คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอรายงานสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย ประจำวันที่ 21 กรกฎาคม 2551สรุปได้ดังนี้
สภาพอากาศ
ลมใต้ที่พัดสอบเข้าหามรสุมตะวันตกเฉียงใต้บริเวณประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มอ่อนกำลังลงแต่ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน และเพชรบูรณ์
พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก
พื้นที่ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภัยดินถล่มในระยะนี้ คือ
1. จังหวัดเชียงราย : อำเภอเชียงของ (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 3 คน)
อำเภอแม่จัน (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 215 คน)
2. จังหวัดพะเยา : อำเภอจุน (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 37 คน)
อำเภอเชียงคำ (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 111 คน)
อำเภอปง (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 123 คน)
3. จังหวัดสุโขทัย : อำเภอศรีสัชนาลัย (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 359 คน)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมทรัพยากรธรณี กำลังประสานงานโดยตรงกับเครือข่ายฯ ในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
การดำเนินการ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังติดตามสภาวะและสภาพการอุ้มน้ำของพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ดินถล่มที่อาจเกิดขึ้นผ่านอาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเหตุธรณีพิบัติภัยที่ประจำอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ
การตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม
ด้วยได้เกิดดินถล่มที่บริเวณถนน 50 ปี ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 เวลา 12.10 น. ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน ผลการตรวจสอบพบว่า สาเหตุดินถล่มเกิดจากการตัดหน้าดิน ทำให้ลาดเขาขาดเสถียรภาพ จึงทำให้ดินถล่มลงมาทับคนงานก่อสร้างที่อยู่ระหว่างกำแพงกันดินกับลาดเขา อนึ่ง กรมทรัพยากรธรณี ได้สำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในตำบลป่าตอง เมื่อเดือนมีนาคม 2549 พบว่าพื้นที่ตำบลป่าตองมีหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากดินถล่มสูงหลายบริเวณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--
สภาพอากาศ
ลมใต้ที่พัดสอบเข้าหามรสุมตะวันตกเฉียงใต้บริเวณประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มอ่อนกำลังลงแต่ยังคงทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน และเพชรบูรณ์
พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก
พื้นที่ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภัยดินถล่มในระยะนี้ คือ
1. จังหวัดเชียงราย : อำเภอเชียงของ (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 3 คน)
อำเภอแม่จัน (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 215 คน)
2. จังหวัดพะเยา : อำเภอจุน (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 37 คน)
อำเภอเชียงคำ (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 111 คน)
อำเภอปง (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 123 คน)
3. จังหวัดสุโขทัย : อำเภอศรีสัชนาลัย (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 359 คน)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมทรัพยากรธรณี กำลังประสานงานโดยตรงกับเครือข่ายฯ ในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
การดำเนินการ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังติดตามสภาวะและสภาพการอุ้มน้ำของพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าว เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ดินถล่มที่อาจเกิดขึ้นผ่านอาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเหตุธรณีพิบัติภัยที่ประจำอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ
การตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม
ด้วยได้เกิดดินถล่มที่บริเวณถนน 50 ปี ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 เวลา 12.10 น. ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน ผลการตรวจสอบพบว่า สาเหตุดินถล่มเกิดจากการตัดหน้าดิน ทำให้ลาดเขาขาดเสถียรภาพ จึงทำให้ดินถล่มลงมาทับคนงานก่อสร้างที่อยู่ระหว่างกำแพงกันดินกับลาดเขา อนึ่ง กรมทรัพยากรธรณี ได้สำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในตำบลป่าตอง เมื่อเดือนมีนาคม 2549 พบว่าพื้นที่ตำบลป่าตองมีหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากดินถล่มสูงหลายบริเวณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กรกฎาคม 2551--จบ--