคะแนนเลือกตั้ง (ร่างข้อ 13 — ร่างข้อ 14)
7. กำหนดวิธีการดำเนินการเลือกตั้ง (ร่างข้อ 17 — ร่างข้อ 21)
8. กำหนดวิธีการตรวจและรวมคะแนน (ร่างข้อ 22 — ร่างข้อ 26)
9. กำหนดวิธีการแต่งตั้งกรรมการ (ร่างข้อ 27 — ร่างข้อ 32)
10. กำหนดให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจากกรมการจัดหางาน (ร่างข้อ 33)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--
ผู้แทนองค์กรนายจ้างและผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าวและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยการได้มา วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้แทนองค์กรนายจ้างและผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าวและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงแรงงานเสนอว่า พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 41 และมาตรา 45 ได้บัญญัติให้มีคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวมีผู้แทนองค์กรนายจ้าง ผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการโดยกำหนดให้การได้มา วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้แทนองค์กรนายจ้างและผู้แทนองค์กรลูกจ้าง และวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงได้เสนอร่างระเบียบดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างระเบียบมีดังนี้
1. กำหนดคำนิยามขององค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง สมาคมนายจ้าง สหภาพแรงงาน คณะกรรมการ (ร่างข้อ 3)
2. กำหนดให้จัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรนายจ้าง และกรรมการผู้แทนองค์กรลูกจ้างในคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว (ร่างมาตรา 5)
3. กำหนดให้องค์กรนายจ้างและองค์กรลูกจ้างเสนอชื่อผู้แทนซึ่งต้องเป็นกรรมการขององค์กรนั้น เพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ (ร่างข้อ 8)
4. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม (ร่างข้อ 9)
5. กำหนดให้สมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงาน มีสิทธิเสนอชื่อผู้แทน ซึ่งเป็นกรรมการเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนองค์กรนายจ้าง และผู้แทนองค์กรลูกจ้างในคณะกรรมการ (ร่างข้อ 10)
6. กำหนดให้อธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจคะแนน โดยมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระเบียบ ควบคุมดูแลให้ความสะดวก ตรวจสอบหลักฐานการแสดงตนของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และตรวจนับและรวมคะแนนเลือกตั้ง (ร่างข้อ 13 — ร่างข้อ 14)
7. กำหนดวิธีการดำเนินการเลือกตั้ง (ร่างข้อ 17 — ร่างข้อ 21)
8. กำหนดวิธีการตรวจและรวมคะแนน (ร่างข้อ 22 — ร่างข้อ 26)
9. กำหนดวิธีการแต่งตั้งกรรมการ (ร่างข้อ 27 — ร่างข้อ 32)
10. กำหนดให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจากกรมการจัดหางาน (ร่างข้อ 33)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--