คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการลดก๊าซเรือนกระจก และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานว่า
1. รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการบรรเทาวิกฤตภาวะโลกร้อน โดยกำหนดเป็นโครงการสำคัญของประเทศ (Flagship Project) และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยกันบรรเทาสถานการณ์วิกฤต ซึ่ง ทส. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานประสานงานกลางของประเทศ (National Focal Point) ในการดำเนินงานตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้มีการดำเนินงานที่สำคัญ ๆ นอกจากการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึก และความตระหนักให้กับประชาชนแล้ว ยังได้ดำเนินงานในระดับนโยบายของประเทศและระดับปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ได้แก่ การจัดทำยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ พ.ศ. 2551-2555 ดำเนินการโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ (22 มกราคม 2551) แล้ว และการส่งเสริมให้มีการจัดการลดก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดภายใต้พิธีสารเกียวโต ดำเนินการโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) และปัจจุบันกำลังดำเนินการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง โดย สผ.เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการจัดทำ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 และจะได้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป
2. การส่งเสริมการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) ภายใต้พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นกลไกที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจก โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ถือเป็นคาร์บอนเครดิต ที่สามารถซื้อขายได้กับประเทศพัฒนาแล้วที่มีพันธกรณีต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงตามพิธีสารเกียวโต โดยโครงการเหล่านั้นจะต้องได้รับการรับรองตามกฎเกณฑ์ของพิธีสารเกียวโต ซึ่งกำหนดให้แต่ละประเทศจะต้องจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า Designated National Authority : DNA ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาให้การรับรองโครงการ สำหรับประเทศไทยได้จัดตั้งองค์การบริหาร จัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว
3. ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้การรับรองโครงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่าโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) ที่สามารถนำไปขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานกลางของพิธีสารเกียวโต คือ Clean Development Mechanism-Executive Board (CDM Executive Board) ณ กรุงบอนด์ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเป็นคาร์บอนเครดิตแล้วจำนวน 30 โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้ 2.12 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (tCO2e/yr) คิดเป็นมูลค่าของคาร์บอนเครดิตซึ่งจะเป็นรายได้เข้าประเทศประมาณ 1,020 ล้านบาท/ปี (ณ ราคาเฉลี่ยประมาณตันละ 10 ยูโร) และขณะนี้มีโครงการที่เสนอมายังองค์การบริหาร จัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ให้พิจารณาให้การรับรองอีก 27 โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่จะลดลงได้อีกประมาณ 1.2 ล้านตัน/ปี และมีมูลค่าของคาร์บอนเครดิตซึ่งจะเป็นรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 576 ล้านบาท/ปี โครงการเหล่านี้ ได้แก่
3.1 โครงการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพจากของเสีย (น้ำเสียจากฟาร์มสุกร โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำมันปาล์ม)
3.2 โครงการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงชีวมวล (แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ ฯลฯ)
3.3 โครงการผลิตไฟฟ้าจากหลุมฝังกลบขยะ
3.4 โครงการใช้ประโยชน์จากความร้อนปล่อยทิ้ง (Heat Waste)
3.5 โครงการลดก๊าซไนตรัสออกไซด์จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม
3.6 โครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากน้ำเสียและทะลายปาล์มเก่า
3.7 โครงการเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานว่า
1. รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการบรรเทาวิกฤตภาวะโลกร้อน โดยกำหนดเป็นโครงการสำคัญของประเทศ (Flagship Project) และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยกันบรรเทาสถานการณ์วิกฤต ซึ่ง ทส. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานประสานงานกลางของประเทศ (National Focal Point) ในการดำเนินงานตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้มีการดำเนินงานที่สำคัญ ๆ นอกจากการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สร้างจิตสำนึก และความตระหนักให้กับประชาชนแล้ว ยังได้ดำเนินงานในระดับนโยบายของประเทศและระดับปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ได้แก่ การจัดทำยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ พ.ศ. 2551-2555 ดำเนินการโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ (22 มกราคม 2551) แล้ว และการส่งเสริมให้มีการจัดการลดก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาดภายใต้พิธีสารเกียวโต ดำเนินการโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) และปัจจุบันกำลังดำเนินการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง โดย สผ.เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการจัดทำ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 และจะได้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป
2. การส่งเสริมการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) ภายใต้พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งเป็นกลไกที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจก โดยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ถือเป็นคาร์บอนเครดิต ที่สามารถซื้อขายได้กับประเทศพัฒนาแล้วที่มีพันธกรณีต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงตามพิธีสารเกียวโต โดยโครงการเหล่านั้นจะต้องได้รับการรับรองตามกฎเกณฑ์ของพิธีสารเกียวโต ซึ่งกำหนดให้แต่ละประเทศจะต้องจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า Designated National Authority : DNA ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาให้การรับรองโครงการ สำหรับประเทศไทยได้จัดตั้งองค์การบริหาร จัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว
3. ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้การรับรองโครงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่าโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) ที่สามารถนำไปขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานกลางของพิธีสารเกียวโต คือ Clean Development Mechanism-Executive Board (CDM Executive Board) ณ กรุงบอนด์ ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเป็นคาร์บอนเครดิตแล้วจำนวน 30 โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงได้ 2.12 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (tCO2e/yr) คิดเป็นมูลค่าของคาร์บอนเครดิตซึ่งจะเป็นรายได้เข้าประเทศประมาณ 1,020 ล้านบาท/ปี (ณ ราคาเฉลี่ยประมาณตันละ 10 ยูโร) และขณะนี้มีโครงการที่เสนอมายังองค์การบริหาร จัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ให้พิจารณาให้การรับรองอีก 27 โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่จะลดลงได้อีกประมาณ 1.2 ล้านตัน/ปี และมีมูลค่าของคาร์บอนเครดิตซึ่งจะเป็นรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 576 ล้านบาท/ปี โครงการเหล่านี้ ได้แก่
3.1 โครงการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพจากของเสีย (น้ำเสียจากฟาร์มสุกร โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำมันปาล์ม)
3.2 โครงการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงชีวมวล (แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ ฯลฯ)
3.3 โครงการผลิตไฟฟ้าจากหลุมฝังกลบขยะ
3.4 โครงการใช้ประโยชน์จากความร้อนปล่อยทิ้ง (Heat Waste)
3.5 โครงการลดก๊าซไนตรัสออกไซด์จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม
3.6 โครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากน้ำเสียและทะลายปาล์มเก่า
3.7 โครงการเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--