แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงสาธารณสุข
สภาผู้แทนราษฎร
แพทย์แผนไทย
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ได้ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนากฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขและได้นำเสนอคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขทราบแล้ว โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเนื้อหาสาระ เป็นการรวบรวม อนุรักษ์ พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน เพื่อให้เกิดการยอมรับสถานภาพของหมอพื้นบ้าน ซึ่งทำหน้าที่ให้การดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนตามชุมชนด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในแต่ละชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในระดับภูมิภาคให้ดำรงอยู่ มีการพัฒนาและนำมาใช้ประโยชน์แก่ประชาชนโดยต่อเนื่อง ไม่ถูกกลืนหายไป อีกทั้งมุ่งที่จะคุ้มครองผู้มีสิทธิจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย รวมทั้งกำหนดมาตรการบังคับโทษกรณีมีการฝ่าฝืนกฎหมายแก่ผู้ฝ่าฝืนอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม “ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย” “การแพทย์พื้นบ้าน” “หมอพื้นบ้าน” และ “ชุมชน” เพื่อให้สอดคล้องกับสถานภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันของการแพทย์พื้นบ้าน
2. เพิ่มเติม “กลุ่มหมอพื้นบ้าน” เป็น “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ”
3. กำหนดให้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยรวมถึงตำรับยาแผนไทยภูมิภาคหรือตำราการแพทย์แผนไทยภูมิภาคด้วย
4. เพิ่มเติมให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดลักษณะของตำรับยาแผนไทยภูมิภาค หรือตำราการแพทย์แผนไทยภูมิภาค
5. กำหนดวิธีการในการนำตำรับยาแผนไทยภูมิภาค หรือตำราการแพทย์แผนไทยภูมิภาคไปใช้ประโยชน์
6. กำหนดวิธีการขอจดทะเบียนสิทธิ การสอบสวนและการพิจารณาการออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนสิทธิ การอนุญาตและการเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้สิทธิ รวมตลอดถึงการอุทธรณ์เกี่ยวกับตำรับยาแผนไทยภูมิภาค หรือตำราการแพทย์แผนไทยภูมิภาค
7. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ได้ดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนากฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขและได้นำเสนอคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของกระทรวงสาธารณสุขทราบแล้ว โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเนื้อหาสาระ เป็นการรวบรวม อนุรักษ์ พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนและคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน เพื่อให้เกิดการยอมรับสถานภาพของหมอพื้นบ้าน ซึ่งทำหน้าที่ให้การดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนตามชุมชนด้วยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในแต่ละชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย โดยเฉพาะภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในระดับภูมิภาคให้ดำรงอยู่ มีการพัฒนาและนำมาใช้ประโยชน์แก่ประชาชนโดยต่อเนื่อง ไม่ถูกกลืนหายไป อีกทั้งมุ่งที่จะคุ้มครองผู้มีสิทธิจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย รวมทั้งกำหนดมาตรการบังคับโทษกรณีมีการฝ่าฝืนกฎหมายแก่ผู้ฝ่าฝืนอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม “ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย” “การแพทย์พื้นบ้าน” “หมอพื้นบ้าน” และ “ชุมชน” เพื่อให้สอดคล้องกับสถานภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันของการแพทย์พื้นบ้าน
2. เพิ่มเติม “กลุ่มหมอพื้นบ้าน” เป็น “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ”
3. กำหนดให้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยรวมถึงตำรับยาแผนไทยภูมิภาคหรือตำราการแพทย์แผนไทยภูมิภาคด้วย
4. เพิ่มเติมให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดลักษณะของตำรับยาแผนไทยภูมิภาค หรือตำราการแพทย์แผนไทยภูมิภาค
5. กำหนดวิธีการในการนำตำรับยาแผนไทยภูมิภาค หรือตำราการแพทย์แผนไทยภูมิภาคไปใช้ประโยชน์
6. กำหนดวิธีการขอจดทะเบียนสิทธิ การสอบสวนและการพิจารณาการออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนสิทธิ การอนุญาตและการเพิกถอนการอนุญาตให้ใช้สิทธิ รวมตลอดถึงการอุทธรณ์เกี่ยวกับตำรับยาแผนไทยภูมิภาค หรือตำราการแพทย์แผนไทยภูมิภาค
7. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--