คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการฝึกซ้อมเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 และรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารระบบเตือนภัยพิบัติแห่งชาติครั้งที่ 2/2551 วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม 2551 ที่เห็นชอบให้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยการอพยพหลบภัยและการสร้างองค์ความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมเผชิญเหตุจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในพื้นที่ภาคเหนือ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ประธานคณะกรรมการบริหารระบบเตือนภัยพิบัติแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. สรุปผลการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ดำเนินการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพภัยสึนามิเต็มรูปแบบในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2551 ระหว่างเวลา 09.30 — 10.30 น. กำหนดให้มีการจำลองสถานการณ์ สมมุติว่าเกิดแผ่นดินไหวในทะเล เมื่อเวลา 09.20 น. ประมาณ 8.5 ริกเตอร์ บริเวณทะเลอันดามัน คาดว่ามีโอกาสเกิดสึนามิ แล้วจึงดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และขั้นตอนการอพยพประชาชนตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้แทนจากสถาบันการศึกษา ตลอดจนผู้แทนจากสถานทูต สถานกงสุลต่างประเทศ ผู้แทนสื่อมวลชน นักท่องเที่ยวชาวไทย ชาวต่างประเทศ เข้าร่วมสังเกตการณ์และร่วมในการฝึกซ้อมในพื้นที่เสี่ยงภัย 79 แห่ง ดำเนินการฝึกซ้อมพร้อมกัน ได้แก่
1) ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นหน่วยงานหลักที่ทำการฝึกซ้อมในพื้นที่ส่วนกลาง โดยดำเนินการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยตามขั้นตอนปฏิบัติของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แล้วเปิดสัญญาณเตือนภัยผ่านสัญญาณดาวเทียมไปยังหอเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยจำนวน 79 แห่ง ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยมีปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในการฝึกซ้อม
2) จังหวัดภูเก็ต ได้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและการอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัยจำนวน 19 แห่ง โดยมีพื้นที่ปลายแหลมสะพานหิน ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่หลักที่ทำการฝึกซ้อมในส่วนภูมิภาค และกำหนดให้มีการถ่ายทอดจากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ประธานกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พร้อมด้วย นายสิทธิไชย โควสุรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนกลางได้เดินทางไปร่วมในพิธีเปิดและร่วมสังเกตการณ์ในการฝึกซ้อมระบบ เตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิ ณ บริเวณปลายสะพานหิน ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้การต้อนรับเป็นเจ้าภาพในการอำนวยความสะดวกในการฝึกซ้อม
3) จังหวัดระนอง ได้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและการอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 5 แห่ง โดยมีสถานที่ฝึกซ้อมหลักที่บริเวณบ้านทับเหนือ (หาดประพาส) ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นประธานในพิธี
4) จังหวัดพังงา ได้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและการอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 18 แห่ง โดยมีสถานที่ฝึกซ้อมหลักที่บริเวณบ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาเป็นประธานในพิธี
5) จังหวัดกระบี่ ได้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและการอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 12 แห่ง โดยมีสถานที่ฝึกซ้อมหลักที่บริเวณบ้านคลองม่วง ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่เป็นประธานในพิธี
6) จังหวัดตรัง ได้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและการอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 11 แห่ง โดยมีสถานที่ฝึกซ้อมหลักที่บริเวณชายหาดปากเมง ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตรังเป็นประธานในพิธี
7) จังหวัดสตูล ได้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและการอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 14 แห่ง โดยมีสถานที่ฝึกซ้อมหลักที่บริเวณโรงเรียนบ้านมะหงัง ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลเป็นประธานในพิธี
สรุปผลการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้แทนจากสถานทูตต่างประเทศ ผู้ประกอบการ ประชาชนและนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศเป็นอย่างดี ทำให้การฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิ ประจำปี 2551 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์สมความมุ่งหมายของทางราชการทุกประการ โดยหน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้
1. ให้มีการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เกี่ยวกับระบบเสียงสัญญาณเตือนภัย เพื่อป้องกันความสับสนเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัย และการสร้างองค์ความรู้ในด้านการปฏิบัติตนและขั้นตอนการอพยพ เมื่อเกิดภัยพิบัติ
2. ให้เพิ่มศักยภาพระบบสื่อสารหลักและระบบสื่อสารสำรอง เพื่อให้การส่งข่าวแจ้งเตือนได้อย่างทั่วถึงและทันเวลา
3. ให้เพิ่มจำนวนหอเตือนภัย เพราะที่ติดตั้งไว้แล้วไม่เพียงพอ ประชาชนหรือชุมชนซึ่งตั้งอยู่ไกลเกินกว่ารัศมีการส่งสัญญาณได้ยินเสียงเตือนภัยไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องติดตั้งหอเตือนภัยเพิ่มขึ้น และติดตั้งในบริเวณชุมชนเพื่อการแจ้งเตือนภัยได้อย่างทันท่วงที ควรใช้แสงไฟประกอบการเตือนภัย ควรปรับปรุงลักษณะเสียงการเตือนให้เกิดการกระตุ้นมากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มความดังของเสียงเตือน
4. ให้มีการประชุมซักซ้อมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่มีหน้าที่โดยตรงในการซ้อมแผนอพยพให้มีความเข้าใจถึงแผนงานการฝึกซ้อมอย่างละเอียดแม่นยำ
5. ให้มีการพัฒนาและขยายเส้นทางอพยพให้ดีขึ้น และสร้างอาคารหรือเตรียมจุดหลบภัย ที่ไม่ไกลมากนัก เพื่อความสะดวกเมื่อต้องมีการอพยพหลบภัยของประชาชน
6. ให้พิจารณาตำแหน่งที่ตั้งของหอเตือนภัยให้เป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด
7. ให้มีการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยถึงภัยพิบัติอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
2. การฝึกซ้อมระบบเตือนภัย การอพยพหลบภัย และการสร้างองค์ความรู้เพื่อเตรียมพร้อมเผชิญเหตุจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ประชุมคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติเมื่อวันอังคารที่ 1 กรกฎาคม 2551 และมีมติเห็นชอบให้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัย การอพยพหลบภัย และการจัดกิจกรรมในรูปแบบการสร้างองค์ความรู้ด้านภัยพิบัติแบบมีส่วนร่วม ให้กับประชาชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อเตรียมพร้อมเผชิญเหตุจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งจะจัดทำในรูปแบบของการจำลองสถานการณ์โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการนำเสนอ เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเกิดแผ่นดินไหว พายุ แผ่นดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และไฟป่า ฯลฯ การปฏิบัติตนเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ทั้งก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย) รวมทั้งการจัดนิทรรศการ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ กำหนดจัดงานในวันที่ 21 — 24 สิงหาคม 2551 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมอบหมายให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมประชาสัมพันธ์ กรมทรัพยากรธรณี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการจากงบประมาณของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--
1. สรุปผลการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ดำเนินการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพภัยสึนามิเต็มรูปแบบในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2551 ระหว่างเวลา 09.30 — 10.30 น. กำหนดให้มีการจำลองสถานการณ์ สมมุติว่าเกิดแผ่นดินไหวในทะเล เมื่อเวลา 09.20 น. ประมาณ 8.5 ริกเตอร์ บริเวณทะเลอันดามัน คาดว่ามีโอกาสเกิดสึนามิ แล้วจึงดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และขั้นตอนการอพยพประชาชนตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน โดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้แทนจากสถาบันการศึกษา ตลอดจนผู้แทนจากสถานทูต สถานกงสุลต่างประเทศ ผู้แทนสื่อมวลชน นักท่องเที่ยวชาวไทย ชาวต่างประเทศ เข้าร่วมสังเกตการณ์และร่วมในการฝึกซ้อมในพื้นที่เสี่ยงภัย 79 แห่ง ดำเนินการฝึกซ้อมพร้อมกัน ได้แก่
1) ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นหน่วยงานหลักที่ทำการฝึกซ้อมในพื้นที่ส่วนกลาง โดยดำเนินการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยตามขั้นตอนปฏิบัติของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แล้วเปิดสัญญาณเตือนภัยผ่านสัญญาณดาวเทียมไปยังหอเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยจำนวน 79 แห่ง ในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยมีปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในการฝึกซ้อม
2) จังหวัดภูเก็ต ได้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและการอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัยจำนวน 19 แห่ง โดยมีพื้นที่ปลายแหลมสะพานหิน ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่หลักที่ทำการฝึกซ้อมในส่วนภูมิภาค และกำหนดให้มีการถ่ายทอดจากสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ประธานกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ พร้อมด้วย นายสิทธิไชย โควสุรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนกลางได้เดินทางไปร่วมในพิธีเปิดและร่วมสังเกตการณ์ในการฝึกซ้อมระบบ เตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิ ณ บริเวณปลายสะพานหิน ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ให้การต้อนรับเป็นเจ้าภาพในการอำนวยความสะดวกในการฝึกซ้อม
3) จังหวัดระนอง ได้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและการอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 5 แห่ง โดยมีสถานที่ฝึกซ้อมหลักที่บริเวณบ้านทับเหนือ (หาดประพาส) ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นประธานในพิธี
4) จังหวัดพังงา ได้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและการอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 18 แห่ง โดยมีสถานที่ฝึกซ้อมหลักที่บริเวณบ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาเป็นประธานในพิธี
5) จังหวัดกระบี่ ได้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและการอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 12 แห่ง โดยมีสถานที่ฝึกซ้อมหลักที่บริเวณบ้านคลองม่วง ตำบลหนองทะเล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่เป็นประธานในพิธี
6) จังหวัดตรัง ได้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและการอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 11 แห่ง โดยมีสถานที่ฝึกซ้อมหลักที่บริเวณชายหาดปากเมง ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตรังเป็นประธานในพิธี
7) จังหวัดสตูล ได้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและการอพยพหลบภัยสึนามิในพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวน 14 แห่ง โดยมีสถานที่ฝึกซ้อมหลักที่บริเวณโรงเรียนบ้านมะหงัง ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลเป็นประธานในพิธี
สรุปผลการฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยในพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ประจำปี 2551 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้แทนจากสถานทูตต่างประเทศ ผู้ประกอบการ ประชาชนและนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศเป็นอย่างดี ทำให้การฝึกซ้อมระบบเตือนภัยและอพยพหลบภัยสึนามิ ประจำปี 2551 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุวัตถุประสงค์สมความมุ่งหมายของทางราชการทุกประการ โดยหน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย มีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้
1. ให้มีการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เกี่ยวกับระบบเสียงสัญญาณเตือนภัย เพื่อป้องกันความสับสนเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัย และการสร้างองค์ความรู้ในด้านการปฏิบัติตนและขั้นตอนการอพยพ เมื่อเกิดภัยพิบัติ
2. ให้เพิ่มศักยภาพระบบสื่อสารหลักและระบบสื่อสารสำรอง เพื่อให้การส่งข่าวแจ้งเตือนได้อย่างทั่วถึงและทันเวลา
3. ให้เพิ่มจำนวนหอเตือนภัย เพราะที่ติดตั้งไว้แล้วไม่เพียงพอ ประชาชนหรือชุมชนซึ่งตั้งอยู่ไกลเกินกว่ารัศมีการส่งสัญญาณได้ยินเสียงเตือนภัยไม่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องติดตั้งหอเตือนภัยเพิ่มขึ้น และติดตั้งในบริเวณชุมชนเพื่อการแจ้งเตือนภัยได้อย่างทันท่วงที ควรใช้แสงไฟประกอบการเตือนภัย ควรปรับปรุงลักษณะเสียงการเตือนให้เกิดการกระตุ้นมากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มความดังของเสียงเตือน
4. ให้มีการประชุมซักซ้อมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่มีหน้าที่โดยตรงในการซ้อมแผนอพยพให้มีความเข้าใจถึงแผนงานการฝึกซ้อมอย่างละเอียดแม่นยำ
5. ให้มีการพัฒนาและขยายเส้นทางอพยพให้ดีขึ้น และสร้างอาคารหรือเตรียมจุดหลบภัย ที่ไม่ไกลมากนัก เพื่อความสะดวกเมื่อต้องมีการอพยพหลบภัยของประชาชน
6. ให้พิจารณาตำแหน่งที่ตั้งของหอเตือนภัยให้เป็นประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด
7. ให้มีการให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยถึงภัยพิบัติอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
2. การฝึกซ้อมระบบเตือนภัย การอพยพหลบภัย และการสร้างองค์ความรู้เพื่อเตรียมพร้อมเผชิญเหตุจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ประชุมคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติเมื่อวันอังคารที่ 1 กรกฎาคม 2551 และมีมติเห็นชอบให้มีการฝึกซ้อมระบบเตือนภัย การอพยพหลบภัย และการจัดกิจกรรมในรูปแบบการสร้างองค์ความรู้ด้านภัยพิบัติแบบมีส่วนร่วม ให้กับประชาชน นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อเตรียมพร้อมเผชิญเหตุจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งจะจัดทำในรูปแบบของการจำลองสถานการณ์โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการนำเสนอ เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเกิดแผ่นดินไหว พายุ แผ่นดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และไฟป่า ฯลฯ การปฏิบัติตนเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ทั้งก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย) รวมทั้งการจัดนิทรรศการ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ กำหนดจัดงานในวันที่ 21 — 24 สิงหาคม 2551 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมอบหมายให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมประชาสัมพันธ์ กรมทรัพยากรธรณี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการจากงบประมาณของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--