คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ทั้ง 3 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างแก้ไขความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (ASEAN Petroleum Security Agreement : APSA) ระหว่างกระทรวงพลังงานของไทยและกระทรวงพลังงานของประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมทั้งอนุมัติให้กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศสามารถพิจารณาปรับปรุงถ้อยคำในร่าง APSA ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญของร่าง APSA ได้ตามความเหมาะสม ก่อนที่จะมีการลงนามกับประเทศภายในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN)
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้ลงนามในความตกลงฯ
3. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ให้สัตยาบันรับรองต่อความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (APSA) ฉบับแก้ไขนี้ ภายหลังที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ลงนามใน APSA ดังกล่าว และได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนภายในของประเทศไทยแล้ว
โดยให้กระทรวงพลังงานปรับแก้ข้อความในร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (APSA) และร่างมาตรการการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (CERM) ให้ถูกต้องก่อนลงนาม ตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถบังเกิดผลเป็นรูปธรรมในกรอบความร่วมมืออาเซียน จึงมีเป้าหมายจะลงนามในความตกลงฯ ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 26 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในวันที่ 7 สิงหาคม 2551 ศกนี้ ณ กรุงเทพมหานคร
กระทรวงพลังงานรายงานว่า
1. ประเทศสมาชิกอาเซียนมีนโยบายร่วมกันที่จะสร้างความมั่นคงทางพลังงานภายในภูมิภาคอาเซียน โดยได้มีการพัฒนาความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (ASEAN Petroleum Security Agreement : APSA) ขึ้น เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกในภาวะวิกฤตเนื่องจากการขาดแคลนน้ำมันดิบ/ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม หรือการล้นตลาด ซึ่งความตกลงฯ ดังกล่าวได้ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2549 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2530
2. ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 17 (17th ASEAN Ministers on Energy Meeting : AMEM) เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2542 ได้มีมติมอบหมายให้คณะมนตรีอาเซียนว่าด้วยปิโตรเลียม (ASEAN Council on Petroleum : ASCOPE) พิจารณาแก้ไขปรับปรุง APSA ในด้านสาระและวิธีการปฏิบัติให้สามารถใช้ปฏิบัติได้จริง และได้นำเสนอกรอบหลักที่ได้ดำเนินการแก้ไขต่อประเด็นที่ประเทศไทยได้ขอให้มีการปรับแก้เงื่อนไขบางประการในความตกลงฯ โดยฝ่ายไทยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนของประเทศไทยในที่ประชุม ASCOPE
อนึ่ง ความตกลงฯ นี้ ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม ASCOPE ครั้งที่ 66 เมื่อวันที่ 23-30 เมษายน 2551 และที่ประชุม ASCOPE เห็นควรให้เสนอรัฐบาลของแต่ละประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่จะมีการลงนามในระดับรัฐมนตรีพลังงานของประเทศสมาชิกอาเซียนต่อไป และจะมีผลใช้บังคับก็ต่อเมื่อสมาชิกอาเซียนทุกประเทศได้มีการให้สัตยาบันการลงนามนี้ต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนครบทุกประเทศ
3. สาระสำคัญของความตกลงฯ
3.1 วัตถุประสงค์ : เน้นการช่วยเหลือกันในภาวะวิกฤตระหว่างประเทศสมาชิกเมื่อเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมหรือภาวะที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมล้นตลาด
3.2 มาตรการระยะสั้น (Short —Term Measures)
- การตอบสนองในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) : จำกัดความต้องการ การปรับเปลี่ยนประเภทน้ำมันสำเร็จรูป การควบคุมการผลิตไม่ให้เกิดภาวะผิดปกติ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการค้าอิเล็กทรอนิกส์
- มาตรการการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (Coordinated Emergency Response Measures : CERM)
3.3 มาตรการระยะกลางและระยะยาว (Medium and Long-Term Measures)
- ความร่วมมือทางด้านพลังงานของกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Energy Co-operation) เช่น APG, TAGP, Regional Energy Policy and Planning (REPP), Coal; Renewable Energy, Energy Efficiency and Conservation
- การสำรวจหาแหล่งพลังงานทางด้านปิโตรเลียมแหล่งใหม่ (Exploring for New Petroleum Resources)
- การปรับเปลี่ยนและพัฒนาพลังงานทางเลือกใหม่ทางด้านพลังงาน (Energy Diversification and Improvement of Energy Efficiency)
- การค้นหาแหล่งผลิตแหล่งใหม่ (Diversification of Energy Supply Sources)
- การเปิดเสรีในตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (Oil and Gas Market Liberalization)
- การเก็บสำรองน้ำมัน (Oil Stockpile)
3.4 กรอบการให้ความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน (Institutional Framework for CERM) กำหนดให้เลขาธิการ ASCOPE (ASCOPE Secretariat) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานการให้ความช่วยเหลือเมื่อประเทศสมาชิกประสบภาวะฉุกเฉิน
3.5 วิธีตอบสนองในภาวะวิกฤต (Coordinated Emergency Response Measures : CERM)
- กรณีประเทศสมาชิกประสบปัญหาน้ำมันขาดแคลน : ประเทศสมาชิกที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันจะจัดสรรให้ประเทศที่ประสบปัญหา เพื่อให้มีถึงร้อยละ 80 ของปริมาณความต้องการภายในประเทศในภาวะปกติ ถ้ายังไม่ถึงร้อยละ 80 ประเทศสมาชิกจะพยายามให้ความช่วยเหลืออีกร้อยละ 10 ของปริมาณน้ำมันแต่ละชนิดที่ประเทศสมาชิกนั้นมีอยู่ ขึ้นกับการเจรจาตกลงราคาแบบทวิภาคี
- กรณีประเทศสมาชิกประสบปัญหาน้ำมันล้นตลาด : ประเทศสมาชิกที่เป็นผู้นำเข้าน้ำมันควรจะนำเข้าจากประเทศที่ประสบปัญหา เพื่อให้ส่งออกได้ถึงร้อยละ 80 ของปริมาณการส่งออกในภาวะปกติ ขึ้นกับการเจรจาตกลงราคาแบบทวิภาคี
- กรณีประเทศสมาชิกประสบปัญหา (Distressed Country) มากกว่า 1 ประเทศ : ปริมาณน้ำมันที่จะช่วยเหลือให้แบ่งกันตามสัดส่วนของปริมาณความต้องการภายในประเทศในภาวะปกติ หรือปริมาณการส่งออกในภาวะปกติในรอบ 12 เดือนก่อนเกิดภาวะวิกฤต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 กรกฎาคม 2551--จบ--
1. เห็นชอบร่างแก้ไขความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (ASEAN Petroleum Security Agreement : APSA) ระหว่างกระทรวงพลังงานของไทยและกระทรวงพลังงานของประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมทั้งอนุมัติให้กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศสามารถพิจารณาปรับปรุงถ้อยคำในร่าง APSA ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญของร่าง APSA ได้ตามความเหมาะสม ก่อนที่จะมีการลงนามกับประเทศภายในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN)
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้ลงนามในความตกลงฯ
3. อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ให้สัตยาบันรับรองต่อความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียมของอาเซียน (APSA) ฉบับแก้ไขนี้ ภายหลังที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ลงนามใน APSA ดังกล่าว และได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนภายในของประเทศไทยแล้ว
โดยให้กระทรวงพลังงานปรับแก้ข้อความในร่างความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (APSA) และร่างมาตรการการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (CERM) ให้ถูกต้องก่อนลงนาม ตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถบังเกิดผลเป็นรูปธรรมในกรอบความร่วมมืออาเซียน จึงมีเป้าหมายจะลงนามในความตกลงฯ ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 26 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในวันที่ 7 สิงหาคม 2551 ศกนี้ ณ กรุงเทพมหานคร
กระทรวงพลังงานรายงานว่า
1. ประเทศสมาชิกอาเซียนมีนโยบายร่วมกันที่จะสร้างความมั่นคงทางพลังงานภายในภูมิภาคอาเซียน โดยได้มีการพัฒนาความตกลงอาเซียนว่าด้วยความมั่นคงทางปิโตรเลียม (ASEAN Petroleum Security Agreement : APSA) ขึ้น เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกในภาวะวิกฤตเนื่องจากการขาดแคลนน้ำมันดิบ/ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม หรือการล้นตลาด ซึ่งความตกลงฯ ดังกล่าวได้ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2549 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2530
2. ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 17 (17th ASEAN Ministers on Energy Meeting : AMEM) เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2542 ได้มีมติมอบหมายให้คณะมนตรีอาเซียนว่าด้วยปิโตรเลียม (ASEAN Council on Petroleum : ASCOPE) พิจารณาแก้ไขปรับปรุง APSA ในด้านสาระและวิธีการปฏิบัติให้สามารถใช้ปฏิบัติได้จริง และได้นำเสนอกรอบหลักที่ได้ดำเนินการแก้ไขต่อประเด็นที่ประเทศไทยได้ขอให้มีการปรับแก้เงื่อนไขบางประการในความตกลงฯ โดยฝ่ายไทยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนของประเทศไทยในที่ประชุม ASCOPE
อนึ่ง ความตกลงฯ นี้ ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม ASCOPE ครั้งที่ 66 เมื่อวันที่ 23-30 เมษายน 2551 และที่ประชุม ASCOPE เห็นควรให้เสนอรัฐบาลของแต่ละประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่จะมีการลงนามในระดับรัฐมนตรีพลังงานของประเทศสมาชิกอาเซียนต่อไป และจะมีผลใช้บังคับก็ต่อเมื่อสมาชิกอาเซียนทุกประเทศได้มีการให้สัตยาบันการลงนามนี้ต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนครบทุกประเทศ
3. สาระสำคัญของความตกลงฯ
3.1 วัตถุประสงค์ : เน้นการช่วยเหลือกันในภาวะวิกฤตระหว่างประเทศสมาชิกเมื่อเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมหรือภาวะที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมล้นตลาด
3.2 มาตรการระยะสั้น (Short —Term Measures)
- การตอบสนองในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response) : จำกัดความต้องการ การปรับเปลี่ยนประเภทน้ำมันสำเร็จรูป การควบคุมการผลิตไม่ให้เกิดภาวะผิดปกติ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการค้าอิเล็กทรอนิกส์
- มาตรการการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (Coordinated Emergency Response Measures : CERM)
3.3 มาตรการระยะกลางและระยะยาว (Medium and Long-Term Measures)
- ความร่วมมือทางด้านพลังงานของกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN Energy Co-operation) เช่น APG, TAGP, Regional Energy Policy and Planning (REPP), Coal; Renewable Energy, Energy Efficiency and Conservation
- การสำรวจหาแหล่งพลังงานทางด้านปิโตรเลียมแหล่งใหม่ (Exploring for New Petroleum Resources)
- การปรับเปลี่ยนและพัฒนาพลังงานทางเลือกใหม่ทางด้านพลังงาน (Energy Diversification and Improvement of Energy Efficiency)
- การค้นหาแหล่งผลิตแหล่งใหม่ (Diversification of Energy Supply Sources)
- การเปิดเสรีในตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (Oil and Gas Market Liberalization)
- การเก็บสำรองน้ำมัน (Oil Stockpile)
3.4 กรอบการให้ความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน (Institutional Framework for CERM) กำหนดให้เลขาธิการ ASCOPE (ASCOPE Secretariat) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานการให้ความช่วยเหลือเมื่อประเทศสมาชิกประสบภาวะฉุกเฉิน
3.5 วิธีตอบสนองในภาวะวิกฤต (Coordinated Emergency Response Measures : CERM)
- กรณีประเทศสมาชิกประสบปัญหาน้ำมันขาดแคลน : ประเทศสมาชิกที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันจะจัดสรรให้ประเทศที่ประสบปัญหา เพื่อให้มีถึงร้อยละ 80 ของปริมาณความต้องการภายในประเทศในภาวะปกติ ถ้ายังไม่ถึงร้อยละ 80 ประเทศสมาชิกจะพยายามให้ความช่วยเหลืออีกร้อยละ 10 ของปริมาณน้ำมันแต่ละชนิดที่ประเทศสมาชิกนั้นมีอยู่ ขึ้นกับการเจรจาตกลงราคาแบบทวิภาคี
- กรณีประเทศสมาชิกประสบปัญหาน้ำมันล้นตลาด : ประเทศสมาชิกที่เป็นผู้นำเข้าน้ำมันควรจะนำเข้าจากประเทศที่ประสบปัญหา เพื่อให้ส่งออกได้ถึงร้อยละ 80 ของปริมาณการส่งออกในภาวะปกติ ขึ้นกับการเจรจาตกลงราคาแบบทวิภาคี
- กรณีประเทศสมาชิกประสบปัญหา (Distressed Country) มากกว่า 1 ประเทศ : ปริมาณน้ำมันที่จะช่วยเหลือให้แบ่งกันตามสัดส่วนของปริมาณความต้องการภายในประเทศในภาวะปกติ หรือปริมาณการส่งออกในภาวะปกติในรอบ 12 เดือนก่อนเกิดภาวะวิกฤต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 กรกฎาคม 2551--จบ--