คณะรัฐมนตรีพิจารณาภาพรวมและแนวทางการแก้ไขปัญหากลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันและจังหวัดพังงา ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ในฐานะผู้กำกับการปฏิบัติราชการเขตตรวจราชการที่ 14 เสนอ แล้วมีมติเห็นชอบตามที่เสนอทั้ง 6 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันตามที่เสนอ
2. เห็นชอบโครงการพัฒนาระยะเร่งด่วน โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงบประมาณจำนวน 6 โครงการ ดังนี้
(1) พัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางบกและทางทะเล จำนวน 2 โครงการ คือ 1) พัฒนาถนนหมายเลข 4 ช่วงพังงา-กระบี่ ตอนทับปุด-อ่าวลึก ระยะทาง 27 กิโลเมตร และ 2) การพัฒนาการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทางทะเลอ่าวท่าเลน (กระบี่) — เกาะยาว (พังงา) — ภูเก็ต เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวทางทะเลตามแนวเส้นทางอ่าวท่าเลน (กระบี่)- เกาะยาว (พังงา)-ภูเก็ต และเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายถนนเป็นวงจรการท่องเที่ยวของกลุ่มสามเหลี่ยมอันดามันที่สมบูรณ์มากขึ้น ประกอบด้วยการก่อสร้างท่าเทียบเรือท่องเที่ยวและพาณิชย์เพิ่มเติมอ่าวท่าเลน (กระบี่) และการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือบ้านแหลมทราย ตำบลเทพกษัตริย์ (ภูเก็ต)
(2) พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเกาะพีพีที่ที่ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย 1 โครงการ
(3) การวางรากฐานการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาปาล์มน้ำมันและศูนย์กลางการผลิตพลังงาน Biodiesel รวม 3 โครงการ ดังนี้
- โครงการขยายกำลังผลิต Biodiesel จังหวัดกระบี่ ของชุมชนสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตจาก 10,000 ลิตรต่อวันเป็น 50,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งเป็นการต่อยอดและขยายกำลังการผลิตน้ำมันปาล์มดิบและไบโอดีเซลของสถาบันเกษตรกรที่สามารถขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้อีก และยังจะเป็นการช่วยเสริมความเข้มแข็งแก่ธุรกิจของสถาบันเกษตรกรอีกด้วย
- โครงการพัฒนาวิจัยปาล์มน้ำมัน ด้วยการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นสนับสนุนแก่ศูนย์วิจัยปาล์มจังหวัดกระบี่ เพื่อพัฒนาความรู้ทางวิชาการที่จะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิตปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่อไป
- สนับสนุนโครงการผลิต Biodiesel แก่สถาบันเกษตรกรจังหวัดพังงา ในวงเงินลงทุน 20 ล้านบาท กำลังผลิต 10,000 ลิตร/วัน โดยใช้รูปแบบการดำเนินการของชุมชนสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ เพื่อเป็นการนำร่องการผลิต Biodiesel ในจังหวัดพังงา
3. เห็นชอบการพัฒนาระยะปานกลาง ดังนี้
(1) เห็นชอบโครงการ 2 โครงการ คือ
- พัฒนาถนนหมายเลข 4090, 4032, 401 ตอนพังงา-กะปง-ตะกั่วป่า ระยะทาง 60.5 กิโลเมตร ซึ่งโครงการนี้จะช่วยให้โครงข่ายคมนาคมทางบก เชื่อมโยงระหว่างพังงา-กระบี่ มีความสมบูรณ์ขึ้น
- การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำน้ำจากเขื่อนรัชชประภาหรือแหล่งอื่นมาใช้ในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน โดยกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันมีแหล่งน้ำที่ได้รับการพัฒนาแล้ว รวม 19 โครงการ เก็บกักน้ำได้รวม 37 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีแนวโน้มการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในอนาคต โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ๆ เช่น เกาะพีพี เขาหลัก และเกาะภูเก็ต
- แผนพัฒนาแหล่งน้ำในระยะสั้นและระยะกลาง (ปี 2548-2550) จะเพิ่มปริมาณที่ใช้ การได้อีก 18.13 ล้าน ลบ.ม. จากการเพิ่มความจุอ่างบางวาดในปี 2548 อีก 0.83 ล้าน ลบ.ม. และปี 2549 อีก 3.3 ล้าน ลบ.ม. อ่างคลองกระทะแล้วเสร็จปี 2550 ใช้น้ำได้ 5.0 ล้าน ลบ.ม. อ่างบางเหนียวดำแล้วเสร็จปี 2552 ใช้น้ำได้ 6.0 ล้านลบ.ม. และระบบสูบน้ำใช้จากท้ายอ่างบางเหนียวดำ 3.0 ล้าน ลบ.ม.
- สำหรับแผนในระยะยาวได้มีแนวคิดในการวางระบบส่งน้ำจากเขื่อนรัชชประภาจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ความจุ 5,638.5 ล้าน ลบ.ม.) ระยะทาง 180 กิโลเมตร มาใช้ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ของแนวคิดดังกล่าว รวมทั้งความเป็นไปได้ในการจัดหาน้ำจากแหล่งอื่น เพื่อเตรียมการสำหรับรองรับความต้องการน้ำในอนาคต
(2) เห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต เพื่อเป็นศูนย์กลางธุรกิจบริการ โดยในขั้นการวางแผนและการจัดเตรียมโครงการ ควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแล ประสานงาน และบริหารโครงการ รวมทั้งให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำการศึกษา และวิเคราะห์โครงการโดยละเอียด และนำเสนอ เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
4. เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพังงาตามที่เสนอ
5. เห็นชอบโครงการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน และมอบหมายให้จังหวัดพังงาประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงบประมาณ จำนวน 30 โครงการ ดังนี้
(1) การปรับปรุงเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมสู่แหล่งท่องเที่ยวทั้งทางบกและทางทะเล รวม 10 โครงการ
(2) การประชาสัมพันธ์และการจัดตั้งศูนย์บริการช่วยเหลือนักท่องเที่ยว รวม 4 โครงการ
(3) การพัฒนาแหล่งน้ำและระบบประปาในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชน รวม 6 โครงการ
(4) การส่งเสริมการผลิตสัตว์น้ำและพืชผักมูลค่าสูง รวม 3 โครงการ
(5) การพัฒนาศูนย์บริการเทคโนโลยีและพัฒนาอาชีพ 1 โครงการ
(6) การพัฒนาคุณภาพบริการการศึกษาและคุณภาพชีวิต รวม 4 โครงการ
(7) การกำจัดขยะมูลฝอยในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชน 1 โครงการ
(8) การพัฒนาทักษะแรงงานและคุณภาพกำลังคน 1 โครงการ
6. เห็นชอบโครงการแก้ไขปัญหาระยะปานกลาง
(1) โครงการศึกษาออกแบบสะพานข้ามเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า
(2) เห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาเมือง Long Stay อำเภอคุระบุรี สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ที่ลงทุนโดยเอกชน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาสนับสนุนตามขั้นตอนต่อไป
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน
1) บทบาทกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลกที่ได้รับสมญานามว่า “Andaman Paradise” หรือ “มรกตเมืองใต้” โดยมีภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกรู้จักกันในนาม “ไข่มุกอันดามัน” พังงาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทางทะเลที่สงบ และเป็นแหล่งดำน้ำระดับโลกบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์และหมู่เกาะสิมิลัน และกระบี่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยในปี 2547 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวในกลุ่มจังหวัดนี้จำนวน 9.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 52 ของนักท่องเที่ยวทั้งภาคใต้ เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศถึงประมาณร้อยละ 67 ทำให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงถึงปีละกว่า 1 แสนล้านบาท
2) ผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลก็ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ทั้งการบรรเทาความเดือดร้อนในระยะเร่งด่วนและการช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูอาชีพและวิถีการดำรงชีวิตของผู้ประสบภัยในระยะยาว รวมทั้งการช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถเป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้แก่พื้นที่ต่อไปได้ โดยมีวงเงินที่ให้ความ ช่วยเหลือไปแล้วรวมทั้งสิ้น 29,549.7 ล้านบาท อย่างไรก็ตามยังมีผลกระทบจากเหตุการณ์ คือ (1) จำนวน นักท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ลดลงถึงร้อยละ 63.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) การว่างงานจำนวน 2.8 หมื่นคน และ (3) เศรษฐกิจโดยรวมของกลุ่มจังหวัดหดตัวลงร้อยละ 2.0
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด มุ่งฟื้นฟูการท่องเที่ยวที่เคยเป็นแหล่งรายได้หลักให้กลับมาสร้างรายได้แบบยั่งยืน ขณะเดียวกันก็จะใช้ศักยภาพและโอกาสใหม่ ๆ มาพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการ โดยเฉพาะการพัฒนาบริการการศึกษานานาชาติ บริการด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ควบคู่ไปกับการใช้ศักยภาพด้านการเป็นแหล่งผลิตปาล์มน้ำมันมากที่สุดของภาคใต้ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการผลิตพลังงาน Biodiesel ของประเทศ โดยมียุทธศาสตร์สำคัญคือ (1) การฟื้นฟูสู่ความเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก (2) การพัฒนาฐานการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก (3) การพัฒนาฐานการผลิตพลังงาน Biodiesel และ (4) การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพังงา
1) ภาพรวมของจังหวัดพังงา มีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 3.3 ของภาคใต้และอยู่ในลำดับที่ 12 ของภาคใต้ แต่มีผลิตภัณฑ์จังหวัดเฉลี่ยต่อบุคคล (GPP Per Capita) เป็นลำดับที่ 3 ของภาครองจากจังหวัดภูเก็ตและสงขลา โดยมีโครงสร้างการผลิตพึ่งพิงการเกษตรเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 51 ในขณะที่สาขาโรงแรมและภัตตาคารมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 4.3 และเป็นสาขาที่มีการขยายตัวในระดับสูงมากคือ มีอัตราการขยายตัวในช่วงปี 2545-2547 เฉลี่ยร้อยละ 32 ต่อปี ในขณะที่เศรษฐกิจส่วนรวมของจังหวัดขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ต่อปีในช่วงเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากการมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในอัตราสูง คือ เพิ่มจาก 2.0 ล้านคนในปี 2544 เป็น 2.3 ล้านคนในปี 2546 และเพิ่มเป็น 2.9 ล้านคนในปี 2547 ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงร้อยละ 64 และมีรายได้รวมจากการท่องเที่ยว9.8 พันล้านบาท
2) บทบาทการพัฒนาของจังหวัดพังงา จังหวัดพังงานับเป็นจุดหมายใหม่ของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความบริสุทธิ์ของแหล่งธรรมชาติทางทะเลและการเป็นแหล่ง Supply สินค้าเกษตรให้แก่ตลาดการบริโภคของภูเก็ต ทำให้จังหวัดพังงามีบทบาทสำคัญในบริบทของกลุ่มจังหวัด ดังนี้ (1) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทางทะเล เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์และหมู่เกาะสิมิลัน ซึ่งเป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังที่มีชื่อเสียงติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก (2) เป็นแหล่งพักผ่อนแบบ Long Stay เนื่องจากมีบรรยากาศที่เงียบสงบไม่มีแหล่งบันเทิงเริงรมย์ (3) เป็นแหล่งผลิตพืชผลการเกษตรคุณภาพดีและสัตว์น้ำมูลค่าสูงป้อนตลาดการบริโภคของภูเก็ตและเพื่อการส่งออก
3) ประเด็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดพังงา คือ (1) ปัญหาการฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย โดยเฉพาะบริเวณเขาหลักและคุระบุรี (2) ปัญหาการขาดแคลนบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้าและโทรศัพท์ ในพื้นที่เกาะปันหยี เกาะยาว ฯลฯ (3) ปัญหาเส้นทางการคมนาคมขนส่งไม่สะดวกและปลอดภัย โดยเฉพาะทางหลวงสายหลัก (ถนนหมายเลข 4) เชื่อมพังงา-กระบี่ และท่าเรือท่องเที่ยวต่าง ๆ (4) ปัญหาราษฎรบุกรุกครอบครองพื้นที่ป่าสงวนและที่ดินสาธารณประโยชน์ (5) ปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค เนื่องจากไม่มีการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนใด ๆ ในจังหวัดพังงา (6) ปัญหาด้านบริการการศึกษาที่ยังจำกัดอยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพังงา มุ่งเน้นการฟื้นฟูรายได้จากการท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้จากสินค้าเกษตร โดยมียุทธศาสตร์สำคัญคือ (1) ฟื้นฟูและรักษาตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ โดยเฉพาะกลุ่มรักธรรมชาติและกลุ่ม Long Stay (2) พัฒนาสินค้าเกษตรมูลค่าสูงโดยเฉพาะพืชผักปลอดสารพิษ และสัตว์น้ำจำพวกปลาเก๋า หอยเป๋าฮื้อ ปลิงทะเล และ (3) การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการยกระดับการศึกษาสู่ปริญญาตรี เพื่อยกระดับการศึกษาของประชาชนและการพัฒนาคุณภาพกำลังคน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--
1. เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันตามที่เสนอ
2. เห็นชอบโครงการพัฒนาระยะเร่งด่วน โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงบประมาณจำนวน 6 โครงการ ดังนี้
(1) พัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางบกและทางทะเล จำนวน 2 โครงการ คือ 1) พัฒนาถนนหมายเลข 4 ช่วงพังงา-กระบี่ ตอนทับปุด-อ่าวลึก ระยะทาง 27 กิโลเมตร และ 2) การพัฒนาการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งทางทะเลอ่าวท่าเลน (กระบี่) — เกาะยาว (พังงา) — ภูเก็ต เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวทางทะเลตามแนวเส้นทางอ่าวท่าเลน (กระบี่)- เกาะยาว (พังงา)-ภูเก็ต และเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายถนนเป็นวงจรการท่องเที่ยวของกลุ่มสามเหลี่ยมอันดามันที่สมบูรณ์มากขึ้น ประกอบด้วยการก่อสร้างท่าเทียบเรือท่องเที่ยวและพาณิชย์เพิ่มเติมอ่าวท่าเลน (กระบี่) และการก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือบ้านแหลมทราย ตำบลเทพกษัตริย์ (ภูเก็ต)
(2) พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเกาะพีพีที่ที่ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย 1 โครงการ
(3) การวางรากฐานการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาปาล์มน้ำมันและศูนย์กลางการผลิตพลังงาน Biodiesel รวม 3 โครงการ ดังนี้
- โครงการขยายกำลังผลิต Biodiesel จังหวัดกระบี่ ของชุมชนสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตจาก 10,000 ลิตรต่อวันเป็น 50,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งเป็นการต่อยอดและขยายกำลังการผลิตน้ำมันปาล์มดิบและไบโอดีเซลของสถาบันเกษตรกรที่สามารถขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นได้อีก และยังจะเป็นการช่วยเสริมความเข้มแข็งแก่ธุรกิจของสถาบันเกษตรกรอีกด้วย
- โครงการพัฒนาวิจัยปาล์มน้ำมัน ด้วยการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นสนับสนุนแก่ศูนย์วิจัยปาล์มจังหวัดกระบี่ เพื่อพัฒนาความรู้ทางวิชาการที่จะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิตปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่อไป
- สนับสนุนโครงการผลิต Biodiesel แก่สถาบันเกษตรกรจังหวัดพังงา ในวงเงินลงทุน 20 ล้านบาท กำลังผลิต 10,000 ลิตร/วัน โดยใช้รูปแบบการดำเนินการของชุมชนสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ เพื่อเป็นการนำร่องการผลิต Biodiesel ในจังหวัดพังงา
3. เห็นชอบการพัฒนาระยะปานกลาง ดังนี้
(1) เห็นชอบโครงการ 2 โครงการ คือ
- พัฒนาถนนหมายเลข 4090, 4032, 401 ตอนพังงา-กะปง-ตะกั่วป่า ระยะทาง 60.5 กิโลเมตร ซึ่งโครงการนี้จะช่วยให้โครงข่ายคมนาคมทางบก เชื่อมโยงระหว่างพังงา-กระบี่ มีความสมบูรณ์ขึ้น
- การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำน้ำจากเขื่อนรัชชประภาหรือแหล่งอื่นมาใช้ในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน โดยกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามันมีแหล่งน้ำที่ได้รับการพัฒนาแล้ว รวม 19 โครงการ เก็บกักน้ำได้รวม 37 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีแนวโน้มการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงในอนาคต โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ๆ เช่น เกาะพีพี เขาหลัก และเกาะภูเก็ต
- แผนพัฒนาแหล่งน้ำในระยะสั้นและระยะกลาง (ปี 2548-2550) จะเพิ่มปริมาณที่ใช้ การได้อีก 18.13 ล้าน ลบ.ม. จากการเพิ่มความจุอ่างบางวาดในปี 2548 อีก 0.83 ล้าน ลบ.ม. และปี 2549 อีก 3.3 ล้าน ลบ.ม. อ่างคลองกระทะแล้วเสร็จปี 2550 ใช้น้ำได้ 5.0 ล้าน ลบ.ม. อ่างบางเหนียวดำแล้วเสร็จปี 2552 ใช้น้ำได้ 6.0 ล้านลบ.ม. และระบบสูบน้ำใช้จากท้ายอ่างบางเหนียวดำ 3.0 ล้าน ลบ.ม.
- สำหรับแผนในระยะยาวได้มีแนวคิดในการวางระบบส่งน้ำจากเขื่อนรัชชประภาจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ความจุ 5,638.5 ล้าน ลบ.ม.) ระยะทาง 180 กิโลเมตร มาใช้ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ของแนวคิดดังกล่าว รวมทั้งความเป็นไปได้ในการจัดหาน้ำจากแหล่งอื่น เพื่อเตรียมการสำหรับรองรับความต้องการน้ำในอนาคต
(2) เห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาอ่าวภูเก็ต เพื่อเป็นศูนย์กลางธุรกิจบริการ โดยในขั้นการวางแผนและการจัดเตรียมโครงการ ควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำกับดูแล ประสานงาน และบริหารโครงการ รวมทั้งให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำการศึกษา และวิเคราะห์โครงการโดยละเอียด และนำเสนอ เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
4. เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพังงาตามที่เสนอ
5. เห็นชอบโครงการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน และมอบหมายให้จังหวัดพังงาประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงบประมาณ จำนวน 30 โครงการ ดังนี้
(1) การปรับปรุงเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมสู่แหล่งท่องเที่ยวทั้งทางบกและทางทะเล รวม 10 โครงการ
(2) การประชาสัมพันธ์และการจัดตั้งศูนย์บริการช่วยเหลือนักท่องเที่ยว รวม 4 โครงการ
(3) การพัฒนาแหล่งน้ำและระบบประปาในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชน รวม 6 โครงการ
(4) การส่งเสริมการผลิตสัตว์น้ำและพืชผักมูลค่าสูง รวม 3 โครงการ
(5) การพัฒนาศูนย์บริการเทคโนโลยีและพัฒนาอาชีพ 1 โครงการ
(6) การพัฒนาคุณภาพบริการการศึกษาและคุณภาพชีวิต รวม 4 โครงการ
(7) การกำจัดขยะมูลฝอยในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชน 1 โครงการ
(8) การพัฒนาทักษะแรงงานและคุณภาพกำลังคน 1 โครงการ
6. เห็นชอบโครงการแก้ไขปัญหาระยะปานกลาง
(1) โครงการศึกษาออกแบบสะพานข้ามเกาะคอเขา อำเภอตะกั่วป่า
(2) เห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาเมือง Long Stay อำเภอคุระบุรี สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ที่ลงทุนโดยเอกชน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาสนับสนุนตามขั้นตอนต่อไป
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน
1) บทบาทกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลกที่ได้รับสมญานามว่า “Andaman Paradise” หรือ “มรกตเมืองใต้” โดยมีภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกรู้จักกันในนาม “ไข่มุกอันดามัน” พังงาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทางทะเลที่สงบ และเป็นแหล่งดำน้ำระดับโลกบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์และหมู่เกาะสิมิลัน และกระบี่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยในปี 2547 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวในกลุ่มจังหวัดนี้จำนวน 9.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 52 ของนักท่องเที่ยวทั้งภาคใต้ เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศถึงประมาณร้อยละ 67 ทำให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงถึงปีละกว่า 1 แสนล้านบาท
2) ผลกระทบจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลก็ได้ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ทั้งการบรรเทาความเดือดร้อนในระยะเร่งด่วนและการช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูอาชีพและวิถีการดำรงชีวิตของผู้ประสบภัยในระยะยาว รวมทั้งการช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถเป็นแหล่งสร้างงานสร้างรายได้แก่พื้นที่ต่อไปได้ โดยมีวงเงินที่ให้ความ ช่วยเหลือไปแล้วรวมทั้งสิ้น 29,549.7 ล้านบาท อย่างไรก็ตามยังมีผลกระทบจากเหตุการณ์ คือ (1) จำนวน นักท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ลดลงถึงร้อยละ 63.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2) การว่างงานจำนวน 2.8 หมื่นคน และ (3) เศรษฐกิจโดยรวมของกลุ่มจังหวัดหดตัวลงร้อยละ 2.0
3) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด มุ่งฟื้นฟูการท่องเที่ยวที่เคยเป็นแหล่งรายได้หลักให้กลับมาสร้างรายได้แบบยั่งยืน ขณะเดียวกันก็จะใช้ศักยภาพและโอกาสใหม่ ๆ มาพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการ โดยเฉพาะการพัฒนาบริการการศึกษานานาชาติ บริการด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ควบคู่ไปกับการใช้ศักยภาพด้านการเป็นแหล่งผลิตปาล์มน้ำมันมากที่สุดของภาคใต้ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการผลิตพลังงาน Biodiesel ของประเทศ โดยมียุทธศาสตร์สำคัญคือ (1) การฟื้นฟูสู่ความเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก (2) การพัฒนาฐานการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก (3) การพัฒนาฐานการผลิตพลังงาน Biodiesel และ (4) การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพังงา
1) ภาพรวมของจังหวัดพังงา มีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 3.3 ของภาคใต้และอยู่ในลำดับที่ 12 ของภาคใต้ แต่มีผลิตภัณฑ์จังหวัดเฉลี่ยต่อบุคคล (GPP Per Capita) เป็นลำดับที่ 3 ของภาครองจากจังหวัดภูเก็ตและสงขลา โดยมีโครงสร้างการผลิตพึ่งพิงการเกษตรเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 51 ในขณะที่สาขาโรงแรมและภัตตาคารมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 4.3 และเป็นสาขาที่มีการขยายตัวในระดับสูงมากคือ มีอัตราการขยายตัวในช่วงปี 2545-2547 เฉลี่ยร้อยละ 32 ต่อปี ในขณะที่เศรษฐกิจส่วนรวมของจังหวัดขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ต่อปีในช่วงเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากการมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในอัตราสูง คือ เพิ่มจาก 2.0 ล้านคนในปี 2544 เป็น 2.3 ล้านคนในปี 2546 และเพิ่มเป็น 2.9 ล้านคนในปี 2547 ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงร้อยละ 64 และมีรายได้รวมจากการท่องเที่ยว9.8 พันล้านบาท
2) บทบาทการพัฒนาของจังหวัดพังงา จังหวัดพังงานับเป็นจุดหมายใหม่ของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความบริสุทธิ์ของแหล่งธรรมชาติทางทะเลและการเป็นแหล่ง Supply สินค้าเกษตรให้แก่ตลาดการบริโภคของภูเก็ต ทำให้จังหวัดพังงามีบทบาทสำคัญในบริบทของกลุ่มจังหวัด ดังนี้ (1) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ทางทะเล เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์และหมู่เกาะสิมิลัน ซึ่งเป็นแหล่งดำน้ำดูปะการังที่มีชื่อเสียงติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก (2) เป็นแหล่งพักผ่อนแบบ Long Stay เนื่องจากมีบรรยากาศที่เงียบสงบไม่มีแหล่งบันเทิงเริงรมย์ (3) เป็นแหล่งผลิตพืชผลการเกษตรคุณภาพดีและสัตว์น้ำมูลค่าสูงป้อนตลาดการบริโภคของภูเก็ตและเพื่อการส่งออก
3) ประเด็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดพังงา คือ (1) ปัญหาการฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย โดยเฉพาะบริเวณเขาหลักและคุระบุรี (2) ปัญหาการขาดแคลนบริการพื้นฐานด้านไฟฟ้าและโทรศัพท์ ในพื้นที่เกาะปันหยี เกาะยาว ฯลฯ (3) ปัญหาเส้นทางการคมนาคมขนส่งไม่สะดวกและปลอดภัย โดยเฉพาะทางหลวงสายหลัก (ถนนหมายเลข 4) เชื่อมพังงา-กระบี่ และท่าเรือท่องเที่ยวต่าง ๆ (4) ปัญหาราษฎรบุกรุกครอบครองพื้นที่ป่าสงวนและที่ดินสาธารณประโยชน์ (5) ปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค เนื่องจากไม่มีการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนใด ๆ ในจังหวัดพังงา (6) ปัญหาด้านบริการการศึกษาที่ยังจำกัดอยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพังงา มุ่งเน้นการฟื้นฟูรายได้จากการท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้จากสินค้าเกษตร โดยมียุทธศาสตร์สำคัญคือ (1) ฟื้นฟูและรักษาตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ โดยเฉพาะกลุ่มรักธรรมชาติและกลุ่ม Long Stay (2) พัฒนาสินค้าเกษตรมูลค่าสูงโดยเฉพาะพืชผักปลอดสารพิษ และสัตว์น้ำจำพวกปลาเก๋า หอยเป๋าฮื้อ ปลิงทะเล และ (3) การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการยกระดับการศึกษาสู่ปริญญาตรี เพื่อยกระดับการศึกษาของประชาชนและการพัฒนาคุณภาพกำลังคน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--