คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงแรงงานชี้แจงว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2542) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน กับทั้งเพิ่มภาระผู้ประกันตนที่ต้องยื่นหลักฐานการมีชีวิตอยู่ของบุตรต่อสำนักงานทุกปี และไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินการเพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเท่าที่ควร และกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นกฎหมายที่สำนักงานประกันสังคมได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาของสำนักงานประกันสังคม ปี 2548 จึงเห็นควรยกเลิกกฎกระทรวง ทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าวและยกร่างร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขและอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร พ.ศ. ... ขึ้นแทน โดยเพิ่มประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร ให้เหมาจ่ายเป็นเงินจากอัตรา 200 บาท ต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคนเป็น 250 บาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานได้ตรวจพิจารณาแล้ว เห็นชอบกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
ต่อมากระทรวงแรงงานเห็นว่า สมควรให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนที่มีบุตรอายุไม่เกิน 6 ขวบ ให้ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงขอปรับแก้ไขประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร เป็นเหมาจ่ายในอัตรา 350 บาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน ซึ่งการปรับแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินสงเคราะห์บุตรได้มีการศึกษาวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ประกันภัยแล้วว่า มิได้มีผลกระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคม
ร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรต้องยื่นหลักฐานการมีชีวิตอยู่ของบุตรในเดือนตุลาคมของทุกปี ให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ตรวจสอบ เว้นแต่กรณีไม่สามารถตรวจสอบได้ หรือมีเหตุควรสงสัย จึงให้เป็นหน้าที่ผู้ประกันตนแสดงหลักฐาน
2. แก้ไขเพิ่มเติมประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรให้เหมาจ่ายเป็นเงินจากเดิมในอัตรา “สองร้อยบาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน” เป็น “สามร้อยห้าสิบบาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน”
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--
กระทรวงแรงงานชี้แจงว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2542) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน กับทั้งเพิ่มภาระผู้ประกันตนที่ต้องยื่นหลักฐานการมีชีวิตอยู่ของบุตรต่อสำนักงานทุกปี และไม่เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินการเพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเท่าที่ควร และกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นกฎหมายที่สำนักงานประกันสังคมได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาของสำนักงานประกันสังคม ปี 2548 จึงเห็นควรยกเลิกกฎกระทรวง ทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าวและยกร่างร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขและอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร พ.ศ. ... ขึ้นแทน โดยเพิ่มประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร ให้เหมาจ่ายเป็นเงินจากอัตรา 200 บาท ต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคนเป็น 250 บาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานได้ตรวจพิจารณาแล้ว เห็นชอบกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
ต่อมากระทรวงแรงงานเห็นว่า สมควรให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนที่มีบุตรอายุไม่เกิน 6 ขวบ ให้ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงขอปรับแก้ไขประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร เป็นเหมาจ่ายในอัตรา 350 บาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน ซึ่งการปรับแก้ไขเพิ่มจำนวนเงินสงเคราะห์บุตรได้มีการศึกษาวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ประกันภัยแล้วว่า มิได้มีผลกระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคม
ร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมจากเดิมที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรต้องยื่นหลักฐานการมีชีวิตอยู่ของบุตรในเดือนตุลาคมของทุกปี ให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ตรวจสอบ เว้นแต่กรณีไม่สามารถตรวจสอบได้ หรือมีเหตุควรสงสัย จึงให้เป็นหน้าที่ผู้ประกันตนแสดงหลักฐาน
2. แก้ไขเพิ่มเติมประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรให้เหมาจ่ายเป็นเงินจากเดิมในอัตรา “สองร้อยบาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน” เป็น “สามร้อยห้าสิบบาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน”
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2548--จบ--