คณะรัฐมนตรีรับทราบผลกระทบของมาตรการต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ครั้งที่ 4/2548 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องในมาตรการดูและระดับราคาสินค้า มาตรการประหยัดพลังงานและลดการใช้น้ำมัน การเร่งดำเนินการโครงการบ้านเอื้ออาทรและ Mega Projects อื่นๆ ที่มีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในไตรมาสสี่ของปีนี้และปีหน้า
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2548 อนุมัติมาตรการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2548 และแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธาน และคณะกรรมการฯ ได้มีการประชุมครั้งที่ 4/2548 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2548 ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้สรุปภาพรวมเศรษฐกิจภายหลังจากที่รัฐบาลได้เร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการเศรษฐกิจฯ รวมทั้งการรายงานผลการดำเนินการของมาตรการที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผลของมาตรการต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ
ผลการดำเนินมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ได้ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขึ้นต่อเนื่องในไตรมาสที่สาม หลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อจากไตรมาสที่สอง การปรับตัวที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1.1 ฐานะดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มเกินดุล เนื่องจากสามารถเร่งการส่งออกได้มากขึ้น และบริหารการนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยดุลการค้าสามารถกลับมาเกินดุลได้ในเดือนสิงหาคม และกันยายน เท่ากับ 9.8 และ 820 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ เทียบกับการขาดดุลเฉลี่ยเดือนละ1,410 ล้านดอลลาร์ในครึ่งแรกของปี ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดปรับมาเป็นเกินดุล 169.4 และ 106.4 ล้านดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมจากที่ขาดดุล 6,209 ล้านดอลลาร์ในครึ่งแรกของปี ทั้งนี้เป็นผลจากการเร่งรัดการส่งออกได้มากขึ้น
มูลค่าการส่งออกขยายตัวเป็นร้อยละ 24.9 และ 23.20 ในสิงหาคมและกันยายน ตามลำดับ สูงกว่าร้อยละ 12.91 ในครึ่งแรกของปี โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ยานยนต์และอุปกรณ์ และยางพารา มีอัตราการขยายตัว 44.1 ,40.6 และ 50.9 ตามลำดับ ส่วนสินค้าอื่นที่มีการขยายตัวสูง ได้แก่ กุ้งแช่แข็ง ผักผลไม้สดแช่แข็ง ไก่สดแช่แข็ง แป้งมันสำปะหลัง เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์
มูลค่าการนำเข้าชะลอตัวจากร้อยละ 31.9 ในครึ่งแรกของปี เป็นร้อยละ 20.1 ในเดือนกันยายนเป็นผลมาจากการบริหารจัดการการนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพ ในกลุ่มเหล็ก ส่งผลให้การนำเข้าเหล็กลดลง 6.9 ในเดือนกันยายน รวมทั้งการปรับราคาน้ำมันดีเซลให้สะท้อนต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริง ทำให้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงตามความต้องการใช้น้ำมันภายในประเทศที่ลดลง แต่สินค้าต้นทุนได้แก่ อุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์อุตสาหกรรม ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะ ยังคงมีการขยายตัวเพื่อตอบสนองการส่งออก และการนำเข้าทองคำยังคงขยายตัวร้อยละ 51.1 เนื่องจากราคาทองคำขยายตัวสูงขึ้น
1.2 การผลิตขยายตัวได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในหมวดอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ดัชนีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 และ 1.8 ในเดือนสิงหาคมตามลำดับ ขณะที่ดัชนีสินค้าคงคลังมีแนวโน้มลดลงในครึ่งหลังจากร้อยละ 17.4 ในเดือนมิถุนายน เหลือร้อยละ 1.29 ในเดือนสิงหาคม อัตราการว่างงานลดลงเป็นลำดับเหลือร้อยละ 1.4 ในเดือนสิงหาคม ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรเช่นยางพาราและปาลม์น้ำมันเพิ่มขึ้นทำให้รายได้จากการเกษตรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.2 ในเดือนสิงหาคม
1.3 การเพิ่มรายได้ประชาชนมีส่วนช่วยให้การใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวประมาณร้อยละ 4.0-4.5 ในไตรมาสที่สาม ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 7.8
1.4 การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลในเดือนกันยายนมีสัดส่วนสูงกว่าในเดือนกันยายนปีงบประมาณก่อน โดยมีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนและงบประจำร้อยละ 11.65 และ 10.59 เทียบกับอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 8.97 และ 8.57 ในเดือนกันยายนปีงบประมาณ 2547 ทำให้ทั้งปีงบประมาณเบิกจ่ายได้ 90.7%
1.5 ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจดีขึ้น ดัชนีภาวะการเงิน( MCI) ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะการเงินที่สัมพันธ์กับอัตราเงินเฟ้อ ปรับตัวดีขึ้นแต่อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่สามยังคงอยู่ในระดับสูงเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 5.6 และคาดว่าจะยังคงสูงในไตรมาสสุดท้าย จากแรงกดดันของราคาน้ำมันที่จะยังสูงกว่าในปีที่แล้ว อาจทำให้ต้องมีการทยอยปรับราคาสินค้า
1.6 คาดว่าการปรับตัวที่ดีขึ้นจะส่งผลให้ GDP ในไตรมาสที่สามสามารถขยายตัวได้ประมาณ ร้อยละ 4.5 — 5.0 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
2. มาตรการเพิ่มเติมที่มีส่วนประหยัดค่าใช้จ่าย
2.1 มาตรการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน ครม. มีมติให้ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐจัดหาพื้นที่ในสถานที่ราชการเป็นที่จอดรอรับผู้โดยสารของแท็กซี่ โดยให้สิทธิอย่างเท่าเทียมกันและไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งได้รายงานผลการดำเนินการต่อรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2548 รวมทั้งขอความร่วมมือจากภาคเอกชนจัดพื้นที่สำหรับรอรับผู้โดยสารโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ให้แต่งตั้งคณะทำงานยกร่างกฎกระทรวงตาม พรบ.ควบคุมอาคาร เพื่อกำหนดให้มีการจัดที่จอดรถรอรับผู้โดยสารสำหรับแท็กซี่
2.2 กองทุนสวัสดิการสังคม ขยายบริการเพื่อลดรายจ่ายให้กับประชาชนผู้ใช้แรงงาน มีการเพิ่มค่าพยาบาลในการรักษาฟันจากปีละ 400 บาท เป็นรักษาช่องปากได้โดยไม่จำกัดวงเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ส่วนการคลอดบุตร ทางกองทุนประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายไม่จำกัดวงเงินจากเดิมรายละไม่เกิน 6,000 บาท และออกค่าตรวจครรภ์ให้ ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2548 นอกจากนี้คณะกรรมการกองทุนอยู่ระหว่างพิจารณาเพิ่มสิทธิประโยชน์เงินสงเคราะห์บุตร ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนได้ส่วน
3. ความคืบหน้าการดำเนินการและติดตามผลของมาตรการเศรษฐกิจฯที่สำคัญ ๆ
3.1 การปรับราคาน้ำมัน การสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล (มาตรการ ที่ 1, 19.1) มีความคืบหน้าดังนี้
(1) การปรับราคาน้ำมันตั้งแต่ 13 ก.ค. 2548 ทำให้การใช้น้ำมันลดลง โดยในช่วงสิงหาคมถึงกันยายน การใช้น้ำมันดีเซลและเบนซินลดลงร้อยละ 8.4 และ 5.0 ตามลำดับ และอัตราการใช้ไฟฟ้าในเดือนกันยายนลดลง ร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปีที่แล้ว ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 4.7 ในเดือนสิงหาคม ทำให้ในช่วง 8 เดือนของปี 2548 ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 0.6 แต่อย่างไรก็ตามมูลค่าการนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.1 จากราคาน้ำมันที่สูงกว่าในปีที่แล้ว
(2) สำหรับการสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV กระทรวงคมนาคมและกระทรวงพลังงานได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV ในรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนใหม่ รถโดยสารประจำทาง รถ บขส. และรถไฟ ซึ่งความคืบหน้าส่วนใหญ่อยู่ในขั้นการทดลองดำเนินการ
มติ ให้กระทรวงพลังงานเตรียมการชี้แจง ครม. ในเรื่องราคาน้ำมันในประเทศที่ยังไม่ลดลงทั้งที่ราคาน้ำมันดิบได้ลดลงแล้ว รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ก๊าซ NGV ในรถประจำทาง รถ บขส. และรถไฟ ที่ยังติดตั้งได้จำนวนน้อย ตลอดจนเร่งรัดการปรับ Road Map แผนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนน้ำมันให้ชัดเจนตามที่นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ ครม.ทราบ
3.2 การเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2548 สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 (มาตรการที่ 5) การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 โดยเป็นการขยายตัวของสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมร้อยละ 16.7และสินค้าเกษตรกรรมร้อยละ 6.9 การส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากอย่างชัดเจน คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา และอาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกในเดือนกันยายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2
3.3 การดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งต้นทางและปลายทาง (มาตรการที่ 6)
(1) กระทรวงพาณิชย์พิจารณาเพิ่มรายการสินค้าติดตามดูแลจาก 120 รายการเป็น 150 รายการ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2548 และพิจารณาเพิ่มรายการสินค้าควบคุมจำนวน 11 รายการ โดยคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2548 ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอ ครม.อนุมัติ
(2) ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนกันยายน 2548 สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 และสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.0 เนื่องจากราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.- ก.ย. 2548) คิดเป็นร้อยละ 4.0 และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.4
3.4 การใช้หลักฐานค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) มาค้ำประกันการส่งมอบงานของผู้รับเหมา (มาตรการที่ 9) กรมบัญชีกลางได้ติดตามผลกรณีการจ่ายเงินก่อนมีการตรวจรับทรัพย์สิน หรือตรวจรับงานซึ่งมีส่วนราชการในส่วนกลางจำนวน 4 แห่ง ในภูมิภาคจำนวน 7 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 317.77 ล้านบาท เพิ่มจากการรายงานครั้งที่แล้ว ซึ่งมีวงเงินเพียง 16.7 ล้านบาท
มติ เมื่อสิ้นสุดมาตรการเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2548 ขอให้กรมบัญชีกลางมีการประเมินเพื่อจะได้นำผลไปพิจารณาความเหมาะสมในการขยายระยะเวลามาตรการต่อไป
3.5 การเร่งรัดงบ SML (มาตรการที่ 16) ระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ 2548) ได้จัดสรรงบประมาณไปให้หมู่บ้าน/ชุมชนแล้วจำนวน 38,362 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 100 ของเป้าหมาย ในวงเงิน 9,000 ล้านบาท สำเร็จตามเป้าหมายของโครงการ สำหรับการดำเนินการในระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2549) ได้มีหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้ดำเนินการประชุมประชาคมตามหลักเกณฑ์และผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง ความพร้อม และจัดทำบัญชีรายละเอียดโครงการมาที่กรมการปกครองแล้วจำนวน 63,526 หมู่บ้าน/ชุมชน สำหรับส่วนที่เหลือสำนักงานพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) มีแผนการในการพิจารณาโอนเงินงบประมาณให้แก่หมู่บ้าน/ชุมชนที่เหลือทั้งในส่วนภูมิภาคและ กทม. ให้แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2548 (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2548)
มติ ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสินติดตามประเมินผลด้านการเงิน และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ติดตามประเมินผลต่อเศรษฐกิจและสังคม และรายงานผลต่อคณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548
3.6 การขยายบริการโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคให้ครอบคลุมมากขึ้น(มาตรการที่22) โดยมีการขยายสิทธิประโยชน์หรือกิจกรรมเพิ่มเติมในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับปีงบประมาณ 2549 จากเดิมจำนวน 12 รายการ เพิ่มขึ้นอีก 2 รายการ คือ การทำสุหนัตแก่ชาวมุสลิม และการผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ในเด็ก
มติ ให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งรัดประชาสัมพันธ์การขยายสิทธิประโยชน์ 14 รายการ ดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
3.7 เร่งรัดโครงการที่อยู่อาศัย (มาตรการที่ 24)
(1) โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 1-2 ก่อสร้างเสร็จและส่งมอบแล้ว 5,318 หน่วย จากเป้าหมาย 11,727 หน่วย ส่วนระยะที่ 3 ส่งมอบแล้ว 3,163 หน่วย อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 100,252 หน่วย และระยะที่4 ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 7,958 หน่วย
(2) โครงการบ้านมั่นคง เดือน ส.ค.-ก.ย. 2548 ดำเนินการแล้ว 304 โครงการ 415 ชุมชน รวม 29,054 ครัวเรือน สามารถแก้ปัญหาคนยากจนที่ลงทะเบียนได้ 13,675 ราย
(3) โครงการบ้านไทยร่วมใจ (บ้าน Knock Down) ขอเลื่อนกำหนดในการวางแผนการดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน มี.ค. 2549
มติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการเคหะแห่งชาติประเมินภาพรวมการขยายตัวธุรกิจการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ต่อการขยายตัวกิจกรรมผลิต เพื่อรายงานต่อ คณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2548 อนุมัติมาตรการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2548 และแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธาน และคณะกรรมการฯ ได้มีการประชุมครั้งที่ 4/2548 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2548 ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้สรุปภาพรวมเศรษฐกิจภายหลังจากที่รัฐบาลได้เร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการเศรษฐกิจฯ รวมทั้งการรายงานผลการดำเนินการของมาตรการที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผลของมาตรการต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ
ผลการดำเนินมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ได้ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขึ้นต่อเนื่องในไตรมาสที่สาม หลังจากที่เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อจากไตรมาสที่สอง การปรับตัวที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1.1 ฐานะดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มเกินดุล เนื่องจากสามารถเร่งการส่งออกได้มากขึ้น และบริหารการนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยดุลการค้าสามารถกลับมาเกินดุลได้ในเดือนสิงหาคม และกันยายน เท่ากับ 9.8 และ 820 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ เทียบกับการขาดดุลเฉลี่ยเดือนละ1,410 ล้านดอลลาร์ในครึ่งแรกของปี ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดปรับมาเป็นเกินดุล 169.4 และ 106.4 ล้านดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมจากที่ขาดดุล 6,209 ล้านดอลลาร์ในครึ่งแรกของปี ทั้งนี้เป็นผลจากการเร่งรัดการส่งออกได้มากขึ้น
มูลค่าการส่งออกขยายตัวเป็นร้อยละ 24.9 และ 23.20 ในสิงหาคมและกันยายน ตามลำดับ สูงกว่าร้อยละ 12.91 ในครึ่งแรกของปี โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ยานยนต์และอุปกรณ์ และยางพารา มีอัตราการขยายตัว 44.1 ,40.6 และ 50.9 ตามลำดับ ส่วนสินค้าอื่นที่มีการขยายตัวสูง ได้แก่ กุ้งแช่แข็ง ผักผลไม้สดแช่แข็ง ไก่สดแช่แข็ง แป้งมันสำปะหลัง เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์
มูลค่าการนำเข้าชะลอตัวจากร้อยละ 31.9 ในครึ่งแรกของปี เป็นร้อยละ 20.1 ในเดือนกันยายนเป็นผลมาจากการบริหารจัดการการนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพ ในกลุ่มเหล็ก ส่งผลให้การนำเข้าเหล็กลดลง 6.9 ในเดือนกันยายน รวมทั้งการปรับราคาน้ำมันดีเซลให้สะท้อนต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริง ทำให้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงตามความต้องการใช้น้ำมันภายในประเทศที่ลดลง แต่สินค้าต้นทุนได้แก่ อุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์อุตสาหกรรม ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานพาหนะ ยังคงมีการขยายตัวเพื่อตอบสนองการส่งออก และการนำเข้าทองคำยังคงขยายตัวร้อยละ 51.1 เนื่องจากราคาทองคำขยายตัวสูงขึ้น
1.2 การผลิตขยายตัวได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในหมวดอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ดัชนีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 และ 1.8 ในเดือนสิงหาคมตามลำดับ ขณะที่ดัชนีสินค้าคงคลังมีแนวโน้มลดลงในครึ่งหลังจากร้อยละ 17.4 ในเดือนมิถุนายน เหลือร้อยละ 1.29 ในเดือนสิงหาคม อัตราการว่างงานลดลงเป็นลำดับเหลือร้อยละ 1.4 ในเดือนสิงหาคม ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรเช่นยางพาราและปาลม์น้ำมันเพิ่มขึ้นทำให้รายได้จากการเกษตรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28.2 ในเดือนสิงหาคม
1.3 การเพิ่มรายได้ประชาชนมีส่วนช่วยให้การใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวประมาณร้อยละ 4.0-4.5 ในไตรมาสที่สาม ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมขยายตัวร้อยละ 7.8
1.4 การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลในเดือนกันยายนมีสัดส่วนสูงกว่าในเดือนกันยายนปีงบประมาณก่อน โดยมีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนและงบประจำร้อยละ 11.65 และ 10.59 เทียบกับอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 8.97 และ 8.57 ในเดือนกันยายนปีงบประมาณ 2547 ทำให้ทั้งปีงบประมาณเบิกจ่ายได้ 90.7%
1.5 ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจดีขึ้น ดัชนีภาวะการเงิน( MCI) ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะการเงินที่สัมพันธ์กับอัตราเงินเฟ้อ ปรับตัวดีขึ้นแต่อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่สามยังคงอยู่ในระดับสูงเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 5.6 และคาดว่าจะยังคงสูงในไตรมาสสุดท้าย จากแรงกดดันของราคาน้ำมันที่จะยังสูงกว่าในปีที่แล้ว อาจทำให้ต้องมีการทยอยปรับราคาสินค้า
1.6 คาดว่าการปรับตัวที่ดีขึ้นจะส่งผลให้ GDP ในไตรมาสที่สามสามารถขยายตัวได้ประมาณ ร้อยละ 4.5 — 5.0 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
2. มาตรการเพิ่มเติมที่มีส่วนประหยัดค่าใช้จ่าย
2.1 มาตรการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อสนับสนุนการประหยัดพลังงาน ครม. มีมติให้ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐจัดหาพื้นที่ในสถานที่ราชการเป็นที่จอดรอรับผู้โดยสารของแท็กซี่ โดยให้สิทธิอย่างเท่าเทียมกันและไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งได้รายงานผลการดำเนินการต่อรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2548 รวมทั้งขอความร่วมมือจากภาคเอกชนจัดพื้นที่สำหรับรอรับผู้โดยสารโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ให้แต่งตั้งคณะทำงานยกร่างกฎกระทรวงตาม พรบ.ควบคุมอาคาร เพื่อกำหนดให้มีการจัดที่จอดรถรอรับผู้โดยสารสำหรับแท็กซี่
2.2 กองทุนสวัสดิการสังคม ขยายบริการเพื่อลดรายจ่ายให้กับประชาชนผู้ใช้แรงงาน มีการเพิ่มค่าพยาบาลในการรักษาฟันจากปีละ 400 บาท เป็นรักษาช่องปากได้โดยไม่จำกัดวงเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ส่วนการคลอดบุตร ทางกองทุนประกันสังคมจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายไม่จำกัดวงเงินจากเดิมรายละไม่เกิน 6,000 บาท และออกค่าตรวจครรภ์ให้ ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2548 นอกจากนี้คณะกรรมการกองทุนอยู่ระหว่างพิจารณาเพิ่มสิทธิประโยชน์เงินสงเคราะห์บุตร ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนได้ส่วน
3. ความคืบหน้าการดำเนินการและติดตามผลของมาตรการเศรษฐกิจฯที่สำคัญ ๆ
3.1 การปรับราคาน้ำมัน การสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล (มาตรการ ที่ 1, 19.1) มีความคืบหน้าดังนี้
(1) การปรับราคาน้ำมันตั้งแต่ 13 ก.ค. 2548 ทำให้การใช้น้ำมันลดลง โดยในช่วงสิงหาคมถึงกันยายน การใช้น้ำมันดีเซลและเบนซินลดลงร้อยละ 8.4 และ 5.0 ตามลำดับ และอัตราการใช้ไฟฟ้าในเดือนกันยายนลดลง ร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปีที่แล้ว ทั้งนี้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 4.7 ในเดือนสิงหาคม ทำให้ในช่วง 8 เดือนของปี 2548 ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 0.6 แต่อย่างไรก็ตามมูลค่าการนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.1 จากราคาน้ำมันที่สูงกว่าในปีที่แล้ว
(2) สำหรับการสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV กระทรวงคมนาคมและกระทรวงพลังงานได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV ในรถแท็กซี่ที่จดทะเบียนใหม่ รถโดยสารประจำทาง รถ บขส. และรถไฟ ซึ่งความคืบหน้าส่วนใหญ่อยู่ในขั้นการทดลองดำเนินการ
มติ ให้กระทรวงพลังงานเตรียมการชี้แจง ครม. ในเรื่องราคาน้ำมันในประเทศที่ยังไม่ลดลงทั้งที่ราคาน้ำมันดิบได้ลดลงแล้ว รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ก๊าซ NGV ในรถประจำทาง รถ บขส. และรถไฟ ที่ยังติดตั้งได้จำนวนน้อย ตลอดจนเร่งรัดการปรับ Road Map แผนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนน้ำมันให้ชัดเจนตามที่นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ ครม.ทราบ
3.2 การเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2548 สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 (มาตรการที่ 5) การส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 โดยเป็นการขยายตัวของสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมร้อยละ 16.7และสินค้าเกษตรกรรมร้อยละ 6.9 การส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากอย่างชัดเจน คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา และอาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกในเดือนกันยายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2
3.3 การดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งต้นทางและปลายทาง (มาตรการที่ 6)
(1) กระทรวงพาณิชย์พิจารณาเพิ่มรายการสินค้าติดตามดูแลจาก 120 รายการเป็น 150 รายการ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2548 และพิจารณาเพิ่มรายการสินค้าควบคุมจำนวน 11 รายการ โดยคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2548 ขณะนี้อยู่ในระหว่างนำเสนอ ครม.อนุมัติ
(2) ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนกันยายน 2548 สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 และสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.0 เนื่องจากราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.- ก.ย. 2548) คิดเป็นร้อยละ 4.0 และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.4
3.4 การใช้หลักฐานค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) มาค้ำประกันการส่งมอบงานของผู้รับเหมา (มาตรการที่ 9) กรมบัญชีกลางได้ติดตามผลกรณีการจ่ายเงินก่อนมีการตรวจรับทรัพย์สิน หรือตรวจรับงานซึ่งมีส่วนราชการในส่วนกลางจำนวน 4 แห่ง ในภูมิภาคจำนวน 7 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 317.77 ล้านบาท เพิ่มจากการรายงานครั้งที่แล้ว ซึ่งมีวงเงินเพียง 16.7 ล้านบาท
มติ เมื่อสิ้นสุดมาตรการเศรษฐกิจในเดือนธันวาคม 2548 ขอให้กรมบัญชีกลางมีการประเมินเพื่อจะได้นำผลไปพิจารณาความเหมาะสมในการขยายระยะเวลามาตรการต่อไป
3.5 การเร่งรัดงบ SML (มาตรการที่ 16) ระยะที่ 1 (ปีงบประมาณ 2548) ได้จัดสรรงบประมาณไปให้หมู่บ้าน/ชุมชนแล้วจำนวน 38,362 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 100 ของเป้าหมาย ในวงเงิน 9,000 ล้านบาท สำเร็จตามเป้าหมายของโครงการ สำหรับการดำเนินการในระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2549) ได้มีหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้ดำเนินการประชุมประชาคมตามหลักเกณฑ์และผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง ความพร้อม และจัดทำบัญชีรายละเอียดโครงการมาที่กรมการปกครองแล้วจำนวน 63,526 หมู่บ้าน/ชุมชน สำหรับส่วนที่เหลือสำนักงานพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) มีแผนการในการพิจารณาโอนเงินงบประมาณให้แก่หมู่บ้าน/ชุมชนที่เหลือทั้งในส่วนภูมิภาคและ กทม. ให้แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2548 (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2548)
มติ ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสินติดตามประเมินผลด้านการเงิน และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ติดตามประเมินผลต่อเศรษฐกิจและสังคม และรายงานผลต่อคณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548
3.6 การขยายบริการโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคให้ครอบคลุมมากขึ้น(มาตรการที่22) โดยมีการขยายสิทธิประโยชน์หรือกิจกรรมเพิ่มเติมในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับปีงบประมาณ 2549 จากเดิมจำนวน 12 รายการ เพิ่มขึ้นอีก 2 รายการ คือ การทำสุหนัตแก่ชาวมุสลิม และการผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ในเด็ก
มติ ให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งรัดประชาสัมพันธ์การขยายสิทธิประโยชน์ 14 รายการ ดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
3.7 เร่งรัดโครงการที่อยู่อาศัย (มาตรการที่ 24)
(1) โครงการบ้านเอื้ออาทร ระยะที่ 1-2 ก่อสร้างเสร็จและส่งมอบแล้ว 5,318 หน่วย จากเป้าหมาย 11,727 หน่วย ส่วนระยะที่ 3 ส่งมอบแล้ว 3,163 หน่วย อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 100,252 หน่วย และระยะที่4 ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 7,958 หน่วย
(2) โครงการบ้านมั่นคง เดือน ส.ค.-ก.ย. 2548 ดำเนินการแล้ว 304 โครงการ 415 ชุมชน รวม 29,054 ครัวเรือน สามารถแก้ปัญหาคนยากจนที่ลงทะเบียนได้ 13,675 ราย
(3) โครงการบ้านไทยร่วมใจ (บ้าน Knock Down) ขอเลื่อนกำหนดในการวางแผนการดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน มี.ค. 2549
มติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการเคหะแห่งชาติประเมินภาพรวมการขยายตัวธุรกิจการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ต่อการขยายตัวกิจกรรมผลิต เพื่อรายงานต่อ คณะกรรมการติดตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ตุลาคม 2548--จบ--