คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ทั้ง 4 ข้อ ดังนี้
1. รับทราบความก้าวหน้าของการเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการ 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน
2. กำหนดมาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาและไฟฟ้าของครัวเรือนเพิ่มเติม โดยให้ครอบคลุมกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่เช่าอาศัยในอาคารชุดหรือห้องเช่าที่ผู้ประกอบการถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
2.1 เป็นอาคารชุดหรือห้องเช่าที่มีระดับราคาค่าเช่า ไม่เกิน 3,000 บาท/ห้อง/เดือน
2.2 มีการใช้น้ำเฉลี่ยต่อห้อง ในช่วง 0-50 ลบ.ม./เดือน/ห้อง กรณีมาตรวัดน้ำรวม จะนำปริมาณน้ำใช้ทั้งหมดเฉลี่ยด้วยจำนวนห้องเฉพาะที่มีผู้อยู่อาศัยหรือสัญญาเช่า
2.3 มีการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน/ห้อง กรณีมาตรวัดไฟฟ้ารวม จะนำจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดเฉลี่ยด้วยจำนวนห้องเฉพาะที่มีผู้อยู่อาศัยหรือสัญญาเช่า
2.4 นิติบุคคลหรือผู้ประกอบการ ต้องลงทะเบียนกับ การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แล้วแต่กรณี เพื่อขอรับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ จะต้องมีสัญญาเช่าเป็นหลักฐานประกอบการลงทะเบียน เพื่อตรวจสอบจำนวนผู้อยู่อาศัยจริง โดยจะเปิดให้มีการลงทะเบียนจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2551
ทั้งนี้ มาตรการเพิ่มเติมดังกล่าว จะเริ่มดำเนินการได้ภายในรอบการจัดเก็บเดือนกันยายน 2551 และสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
3. มอบหมายให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ พิจารณาแนวทางการจ่ายเงินชดเชยและการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้แก่รัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบดำเนินการตามมาตรการ สำหรับรายได้นำส่งรัฐ ให้รัฐวิสาหกิจนำส่งตามกำหนดเดิมไปก่อน
4. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมหารือสำนักงบประมาณ เพื่อพิจารณาแนวทางและวิธีการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินชดเชยให้แก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 เพื่อซักซ้อมและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมสรรพสามิต กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรมธุรกิจเชื้อเพลิง กระทรวงคมนาคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยสรุปความก้าวหน้าในการเตรียมความพร้อมดังนี้
1. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
1.1 กรมสรรพสามิต ได้จัดทำประกาศกระทรวงการคลังเพื่อลดพิกัดอัตราภาษี รวมทั้งหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซล และน้ำมันไบโอดีเซลแล้ว โดยจะสามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 และทำการตรวจสอบปริมาณน้ำมัน ณ คลังน้ำมันร่วมกับกระทรวงพลังงาน สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 จะจัดทำประกาศเพิ่มเติมต่อไป
1.2 กระทรวงพลังงาน ได้ประสานกับกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอความร่วมมือในการตรวจสอบปริมาณน้ำมันในสถานีบริการทั่วประเทศ โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 เพื่อให้สามารถประกาศใช้ราคาใหม่ของน้ำมันประเภทต่าง ๆ ได้ภายในเวลา 05.00 น. ของวันที่ 25 กรกฎาคม 2551
2. ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน
กระทรวงพลังงาน ได้รายงานว่าการชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) สำหรับภาคครัวเรือน ระยะเวลา 6 เดือน สามารถดำเนินการได้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 สำหรับการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคขนส่ง จะนำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาภายในเดือนสิงหาคม 2551
3. ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน
3.1 กปน. และ กปภ. ได้เตรียมการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน สำหรับผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีปริมาณการใช้น้ำในช่วง 0-50 ลบ.ม./เดือน ซึ่งจะครอบคลุมถึงที่อยู่อาศัยที่ดำเนินการโดยการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ด้วย โดยจะเริ่มมาตรการได้ในรอบการจัดเก็บค่าบริการของเดือนสิงหาคม 2551 สำหรับการออกใบแจ้งหนี้ จะแสดงรายการตามปกติที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมอยู่ด้วย พร้อมทั้งระบุว่า “รัฐบาลรับภาระ”
3.2 อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่มีรายได้น้อยที่อยู่อาศัยในอาคารชุดหรือห้องเช่า ของผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งไม่มีมาตรวัดน้ำของ กปน. แยกรายจะไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว
ที่ประชุม จึงเห็นควรกำหนดมาตรการเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มผู้มีรายได้น้อยดังกล่าวด้วย โดยกำหนดให้นิติบุคคลหรือผู้ประกอบการให้เช่าอาคารชุดหรือห้องเช่าที่มีระดับราคาค่าเช่า ไม่เกิน 3,000 บาท/ห้อง/เดือน และมีการใช้น้ำเฉลี่ยต่อห้อง ในช่วง 0-50 ลบ.ม./เดือน/ห้อง (กรณีเป็นมาตรวัดน้ำรวม จะนำปริมาณน้ำใช้ทั้งหมดเฉลี่ยด้วยจำนวนห้องเฉพาะที่มีผู้อยู่อาศัย) จะสามารถลงทะเบียนกับ กปน. และ กปภ. เพื่อขอรับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว แต่จะต้องมีสัญญาเช่าเป็นหลักฐานประกอบการลงทะเบียน เพื่อตรวจสอบจำนวนผู้อยู่อาศัยจริง โดยจะเปิดให้มีการลงทะเบียนจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2551 เพื่อให้สามารถดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวได้ภายในรอบการจัดเก็บเดือนกันยายน 2551 และสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
3.3 สำหรับ ผลกระทบต่อสภาพคล่องของ กปน. และ กปภ. นั้น กระทรวงการคลังจะได้หารือเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป ส่วนการขอหักรายได้นำส่งรัฐของ กปน. ที่จะต้องนำส่งในเดือนกรกฎาคม 2551 เห็นควรให้นำส่งรัฐตามกำหนดเดิมไปก่อน
4. ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน
4.1 กฟน. และ กฟภ. ได้เตรียมดำเนินการตามมาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน คาดว่าจะเริ่มได้ภายในรอบการจัดเก็บค่าบริการของเดือนสิงหาคม 2551 สำหรับที่อยู่อาศัยและอาคารชุด ประเภทที่ 1.1 (ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน) โดยการออกใบแจ้งหนี้ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วย/เดือน จะแสดงรายการตามปกติ ที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมอยู่ด้วย พร้อมทั้งระบุว่า “รัฐบาลรับภาระ” เช่นเดียวกับ กปน. และ กปภ. สำหรับใบแจ้งหนี้ที่มีการใช้ไฟฟ้าเกิน 80 หน่วย แต่ไม่เกิน 150 หน่วย ซึ่งรัฐบาลจะรับภาระค่าไฟฟ้าครึ่งหนึ่งของค่าใช้ไฟฟ้าทั้งหมด จะแสดงรายการตามปกติเช่นเดียวกับใบแจ้งหนี้ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วย พร้อมทั้งระบุว่า “รัฐบาลรับภาระครึ่งหนึ่ง”เนื่องจากมาตรการดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมประชาชนที่มีรายได้น้อยที่อยู่อาศัยในอาคารชุดหรือห้องเช่า ของผู้ประกอบการภาคเอกชน ที่ใช้มาตรวัดไฟฟ้ารวมและถูกจัดเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1.2 ที่ใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือนเช่นเดียวกับมาตรการด้านน้ำประปา
ที่ประชุม จึงเห็นควรกำหนดมาตรการเพิ่มเติมสำหรับอาคารชุด หรือห้องเช่าของผู้ประกอบการภาคเอกชนประเภท 1.2 โดยให้ใช้วิธีการเดียวกับมาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน โดยกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการอาคารชุด หรือห้องเช่า ที่มีอัตราค่าเช่าไม่เกิน 3,000 บาท/ห้อง/เดือน และใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน/ห้อง (กรณีเป็นมาตรวัดไฟฟ้ารวม จะนำจำนวนหน่วยใช้ทั้งหมดเฉลี่ยด้วยจำนวนห้องเฉพาะที่มีผู้อยู่อาศัย) นำหลักฐานสัญญาเช่ามาขึ้นทะเบียนไว้กับ กฟน. และ กฟภ. ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2551 เพื่อให้สามารถดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวได้ภายในรอบการจัดเก็บเดือนกันยายน 2551 และสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
5. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง
5.1 ขสมก. ได้จัดเตรียมรถโดยสารธรรมดา จำนวน 80 คัน โดยจะติดตั้งป้ายบริเวณด้านหน้า และด้านข้างตัวรถโดยสารที่ชัดเจนว่า “รถเมล์ฟรีเพื่อประชาชน” เพื่อให้ผู้โดยสารทราบ และจัดให้มีพนักงานประจำรถเพื่อดูแลผู้โดยสารด้วย
5.2 ทั้งนี้ ขสมก. เห็นว่าการดำเนินมาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของ ขสมก.อย่างมาก และเสนอให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรเงินชดเชยให้ ขสมก. เป็นเงินต้นงวด ประมาณ 204 ล้านบาท/เดือน เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อให้ ขสมก. มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินงาน สำหรับการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินชดเชย นั้น
ที่ประชุม เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมรับไปพิจารณาแนวทางการตรวจสอบต่อไป
6. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3
6.1 รฟท. ได้จัดเตรียมรถโดยสาร จำนวน 164 ขบวน เพื่อให้บริการเฉพาะรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม โดยจะติดป้ายที่ชัดเจนให้ผู้โดยสารทราบ นอกจากนั้น รฟท. จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบว่าการให้บริการรถไฟชั้น 3 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้น จะครอบคลุมเฉพาะรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม ไม่รวมถึงรถไฟชั้น 3 ที่ร่วมอยู่ในขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ ได้แก่ รถด่วนพิเศษ รถด่วน และรถเร็ว ซึ่งจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามปกติ
6.2 รฟท. เสนอว่าการให้เงินชดเชยแก่ รฟท. ตามมาตรการดังกล่าว ควรใช้วิธีเดียวกับ ขสมก. โดยสำนักงบประมาณจัดสรรเงินให้ รฟท. เป็นเงินต้นงวดรายเดือน และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมรับไปพิจารณาแนวทางตรวจสอบการให้บริการของ รฟท. ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 กรกฎาคม 2551--จบ--
1. รับทราบความก้าวหน้าของการเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการ 6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน
2. กำหนดมาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาและไฟฟ้าของครัวเรือนเพิ่มเติม โดยให้ครอบคลุมกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่เช่าอาศัยในอาคารชุดหรือห้องเช่าที่ผู้ประกอบการถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
2.1 เป็นอาคารชุดหรือห้องเช่าที่มีระดับราคาค่าเช่า ไม่เกิน 3,000 บาท/ห้อง/เดือน
2.2 มีการใช้น้ำเฉลี่ยต่อห้อง ในช่วง 0-50 ลบ.ม./เดือน/ห้อง กรณีมาตรวัดน้ำรวม จะนำปริมาณน้ำใช้ทั้งหมดเฉลี่ยด้วยจำนวนห้องเฉพาะที่มีผู้อยู่อาศัยหรือสัญญาเช่า
2.3 มีการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน/ห้อง กรณีมาตรวัดไฟฟ้ารวม จะนำจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดเฉลี่ยด้วยจำนวนห้องเฉพาะที่มีผู้อยู่อาศัยหรือสัญญาเช่า
2.4 นิติบุคคลหรือผู้ประกอบการ ต้องลงทะเบียนกับ การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แล้วแต่กรณี เพื่อขอรับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ จะต้องมีสัญญาเช่าเป็นหลักฐานประกอบการลงทะเบียน เพื่อตรวจสอบจำนวนผู้อยู่อาศัยจริง โดยจะเปิดให้มีการลงทะเบียนจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2551
ทั้งนี้ มาตรการเพิ่มเติมดังกล่าว จะเริ่มดำเนินการได้ภายในรอบการจัดเก็บเดือนกันยายน 2551 และสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
3. มอบหมายให้กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ พิจารณาแนวทางการจ่ายเงินชดเชยและการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้แก่รัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบดำเนินการตามมาตรการ สำหรับรายได้นำส่งรัฐ ให้รัฐวิสาหกิจนำส่งตามกำหนดเดิมไปก่อน
4. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมหารือสำนักงบประมาณ เพื่อพิจารณาแนวทางและวิธีการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินชดเชยให้แก่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2551 เพื่อซักซ้อมและเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมสรรพสามิต กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กรมธุรกิจเชื้อเพลิง กระทรวงคมนาคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยสรุปความก้าวหน้าในการเตรียมความพร้อมดังนี้
1. ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
1.1 กรมสรรพสามิต ได้จัดทำประกาศกระทรวงการคลังเพื่อลดพิกัดอัตราภาษี รวมทั้งหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซล และน้ำมันไบโอดีเซลแล้ว โดยจะสามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2551 และทำการตรวจสอบปริมาณน้ำมัน ณ คลังน้ำมันร่วมกับกระทรวงพลังงาน สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 จะจัดทำประกาศเพิ่มเติมต่อไป
1.2 กระทรวงพลังงาน ได้ประสานกับกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอความร่วมมือในการตรวจสอบปริมาณน้ำมันในสถานีบริการทั่วประเทศ โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 เพื่อให้สามารถประกาศใช้ราคาใหม่ของน้ำมันประเภทต่าง ๆ ได้ภายในเวลา 05.00 น. ของวันที่ 25 กรกฎาคม 2551
2. ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคครัวเรือน
กระทรวงพลังงาน ได้รายงานว่าการชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) สำหรับภาคครัวเรือน ระยะเวลา 6 เดือน สามารถดำเนินการได้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 สำหรับการปรับราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ในภาคขนส่ง จะนำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาภายในเดือนสิงหาคม 2551
3. ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน
3.1 กปน. และ กปภ. ได้เตรียมการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน สำหรับผู้ใช้น้ำประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีปริมาณการใช้น้ำในช่วง 0-50 ลบ.ม./เดือน ซึ่งจะครอบคลุมถึงที่อยู่อาศัยที่ดำเนินการโดยการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ด้วย โดยจะเริ่มมาตรการได้ในรอบการจัดเก็บค่าบริการของเดือนสิงหาคม 2551 สำหรับการออกใบแจ้งหนี้ จะแสดงรายการตามปกติที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมอยู่ด้วย พร้อมทั้งระบุว่า “รัฐบาลรับภาระ”
3.2 อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่มีรายได้น้อยที่อยู่อาศัยในอาคารชุดหรือห้องเช่า ของผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งไม่มีมาตรวัดน้ำของ กปน. แยกรายจะไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว
ที่ประชุม จึงเห็นควรกำหนดมาตรการเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มผู้มีรายได้น้อยดังกล่าวด้วย โดยกำหนดให้นิติบุคคลหรือผู้ประกอบการให้เช่าอาคารชุดหรือห้องเช่าที่มีระดับราคาค่าเช่า ไม่เกิน 3,000 บาท/ห้อง/เดือน และมีการใช้น้ำเฉลี่ยต่อห้อง ในช่วง 0-50 ลบ.ม./เดือน/ห้อง (กรณีเป็นมาตรวัดน้ำรวม จะนำปริมาณน้ำใช้ทั้งหมดเฉลี่ยด้วยจำนวนห้องเฉพาะที่มีผู้อยู่อาศัย) จะสามารถลงทะเบียนกับ กปน. และ กปภ. เพื่อขอรับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว แต่จะต้องมีสัญญาเช่าเป็นหลักฐานประกอบการลงทะเบียน เพื่อตรวจสอบจำนวนผู้อยู่อาศัยจริง โดยจะเปิดให้มีการลงทะเบียนจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2551 เพื่อให้สามารถดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวได้ภายในรอบการจัดเก็บเดือนกันยายน 2551 และสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
3.3 สำหรับ ผลกระทบต่อสภาพคล่องของ กปน. และ กปภ. นั้น กระทรวงการคลังจะได้หารือเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป ส่วนการขอหักรายได้นำส่งรัฐของ กปน. ที่จะต้องนำส่งในเดือนกรกฎาคม 2551 เห็นควรให้นำส่งรัฐตามกำหนดเดิมไปก่อน
4. ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน
4.1 กฟน. และ กฟภ. ได้เตรียมดำเนินการตามมาตรการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน คาดว่าจะเริ่มได้ภายในรอบการจัดเก็บค่าบริการของเดือนสิงหาคม 2551 สำหรับที่อยู่อาศัยและอาคารชุด ประเภทที่ 1.1 (ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน) โดยการออกใบแจ้งหนี้ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วย/เดือน จะแสดงรายการตามปกติ ที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมอยู่ด้วย พร้อมทั้งระบุว่า “รัฐบาลรับภาระ” เช่นเดียวกับ กปน. และ กปภ. สำหรับใบแจ้งหนี้ที่มีการใช้ไฟฟ้าเกิน 80 หน่วย แต่ไม่เกิน 150 หน่วย ซึ่งรัฐบาลจะรับภาระค่าไฟฟ้าครึ่งหนึ่งของค่าใช้ไฟฟ้าทั้งหมด จะแสดงรายการตามปกติเช่นเดียวกับใบแจ้งหนี้ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 80 หน่วย พร้อมทั้งระบุว่า “รัฐบาลรับภาระครึ่งหนึ่ง”เนื่องจากมาตรการดังกล่าวจะไม่ครอบคลุมประชาชนที่มีรายได้น้อยที่อยู่อาศัยในอาคารชุดหรือห้องเช่า ของผู้ประกอบการภาคเอกชน ที่ใช้มาตรวัดไฟฟ้ารวมและถูกจัดเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1.2 ที่ใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือนเช่นเดียวกับมาตรการด้านน้ำประปา
ที่ประชุม จึงเห็นควรกำหนดมาตรการเพิ่มเติมสำหรับอาคารชุด หรือห้องเช่าของผู้ประกอบการภาคเอกชนประเภท 1.2 โดยให้ใช้วิธีการเดียวกับมาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน โดยกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการอาคารชุด หรือห้องเช่า ที่มีอัตราค่าเช่าไม่เกิน 3,000 บาท/ห้อง/เดือน และใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน/ห้อง (กรณีเป็นมาตรวัดไฟฟ้ารวม จะนำจำนวนหน่วยใช้ทั้งหมดเฉลี่ยด้วยจำนวนห้องเฉพาะที่มีผู้อยู่อาศัย) นำหลักฐานสัญญาเช่ามาขึ้นทะเบียนไว้กับ กฟน. และ กฟภ. ภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2551 เพื่อให้สามารถดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวได้ภายในรอบการจัดเก็บเดือนกันยายน 2551 และสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
5. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง
5.1 ขสมก. ได้จัดเตรียมรถโดยสารธรรมดา จำนวน 80 คัน โดยจะติดตั้งป้ายบริเวณด้านหน้า และด้านข้างตัวรถโดยสารที่ชัดเจนว่า “รถเมล์ฟรีเพื่อประชาชน” เพื่อให้ผู้โดยสารทราบ และจัดให้มีพนักงานประจำรถเพื่อดูแลผู้โดยสารด้วย
5.2 ทั้งนี้ ขสมก. เห็นว่าการดำเนินมาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของ ขสมก.อย่างมาก และเสนอให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรเงินชดเชยให้ ขสมก. เป็นเงินต้นงวด ประมาณ 204 ล้านบาท/เดือน เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อให้ ขสมก. มีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินงาน สำหรับการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินชดเชย นั้น
ที่ประชุม เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมรับไปพิจารณาแนวทางการตรวจสอบต่อไป
6. ลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3
6.1 รฟท. ได้จัดเตรียมรถโดยสาร จำนวน 164 ขบวน เพื่อให้บริการเฉพาะรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม โดยจะติดป้ายที่ชัดเจนให้ผู้โดยสารทราบ นอกจากนั้น รฟท. จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบว่าการให้บริการรถไฟชั้น 3 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้น จะครอบคลุมเฉพาะรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม ไม่รวมถึงรถไฟชั้น 3 ที่ร่วมอยู่ในขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ ได้แก่ รถด่วนพิเศษ รถด่วน และรถเร็ว ซึ่งจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามปกติ
6.2 รฟท. เสนอว่าการให้เงินชดเชยแก่ รฟท. ตามมาตรการดังกล่าว ควรใช้วิธีเดียวกับ ขสมก. โดยสำนักงบประมาณจัดสรรเงินให้ รฟท. เป็นเงินต้นงวดรายเดือน และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมรับไปพิจารณาแนวทางตรวจสอบการให้บริการของ รฟท. ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 กรกฎาคม 2551--จบ--