คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้องค์การสวนยางปรับค่าจ้างกรีดเก็บน้ำยางจากเดิมร้อยละ 42 ของราคายางแผ่นดิบรมควันชั้น 3 เป็นร้อยละ 43 ของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 สำหรับต้นยางที่มีอายุกรีด 15 ปีขึ้นไปของฝ่ายสวน 1 และฝ่ายสวน 3 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2549 เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ได้กำหนดการจ้างค่าจ้างกรีดเก็บน้ำยางจ่ายให้กับลูกจ้างกรีดยางของฝ่ายสวน 1 และฝ่ายสวน 3 ในปี 2536 เท่ากับร้อยละ 43
2. ต่อมาในปี 2540 เกิดภาวะวิกฤต อ.ส.ย.จึงได้ร่วมกับสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจของ อ.ส.ย.ในขณะนั้น ปรับลดอัตราค่าจ้างกรีดเก็บน้ำยางลงมาเหลือร้อยละ 40 และในปี 2543 ได้มีการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างกรีดเก็บน้ำยางเป็น ร้อยละ 42 จนถึงปัจจุบันตามระเบียบองค์การสวนยางว่าด้วยการปฏิบัติงานของคนงานกรีดยาง พ.ศ. 2536 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
3. ในการประชุมคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547 สหภาพแรงงาน รัฐวิสาหกิจ อ.ส.ย. เสนอขอให้มีการปรับเพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่ากรีดเก็บน้ำยางของฝ่ายสวน 1 และ 3 จากร้อยละ 42 เป็นร้อยละ 43
4. อ.ส.ย.ได้หารือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อหารือข้อกฎหมายกรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อ.ส.ย. ขอปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างของลูกจ้างกรีดยางจากเดิม ร้อยละ 42 เป็นร้อยละ 43 ต่อมากรมสวัสดิการฯ ได้ตอบว่าข้อตกลงที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้าง จากเดิมร้อยละ 42 เป็นร้อยละ 43 นั้น เป็นสภาพการจ้างเกี่ยวกับการเงินต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก่อน
5. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อ.ส.ย. ได้ยื่นข้อเรียกร้องประจำปี 2549 จำนวน 10 ข้อ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 และได้นำเข้าสู่กระบวนการไตรภาคีสามารถตกลงกันได้โดย อ.ส.ย.ได้นำข้อตกลงดังกล่าวมาจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2550 ซึ่งในข้อตกลงข้อที่ 1 เห็นชอบให้เพิ่มค่าตอบแทนกรีดเก็บน้ำยางของลูกจ้างกรีดยางที่มีสวัสดิการ จากเดิมร้อยละ 42 ของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 เป็นร้อยละ 43 ของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 สำหรับต้นยางที่มีอายุกรีด15 ปีขึ้นไปของฝ่ายสวน 1 และฝ่ายสวน 3 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2549 เป็นต้นไป ทั้งนี้ อ.ส.ย.ขอนำผลเสนอคณะกรรมการบริหารกิจการของ อ.ส.ย.ให้ความเห็นชอบก่อน
6. คณะกรรมการบริหารกิจการของ อ.ส.ย. ในการประชุม ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550 มีมติ
เห็นชอบให้ อ.ส.ย. ปรับอัตราค่าจ้างกรีดเก็บน้ำยางของลูกจ้างกรีดยางตามข้อ 5 โดยให้นำเสนอคณะกรรมการแรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนต่อไป
7. คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ในคราวประชุมครั้งที่ 18 ธันวาคม 2550 ได้มีมติเห็นชอบให้ อ.ส.ย.ปรับอัตราค่าจ้างของลูกจ้างกรีดเก็บน้ำยางที่มีสวัสดิการจากร้อยละ 42 ของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 เป็นร้อยละ 43 ของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 สำหรับต้นยางที่มีอายุกรีด 15 ปีขึ้นไปของฝ่ายสวน 1 และฝ่ายสวน 3 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2549
8. อ.ส.ย.ได้ดำเนินการกันวงเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างกรีดยาง เมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ และไม่กระทบต่อการเงินของ อ.ส.ย.แต่ประการใด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ได้กำหนดการจ้างค่าจ้างกรีดเก็บน้ำยางจ่ายให้กับลูกจ้างกรีดยางของฝ่ายสวน 1 และฝ่ายสวน 3 ในปี 2536 เท่ากับร้อยละ 43
2. ต่อมาในปี 2540 เกิดภาวะวิกฤต อ.ส.ย.จึงได้ร่วมกับสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจของ อ.ส.ย.ในขณะนั้น ปรับลดอัตราค่าจ้างกรีดเก็บน้ำยางลงมาเหลือร้อยละ 40 และในปี 2543 ได้มีการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างกรีดเก็บน้ำยางเป็น ร้อยละ 42 จนถึงปัจจุบันตามระเบียบองค์การสวนยางว่าด้วยการปฏิบัติงานของคนงานกรีดยาง พ.ศ. 2536 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
3. ในการประชุมคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547 สหภาพแรงงาน รัฐวิสาหกิจ อ.ส.ย. เสนอขอให้มีการปรับเพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่ากรีดเก็บน้ำยางของฝ่ายสวน 1 และ 3 จากร้อยละ 42 เป็นร้อยละ 43
4. อ.ส.ย.ได้หารือกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อหารือข้อกฎหมายกรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อ.ส.ย. ขอปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างของลูกจ้างกรีดยางจากเดิม ร้อยละ 42 เป็นร้อยละ 43 ต่อมากรมสวัสดิการฯ ได้ตอบว่าข้อตกลงที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าจ้าง จากเดิมร้อยละ 42 เป็นร้อยละ 43 นั้น เป็นสภาพการจ้างเกี่ยวกับการเงินต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก่อน
5. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ อ.ส.ย. ได้ยื่นข้อเรียกร้องประจำปี 2549 จำนวน 10 ข้อ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 และได้นำเข้าสู่กระบวนการไตรภาคีสามารถตกลงกันได้โดย อ.ส.ย.ได้นำข้อตกลงดังกล่าวมาจดทะเบียนต่อนายทะเบียนเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2550 ซึ่งในข้อตกลงข้อที่ 1 เห็นชอบให้เพิ่มค่าตอบแทนกรีดเก็บน้ำยางของลูกจ้างกรีดยางที่มีสวัสดิการ จากเดิมร้อยละ 42 ของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 เป็นร้อยละ 43 ของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 สำหรับต้นยางที่มีอายุกรีด15 ปีขึ้นไปของฝ่ายสวน 1 และฝ่ายสวน 3 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2549 เป็นต้นไป ทั้งนี้ อ.ส.ย.ขอนำผลเสนอคณะกรรมการบริหารกิจการของ อ.ส.ย.ให้ความเห็นชอบก่อน
6. คณะกรรมการบริหารกิจการของ อ.ส.ย. ในการประชุม ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2550 มีมติ
เห็นชอบให้ อ.ส.ย. ปรับอัตราค่าจ้างกรีดเก็บน้ำยางของลูกจ้างกรีดยางตามข้อ 5 โดยให้นำเสนอคณะกรรมการแรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนต่อไป
7. คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ในคราวประชุมครั้งที่ 18 ธันวาคม 2550 ได้มีมติเห็นชอบให้ อ.ส.ย.ปรับอัตราค่าจ้างของลูกจ้างกรีดเก็บน้ำยางที่มีสวัสดิการจากร้อยละ 42 ของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 เป็นร้อยละ 43 ของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 สำหรับต้นยางที่มีอายุกรีด 15 ปีขึ้นไปของฝ่ายสวน 1 และฝ่ายสวน 3 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2549
8. อ.ส.ย.ได้ดำเนินการกันวงเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างกรีดยาง เมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ และไม่กระทบต่อการเงินของ อ.ส.ย.แต่ประการใด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--