คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อจัดทำความตกลงระหว่างไทยกับ United Nations Institute for Training and Research (UNITRA) ในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านกฎหมายระหว่างประเทศสำรับภูมิภาคเอเชีย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอและอนุมัติให้เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรของประเทศไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าวในนามรัฐบาลไทย
ทั้งนี้ เนื้อหาสาระและถ้อยคำของร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. หลักสูตรฝึกอบรมจะจัดขึ้นที่สถาบันการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 25 - 5 พฤศจิกายน 2548 โดยผู้เข้ารับการอบรมจะเป็นผู้สมัครจากประเทศในภูมิภาคประเทศละ 1 คน ที่ผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการของ UNITAR คือ บังคลาเทศ ภูฏาน บรูไน กัมพูชา จีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย มัลดีฟล์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ ศรีลังกา ติมอร์เลสเต และเวียดนาม (ผู้เข้ารับการอบรมของประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสิงค์โปร์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง) นอกจากนี้ ไทยสามารถส่งผู้แทนเข้ารับการอบรมได้ 6 คน และผู้สังเกตการณ์ได้อีก 10 คน ทั้งนี้ กระบวนการในการคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมในส่วนของไทย UNITAR ให้ฝ่ายไทยเป็นผู้ดำเนินการเองตามที่เห็นสมควร และแจ้งชื่อผู้แทนให้ UNITAR ทราบเท่านั้น
2. ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางมายังประเทศไทยเอง ส่วน UNITAR จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดของวิทยากรค่าหนังสือและสื่อการสอนอื่น ๆ ที่ใช้ในการอบรม รวมทั้งค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าประกันชีวิตของผู้เข้ารับการอบรมจากต่างประเทศ และรัฐบาลไทยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสถานที่จัดอบรมรวมทั้งค่าใช้จ่ายของผู้เข้ารับการอบรมในเรื่องที่พักและอาหารเช้า (ยกเว้นผู้เข้ารับการอบรมที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง) และค่าพาหนะรับส่งไปกลับสนามบินของผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด โดยผู้แทนที่เข้ารับการอบรมของไทยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
3. รัฐบาลไทยจะให้เอกสิทธิและความคุ้มกันแก่ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากร และเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ ตลอดจนบุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการอบรม ตามที่ได้ระบุไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันของสหประชาชาติ และทบวงการชำนัญพิเศษ ค.ศ. 1947 ซึ่งไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสหประชาชาติ และทบวงการชำนัญพิเศษในประเทศไทย พ.ศ. 2504 เป็นกฎหมายรองรับอยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ เนื้อหาสาระและถ้อยคำของร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. หลักสูตรฝึกอบรมจะจัดขึ้นที่สถาบันการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 25 - 5 พฤศจิกายน 2548 โดยผู้เข้ารับการอบรมจะเป็นผู้สมัครจากประเทศในภูมิภาคประเทศละ 1 คน ที่ผ่านการคัดเลือกโดยคณะกรรมการของ UNITAR คือ บังคลาเทศ ภูฏาน บรูไน กัมพูชา จีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย มัลดีฟล์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ ศรีลังกา ติมอร์เลสเต และเวียดนาม (ผู้เข้ารับการอบรมของประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสิงค์โปร์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง) นอกจากนี้ ไทยสามารถส่งผู้แทนเข้ารับการอบรมได้ 6 คน และผู้สังเกตการณ์ได้อีก 10 คน ทั้งนี้ กระบวนการในการคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมในส่วนของไทย UNITAR ให้ฝ่ายไทยเป็นผู้ดำเนินการเองตามที่เห็นสมควร และแจ้งชื่อผู้แทนให้ UNITAR ทราบเท่านั้น
2. ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางมายังประเทศไทยเอง ส่วน UNITAR จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดของวิทยากรค่าหนังสือและสื่อการสอนอื่น ๆ ที่ใช้ในการอบรม รวมทั้งค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าประกันชีวิตของผู้เข้ารับการอบรมจากต่างประเทศ และรัฐบาลไทยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสถานที่จัดอบรมรวมทั้งค่าใช้จ่ายของผู้เข้ารับการอบรมในเรื่องที่พักและอาหารเช้า (ยกเว้นผู้เข้ารับการอบรมที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง) และค่าพาหนะรับส่งไปกลับสนามบินของผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด โดยผู้แทนที่เข้ารับการอบรมของไทยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
3. รัฐบาลไทยจะให้เอกสิทธิและความคุ้มกันแก่ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากร และเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ ตลอดจนบุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการอบรม ตามที่ได้ระบุไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันของสหประชาชาติ และทบวงการชำนัญพิเศษ ค.ศ. 1947 ซึ่งไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสหประชาชาติ และทบวงการชำนัญพิเศษในประเทศไทย พ.ศ. 2504 เป็นกฎหมายรองรับอยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--