คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2555) และรับทราบการนำร่องข้อริเริ่มในการนำร่องพัฒนาระบบราชการร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า
1. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551- พ.ศ. 2555) เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางให้แก่ส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ใช้เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาระบบราชการไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยแบ่งประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการได้เป็น 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับการให้บริการและการทำงาน เพื่อตอบสนองความคาดหวังและ ความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อน หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 มุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลง และปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชน และต่อสังคมโดยรวม
2. การนำร่องข้อริเริ่มในการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้ข้อริเริ่มในการพัฒนาระบบราชการไทยบังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องมีการทดลองดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในผลของการเปลี่ยนแปลง และเพื่อเป็นกรณีตัวอย่างสำหรับการขยายผลแก่หน่วยงานอื่นต่อไป ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ประสานความร่วมมือกับส่วนราชการในการดำเนินงานเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
2.1 การจัดทำแผนปฏิบัติการของกระทรวง กำลังดำเนินการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการนำร่องเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการในการพัฒนาระบบราชการของกระทรวงเป็นการเฉพาะ
2.2 การจัดทำคำรับรองและประเมินผลการปฏิบัติราชการระหว่างกระทรวงและ ส่วนราชการระดับกรมในสังกัด ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการนำร่องการจัดทำคำรับรองและประเมินผลการปฏิบัติราชการรูปแบบใหม่
2.3 ระบบบริหารยุทธศาสตร์องค์การภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ระหว่างการดำเนินงานนำร่องในเรื่องการท่องเที่ยว โดยได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมทั้งดำเนินการออกแบบและทดสอบระบบการทำงานบนฐานข้อมูลจริง
2.4 การเสริมสร้างขีดสมรรถนะสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการเตรียมการและเสริมสร้างขีดสมรรถนะของสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด โดยนำร่องในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนก่อน
2.5 การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวงพลังงานและจังหวัดนครราชสีมาในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ การนำองค์กร การวางยุทธศาสตร์ การให้ความสำคัญต่อลูกค้าผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อมูลสารสนเทศและความรู้ทรัพยากรบุคคล กระบวนงานและผลลัพธ์ของการดำเนินงาน
2.6 การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
ภาคราชการ นำร่องใน 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมประชาสัมพันธ์ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานของทางราชการ
ภาคประชาชน ได้ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาระบบราชการใน 4 ภูมิภาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 กรกฎาคม 2551--จบ--
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า
1. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551- พ.ศ. 2555) เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางให้แก่ส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ใช้เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาระบบราชการไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยแบ่งประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการได้เป็น 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับการให้บริการและการทำงาน เพื่อตอบสนองความคาดหวังและ ความต้องการของประชาชนที่มีความสลับซับซ้อน หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับฝ่ายต่าง ๆ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 มุ่งสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลง และปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชน และต่อสังคมโดยรวม
2. การนำร่องข้อริเริ่มในการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้ข้อริเริ่มในการพัฒนาระบบราชการไทยบังเกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นต้องมีการทดลองดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในผลของการเปลี่ยนแปลง และเพื่อเป็นกรณีตัวอย่างสำหรับการขยายผลแก่หน่วยงานอื่นต่อไป ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ประสานความร่วมมือกับส่วนราชการในการดำเนินงานเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
2.1 การจัดทำแผนปฏิบัติการของกระทรวง กำลังดำเนินการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการนำร่องเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการในการพัฒนาระบบราชการของกระทรวงเป็นการเฉพาะ
2.2 การจัดทำคำรับรองและประเมินผลการปฏิบัติราชการระหว่างกระทรวงและ ส่วนราชการระดับกรมในสังกัด ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ในการนำร่องการจัดทำคำรับรองและประเมินผลการปฏิบัติราชการรูปแบบใหม่
2.3 ระบบบริหารยุทธศาสตร์องค์การภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ระหว่างการดำเนินงานนำร่องในเรื่องการท่องเที่ยว โดยได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมทั้งดำเนินการออกแบบและทดสอบระบบการทำงานบนฐานข้อมูลจริง
2.4 การเสริมสร้างขีดสมรรถนะสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยในการเตรียมการและเสริมสร้างขีดสมรรถนะของสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด โดยนำร่องในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนก่อน
2.5 การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวงพลังงานและจังหวัดนครราชสีมาในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ การนำองค์กร การวางยุทธศาสตร์ การให้ความสำคัญต่อลูกค้าผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อมูลสารสนเทศและความรู้ทรัพยากรบุคคล กระบวนงานและผลลัพธ์ของการดำเนินงาน
2.6 การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
ภาคราชการ นำร่องใน 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมประชาสัมพันธ์ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานของทางราชการ
ภาคประชาชน ได้ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาระบบราชการใน 4 ภูมิภาค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 กรกฎาคม 2551--จบ--