คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 14 (14th ASEAN Ministerial Meeting : AMM) การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (Post Ministerial Conferences : PMC) การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 15 (15th ASEAN Regional Forum : ARF) การประชุมคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ Commission) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 20-25 กรกฎาคม 2551 โดยสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
1. กัมพูชาได้หยิบยกปัญหาความขัดแย้งกับไทยขึ้นหารือในหลายโอกาส เช่น งานเลี้ยงอาหารค่ำอย่าง ไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2551 และงานเลี้ยงอาหารกลางวันรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในวันที่ 22 กรกฎาคม การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน +3 การหารืออย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศในกรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และการประชุม ASEAN Regional Forum
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) ได้ชี้แจงสถานการณ์ต่อที่ประชุมโดยได้ย้ำท่าทีไทยที่ประสงค์ให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธีโดยใช้กลไกทวิภาคี ทั้งนี้ ไทยและกัมพูชาได้จัดการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) เพื่อแก้ไขปัญหาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างสูงสุดเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกันและจะหารือกับรัฐบาลก่อนเริ่มการเจรจารอบต่อไปภายหลังการเลือกตั้งในกัมพูชา ซึ่งล้วนแต่เป็นท่าทีของอาเซียนตาม ASEAN Chair’s Statement ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2551
3. ภายหลังการชี้แจง ที่ประชุมมีความเข้าใจสถานการณ์มากขึ้น โดยสิงคโปร์ในฐานะประธานอาเซียนได้ออกแถลงการณ์สรุปว่า อาเซียนเรียกร้องให้ทั้งไทยและกัมพูชาใช้ความพยายามอย่างสูงสุดเพื่อแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีและสนับสนุนให้ใช้กระบวนการทวิภาคี และมีหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาแจ้งความเห็นว่า ไม่ควรมีการเร่งรัดการเสนอเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) พิจารณา เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อสถานะของอาเซียน สำหรับข้อเสนอที่จะให้มีการจัดตั้ง Contact Group ของอาเซียนเพื่อติดตามสถานการณ์ นั้น แม้ประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศจะสนับสนุนแต่ในชั้นนี้อาเซียนยังไม่สามารถมีฉันทามติได้ และหากจะมีการจัดตั้งขึ้นในอนาคตก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งไทยและกัมพูชาก่อน
4. ในส่วนของประเทศต่าง ๆ ที่ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ (ยกเว้นกัมพูชา) ย้ำว่า ควรมีการหารือในกรอบทวิภาคีและให้ไทยและกัมพูชาใช้ความยับยั้งชั่งใจและสันติวิธีในการแก้ไขปัญหา อนึ่ง ทั้งจีนและสหรัฐฯ กล่าวในหลักการภาพกว้างว่า เรื่องทวิภาคีควรหารือกันในกรอบทวิภาคี
5. ประเด็นอื่น ๆ ที่มีการหารือที่สำคัญ ได้แก่ การผลักดันให้กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ ซึ่งในระหว่างการประชุมฯ พม่าได้มอบสัตยาบันสารให้แก่เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 7 ที่ดำเนินการให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับรองร่าง TOR สำหรับคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูง (HLP) ว่าด้วยการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน (AHRB) คณะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระดับสูงว่าด้วยกฎบัตรอาเซียน (HLEG) และคณะกรรมการผู้แทนถาวรประเทศสมาชิกประจำอาเซียน (CPRs) โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ HLP เสนอร่างแรกของ TOR สำหรับกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนและ HLEG จัดทำข้อเสนอแนะแรกต่อรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนธันวาคม 2551 และเสนอร่างสุดท้ายให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 พิจารณาในเดือนกรกฎาคม 2552
6. ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน โดยได้ย้ำถึงความเชื่อมโยงของประเด็นทั้งสองและเห็นควรให้ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อให้มีการพิจารณาผลักดันเรื่องการจัดตั้งคลังสำรองข้าวของอาเซียนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ได้เน้นเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานชีวภาพด้วย
7. รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) ได้ร่วมเป็นประธานในการหารือระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย และเข้าร่วมการหารือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาอีก 4 ประเทศ คือ สหรัฐฯ รัสเซีย เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ โดยที่ประชุมได้เน้นความร่วมมือในการสร้างประชาคมอาเซียนและลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ความร่วมมือในด้านการศึกษา การติดต่อระหว่างประชาชนเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การค้า การจัดการภัยพิบัติความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน และการต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนยังได้ร่วมลงนามในร่างสารเพื่อรับเกาหลีเหนือเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
8. รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) ยังได้ใช้โอกาสนี้พบหารือทวิภาคีกับหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศต่างๆ ได้แก่ สิงคโปร์ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย รัสเซีย จีน และฝรั่งเศส โดยนอกจากการพิจารณาแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกันแล้ว ยังได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา รวมทั้งได้ขอให้ประเทศที่เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงฯ โดยเฉพาะ สหรัฐฯ รัสเซีย จีน ฝรั่งเศสพิจารณาสนับสนุนท่าทีไทยที่ให้มีการแก้ไขปัญหาโดยใช้กลไกทวิภาคีด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 ก.ค. 2550--จบ--
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 14 (14th ASEAN Ministerial Meeting : AMM) การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (Post Ministerial Conferences : PMC) การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 15 (15th ASEAN Regional Forum : ARF) การประชุมคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ Commission) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่สาธารณรัฐสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 20-25 กรกฎาคม 2551 โดยสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
1. กัมพูชาได้หยิบยกปัญหาความขัดแย้งกับไทยขึ้นหารือในหลายโอกาส เช่น งานเลี้ยงอาหารค่ำอย่าง ไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2551 และงานเลี้ยงอาหารกลางวันรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในวันที่ 22 กรกฎาคม การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน +3 การหารืออย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศในกรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา และการประชุม ASEAN Regional Forum
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) ได้ชี้แจงสถานการณ์ต่อที่ประชุมโดยได้ย้ำท่าทีไทยที่ประสงค์ให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธีโดยใช้กลไกทวิภาคี ทั้งนี้ ไทยและกัมพูชาได้จัดการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) เพื่อแก้ไขปัญหาเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างสูงสุดเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกันและจะหารือกับรัฐบาลก่อนเริ่มการเจรจารอบต่อไปภายหลังการเลือกตั้งในกัมพูชา ซึ่งล้วนแต่เป็นท่าทีของอาเซียนตาม ASEAN Chair’s Statement ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2551
3. ภายหลังการชี้แจง ที่ประชุมมีความเข้าใจสถานการณ์มากขึ้น โดยสิงคโปร์ในฐานะประธานอาเซียนได้ออกแถลงการณ์สรุปว่า อาเซียนเรียกร้องให้ทั้งไทยและกัมพูชาใช้ความพยายามอย่างสูงสุดเพื่อแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีและสนับสนุนให้ใช้กระบวนการทวิภาคี และมีหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาแจ้งความเห็นว่า ไม่ควรมีการเร่งรัดการเสนอเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคง (UNSC) พิจารณา เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อสถานะของอาเซียน สำหรับข้อเสนอที่จะให้มีการจัดตั้ง Contact Group ของอาเซียนเพื่อติดตามสถานการณ์ นั้น แม้ประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศจะสนับสนุนแต่ในชั้นนี้อาเซียนยังไม่สามารถมีฉันทามติได้ และหากจะมีการจัดตั้งขึ้นในอนาคตก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งไทยและกัมพูชาก่อน
4. ในส่วนของประเทศต่าง ๆ ที่ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ (ยกเว้นกัมพูชา) ย้ำว่า ควรมีการหารือในกรอบทวิภาคีและให้ไทยและกัมพูชาใช้ความยับยั้งชั่งใจและสันติวิธีในการแก้ไขปัญหา อนึ่ง ทั้งจีนและสหรัฐฯ กล่าวในหลักการภาพกว้างว่า เรื่องทวิภาคีควรหารือกันในกรอบทวิภาคี
5. ประเด็นอื่น ๆ ที่มีการหารือที่สำคัญ ได้แก่ การผลักดันให้กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ ซึ่งในระหว่างการประชุมฯ พม่าได้มอบสัตยาบันสารให้แก่เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งนับเป็นประเทศที่ 7 ที่ดำเนินการให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับรองร่าง TOR สำหรับคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูง (HLP) ว่าด้วยการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน (AHRB) คณะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระดับสูงว่าด้วยกฎบัตรอาเซียน (HLEG) และคณะกรรมการผู้แทนถาวรประเทศสมาชิกประจำอาเซียน (CPRs) โดยได้ตั้งเป้าหมายให้ HLP เสนอร่างแรกของ TOR สำหรับกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนและ HLEG จัดทำข้อเสนอแนะแรกต่อรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนธันวาคม 2551 และเสนอร่างสุดท้ายให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 พิจารณาในเดือนกรกฎาคม 2552
6. ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน โดยได้ย้ำถึงความเชื่อมโยงของประเด็นทั้งสองและเห็นควรให้ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อให้มีการพิจารณาผลักดันเรื่องการจัดตั้งคลังสำรองข้าวของอาเซียนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ได้เน้นเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานชีวภาพด้วย
7. รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) ได้ร่วมเป็นประธานในการหารือระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย และเข้าร่วมการหารือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาอีก 4 ประเทศ คือ สหรัฐฯ รัสเซีย เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ โดยที่ประชุมได้เน้นความร่วมมือในการสร้างประชาคมอาเซียนและลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ความร่วมมือในด้านการศึกษา การติดต่อระหว่างประชาชนเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การค้า การจัดการภัยพิบัติความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน และการต่อต้านการก่อการร้าย นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนยังได้ร่วมลงนามในร่างสารเพื่อรับเกาหลีเหนือเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
8. รองนายกรัฐมนตรี (นายสหัส บัณฑิตกุล) ยังได้ใช้โอกาสนี้พบหารือทวิภาคีกับหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศต่างๆ ได้แก่ สิงคโปร์ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย รัสเซีย จีน และฝรั่งเศส โดยนอกจากการพิจารณาแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกันแล้ว ยังได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา รวมทั้งได้ขอให้ประเทศที่เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงฯ โดยเฉพาะ สหรัฐฯ รัสเซีย จีน ฝรั่งเศสพิจารณาสนับสนุนท่าทีไทยที่ให้มีการแก้ไขปัญหาโดยใช้กลไกทวิภาคีด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 ก.ค. 2550--จบ--