คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายวิชาญ มีนชัยนันท์) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายวิชาญ มีนชัยนันท์) ได้ไปตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อวันพุธที่ 9 กรกฎาคม 2551 ณ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา โดยได้ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลปัตตานีและโรงพยาบาลศูนย์ยะลา พบปะกับเจ้าหน้าที่ทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้รับฟังผลการดำเนินงานของทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งผลจากการตรวจเยี่ยมดังกล่าวสรุปได้ ดังนี้
1. ปัญหาจากเหตุการณ์ความไม่สงบตั้งแต่ปี 2547 — 31 พฤษภาคม 2551 มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5,417 คน เสียชีวิต 2,716 คน โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ให้การดูแลและรักษาพยาบาลผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บทุกราย
2. ระบบการบริการสาธารณสุขในสถานบริการทุกระดับทั้งโรงพยาบาลและสถานีอนามัยเป็นที่ยอมรับและศรัทธาของประชาชน เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในระดับสถานีอนามัยยังคงปฏิบัติงานในพื้นที่ถึงระดับหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง และสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับยังให้บริการเป็นปกติทุกแห่ง
3. อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินงานและการบริการในระดับต่าง ๆ ได้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งรักษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่ให้มีความเข้มแข็งและพร้อมที่จะปฏิบัติงานโดยไม่ท้อถอยในการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า ควรให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม ดังนี้
3.1 ด้านการพัฒนาสถานบริการ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ ที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่ยังไม่เพียงพอ โดยเห็นว่าควรให้การสนับสนุนอาคารพักให้กับเจ้าหน้าที่ทุกโรงพยาบาลใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 53 โรงพยาบาล เป็นอาคารพักพยาบาล 24 ยูนิต จำนวน 53 หลัง เป็นเงิน 424,000,000 บาท อีกทั้งอุปกรณ์ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น โดยเฉพาะรถยนต์สำหรับส่งต่อผู้ป่วย ทั้งจากเหตุการณ์ความไม่สงบและผู้ป่วยปกติทั่วไปซึ่งรถที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอและมีการใช้งานอย่างหนักตลอดเวลาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 53 คัน เป็นเงิน 90,100,000 บาท
3.2 ด้านขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในชุมชนอยู่ประจำสถานีอนามัย และต้องปฏิบัติงานในชุมชนของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 386 สถานีอนามัย 1,535 คน ได้รับค่าตอบแทนเสี่ยงภัยจากทางราชการ 1,000 บาท/คน/เดือน เห็นควรให้ได้รับค่าตอบแทนเป็น 2,000 บาท/คน/เดือน เป็นเงิน 36,840,000 บาท (อยู่ระหว่างขอแปรญัตติงบประมาณปี 2552)
3.3 ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื่องจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้องร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการออกปฏิบัติงานในชุมชน แต่ไม่ได้รับการอุดหนุนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการออกเยี่ยมและให้คำแนะนำแก่ประชาชนในพื้นที่ เห็นควรให้ได้รับค่าตอบแทนแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 10,000 คน คนละ 1,000 บาท/คน/เดือน เป็นเงิน 120,000,000 บาท (อยู่ระหว่างขอแปรญัตติงบประมาณปี 2552)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 กรกฎาคม 2551--จบ--
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายวิชาญ มีนชัยนันท์) ได้ไปตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อวันพุธที่ 9 กรกฎาคม 2551 ณ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา โดยได้ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลปัตตานีและโรงพยาบาลศูนย์ยะลา พบปะกับเจ้าหน้าที่ทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้รับฟังผลการดำเนินงานของทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งผลจากการตรวจเยี่ยมดังกล่าวสรุปได้ ดังนี้
1. ปัญหาจากเหตุการณ์ความไม่สงบตั้งแต่ปี 2547 — 31 พฤษภาคม 2551 มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5,417 คน เสียชีวิต 2,716 คน โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ให้การดูแลและรักษาพยาบาลผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บทุกราย
2. ระบบการบริการสาธารณสุขในสถานบริการทุกระดับทั้งโรงพยาบาลและสถานีอนามัยเป็นที่ยอมรับและศรัทธาของประชาชน เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในระดับสถานีอนามัยยังคงปฏิบัติงานในพื้นที่ถึงระดับหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง และสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับยังให้บริการเป็นปกติทุกแห่ง
3. อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินงานและการบริการในระดับต่าง ๆ ได้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งรักษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่ให้มีความเข้มแข็งและพร้อมที่จะปฏิบัติงานโดยไม่ท้อถอยในการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า ควรให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม ดังนี้
3.1 ด้านการพัฒนาสถานบริการ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ ที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่ยังไม่เพียงพอ โดยเห็นว่าควรให้การสนับสนุนอาคารพักให้กับเจ้าหน้าที่ทุกโรงพยาบาลใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 53 โรงพยาบาล เป็นอาคารพักพยาบาล 24 ยูนิต จำนวน 53 หลัง เป็นเงิน 424,000,000 บาท อีกทั้งอุปกรณ์ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น โดยเฉพาะรถยนต์สำหรับส่งต่อผู้ป่วย ทั้งจากเหตุการณ์ความไม่สงบและผู้ป่วยปกติทั่วไปซึ่งรถที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอและมีการใช้งานอย่างหนักตลอดเวลาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 53 คัน เป็นเงิน 90,100,000 บาท
3.2 ด้านขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในชุมชนอยู่ประจำสถานีอนามัย และต้องปฏิบัติงานในชุมชนของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 386 สถานีอนามัย 1,535 คน ได้รับค่าตอบแทนเสี่ยงภัยจากทางราชการ 1,000 บาท/คน/เดือน เห็นควรให้ได้รับค่าตอบแทนเป็น 2,000 บาท/คน/เดือน เป็นเงิน 36,840,000 บาท (อยู่ระหว่างขอแปรญัตติงบประมาณปี 2552)
3.3 ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื่องจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้องร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการออกปฏิบัติงานในชุมชน แต่ไม่ได้รับการอุดหนุนสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการออกเยี่ยมและให้คำแนะนำแก่ประชาชนในพื้นที่ เห็นควรให้ได้รับค่าตอบแทนแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 10,000 คน คนละ 1,000 บาท/คน/เดือน เป็นเงิน 120,000,000 บาท (อยู่ระหว่างขอแปรญัตติงบประมาณปี 2552)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 กรกฎาคม 2551--จบ--