คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยประสานการปฏิบัติงานกับจังหวัดที่มีสภาวะฝนตกหนัก และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สรุปการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นรวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2551) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม - 21 กรกฎาคม 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 14 จังหวัด 80 อำเภอ 471 ตำบล 3,205 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท สุพรรณบุรี จันทบุรี นครราชสีมา หนองคาย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี ชุมพร และจังหวัดพังงา
พื้นที่ประสบภัย ราษฎรประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด ครัวเรือน คน
1 เหนือ 3 23 135 337 น่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี 19,548 127,007
2 ตะวันออก 3 26 189 2,114 นครราชสีมา หนองคาย 176,771 700,279
เฉียงเหนือ อุดรธานี
3 กลาง 4 18 98 467 พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง 15,444 56,390
ชัยนาท สุพรรณบุรี
4 ตะวันออก 1 2 2 2 จันทบุรี - -
5 ใต้ 3 11 47 285 สุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา 9,222 29,436
รวมทั้งประเทศ 14 80 471 3,205 220,985 913,112
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 913,112 คน 220,985 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 55 หลัง ถนน 1,412 สาย สะพาน 32 แห่ง ฝาย 38 แห่ง ท่อระบายน้ำ 96 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ทำนบกั้นน้ำ 15 แห่ง ยานยนต์ 1 คัน บ่อปลา 504 บ่อ ปศุสัตว์ 327 ตัว
สัตว์ปีก 498 ตัว พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 446,581 ไร่
1.3 มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 320,637,033 บาท
1.4 สถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายทุกพื้นที่แล้ว โดย จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 แล้ว
อนึ่ง เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้น้ำในแม่น้ำน่านมีปริมาณสูงขึ้น ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรที่ติดกับริมน้ำ และพื้นที่ลุ่มการเกษตรในพื้นที่อำเภอท่าวังผา 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลป่าคา (หมู่ที่ 6) ตำบลริม (หมู่ที่ 1,2) ตำบลศรีภูมิ (หมู่ที่ 2,10) และตำบลแสนทอง(หมู่ที่ 1) ปัจจุบัน ระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ซึ่งสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น และสำรวจความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ พ.ศ. 2546 แล้ว
1.5 การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือไปแล้ว จำนวน 169,100,496.54 บาท แยกเป็น
1) เงินทดรองราชการฯ ของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) เป็นเงิน 164,646,054.54 บาท
2) งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเงิน 4,454,442.00 บาท
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 21-26 กรกฎาคม 2551
2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ทุกภาคของประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรโดยเฉพาะในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และในช่วงวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2551 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังอ่อนลงบ้าง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกต่อไปอีก ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2551 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นอีก ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นได้อีก และคลื่นลมจะมีกำลังแรงขึ้น
2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มจากสภาวะฝนตกหนัก ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ และให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม - 21 กรกฎาคม 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 14 จังหวัด 80 อำเภอ 471 ตำบล 3,205 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ชัยนาท สุพรรณบุรี จันทบุรี นครราชสีมา หนองคาย อุดรธานี สุราษฎร์ธานี ชุมพร และจังหวัดพังงา
พื้นที่ประสบภัย ราษฎรประสบภัย
ที่ ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด ครัวเรือน คน
1 เหนือ 3 23 135 337 น่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี 19,548 127,007
2 ตะวันออก 3 26 189 2,114 นครราชสีมา หนองคาย 176,771 700,279
เฉียงเหนือ อุดรธานี
3 กลาง 4 18 98 467 พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง 15,444 56,390
ชัยนาท สุพรรณบุรี
4 ตะวันออก 1 2 2 2 จันทบุรี - -
5 ใต้ 3 11 47 285 สุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา 9,222 29,436
รวมทั้งประเทศ 14 80 471 3,205 220,985 913,112
1.2 ความเสียหาย
1) ราษฎรเดือดร้อน 913,112 คน 220,985 ครัวเรือน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 55 หลัง ถนน 1,412 สาย สะพาน 32 แห่ง ฝาย 38 แห่ง ท่อระบายน้ำ 96 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง ทำนบกั้นน้ำ 15 แห่ง ยานยนต์ 1 คัน บ่อปลา 504 บ่อ ปศุสัตว์ 327 ตัว
สัตว์ปีก 498 ตัว พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วม 446,581 ไร่
1.3 มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 320,637,033 บาท
1.4 สถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยได้คลี่คลายทุกพื้นที่แล้ว โดย จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 แล้ว
อนึ่ง เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้น้ำในแม่น้ำน่านมีปริมาณสูงขึ้น ไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรที่ติดกับริมน้ำ และพื้นที่ลุ่มการเกษตรในพื้นที่อำเภอท่าวังผา 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลป่าคา (หมู่ที่ 6) ตำบลริม (หมู่ที่ 1,2) ตำบลศรีภูมิ (หมู่ที่ 2,10) และตำบลแสนทอง(หมู่ที่ 1) ปัจจุบัน ระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ซึ่งสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น และสำรวจความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง ฯ พ.ศ. 2546 แล้ว
1.5 การให้ความช่วยเหลือ จังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือไปแล้ว จำนวน 169,100,496.54 บาท แยกเป็น
1) เงินทดรองราชการฯ ของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) เป็นเงิน 164,646,054.54 บาท
2) งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเงิน 4,454,442.00 บาท
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 21-26 กรกฎาคม 2551
2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ทุกภาคของประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรโดยเฉพาะในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และในช่วงวันที่ 22-23 กรกฎาคม 2551 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังอ่อนลงบ้าง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกต่อไปอีก ส่วนในช่วงวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2551 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นอีก ทำให้ทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นได้อีก และคลื่นลมจะมีกำลังแรงขึ้น
2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มจากสภาวะฝนตกหนัก ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ และให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--