1. แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ให้แต่งตั้งนายอำพน กิตติอำพน เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย แทนตำแหน่งที่ว่างลงโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป
2. แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการในการมอบหมายผู้รักษาราชการแทน ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุชัย เจริญรัตนกุล) เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 42
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
3. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งระดับ 10 (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ให้แต่งตั้ง นางสาวสุจินดา โชติพานิช ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหาร 10) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่งเดิม และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไป
4. แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 995/2548 แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้ นายไชยยศ จิรเมธากร เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นางสาวศุภมาส อิศรภักดี เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
5. แต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการบินพลเรือน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้แต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการบินพลเรือน ดังต่อไปนี้ นายมหิดล จันทรางกูร เป็น รองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย นายวันชัย ศารทูลทัต นายสุพจน์ คำภีระ นายชัยศักดิ์ อังค์สุวรรณ คุณพรทิพย์ จาละ นางจันทรา บูรณฤกษ์ นางจุฑามาศ ศิริวรรณ และ พลอากาศเอก ณพฤษภ์ มัณฑะจิตร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
6. แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 7 คณะ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 455/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีรวม 7 คณะ โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และกลไกการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 (ฝ่ายเศรษฐกิจ)
1.1 องค์ประกอบ
1.1.1 รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการ
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
1.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
รองประธานกรรมการ
1.1.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
กรรมการ
(นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ)
1.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
กรรมการ
1.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรรมการ
1.1.6 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
กรรมการ
(นายสมชาย สุนทรวัฒน์)
1.1.7 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
กรรมการ
(นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ)
1.1.8 ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวง
กรรมการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.1.9 ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพลังงาน
กรรมการ
1.1.10 ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ประธานกรรมการ
กรรมการ
มอบหมายให้เข้าประชุม
1.1.11 ปลัดกระทรวงการคลัง
กรรมการ
1.1.12 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
กรรมการ
1.1.13 ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กรรมการ
1.1.14 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรรมการ
1.1.15 ปลัดกระทรวงพาณิชย์
กรรมการ
1.1.16 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
กรรมการ
1.1.17 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
กรรมการ
1.1.18 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กรรมการ
1.1.19 ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
กรรมการ
1.1.20 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กรรมการ
1.1.21 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ
กรรมการและเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขานุการ
1.1.22 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
1.1.23 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
กรรมการและฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
ผู้ช่วยเลขานุการ
(นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
1.2 อำนาจหน้าที่
1.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพัน หรือมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเงิน การคลัง การภาษีอากร สถาบันการเงิน การลงทุนอุตสาหกรรม การผลิต การหารายได้เข้าประเทศ การนำเข้าและส่งออกสินค้า นโยบายรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการพลังงาน (ในส่วนที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม) ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายตามข้อ 1.2.1 ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 76 มาตรา 81 มาตรา 83 และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี
1.2.3 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
1.3 กลไกการปฏิบัติงาน
1.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามข้อ 1.2.1 ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐเสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบ ให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
1.3.2 เรื่องสำคัญซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการตามคำสั่งนี้ หมายถึงเรื่องที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1.3.2.1 เรื่องที่เป็นปัญหาในเชิงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน
1.3.2.2 เรื่องที่ต้องใช้งบประมาณดำเนินการเป็นจำนวนมาก
1.3.2.3 เรื่องที่กระทบต่อการปฏิบัติราชการของหลายหน่วยงาน
1.3.2.4 เรื่องที่หน่วยงานต่าง ๆ มีความเห็นไม่สอดคล้องกัน
1.3.2.5 เรื่องที่ยังไม่เคยมีระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติมาก่อน
1.3.2.6 เรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สังคมจิตวิทยา หรือความมั่นคงหรือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวม
1.3.2.7 เรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะอื่น นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีขอให้พิจารณา
1.3.3 ในการเสนอปัญหาในเชิงรุกตามข้อ 1.2.2 ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเจ้าของเรื่อง แต่กรรมการคนใดคนหนึ่งโดย ความเห็นชอบของประธานกรรมการจะยกประเด็นขึ้นหารือก็ได้
1.3.4 รองนายกรัฐมนตรีทุกคนจะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดังกล่าวก็ได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีเช่นนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้รองนายกรัฐมนตรีทุกคนทราบทุกครั้งด้วย
1.3.5 ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมประชุมเป็นกรรมการด้วย ทั้งนี้ ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารอื่น ๆ ให้บุคคลดังกล่าวทราบทุกครั้ง
1.3.6 ในการพิจารณากลั่นกรองเรื่องที่กระทรวง ทบวง กรมหรือหน่วยงานของรัฐหน่วยใดเป็นเจ้าของเรื่อง ให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการเชิญรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเข้าร่วมประชุมด้วย ในกรณีเป็นการพิจารณาปัญหาในเชิงรุกตามข้อ 1.2.2 หากสามารถแจ้งรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้าได้ให้ดำเนินการเช่นเดียวกัน
1.3.7 คณะกรรมการมีอำนาจเชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรมหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลอื่นที่อาจให้ข้อมูลเข้าร่วมประชุมในปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ตามที่เห็นสมควร
1.3.8 วันเวลา สถานที่ และการประชุม ให้เป็นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาศาสตร์)
2.1 องค์ประกอบ
2.1.1 รองนายกรัฐมนตรี
(นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)
ประธานกรรมการ
2.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
รองประธานกรรมการ
2.1.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรรมการ
2.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรรมการ
2.1.5 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายเนวิน ชิดชอบ)
กรรมการ
2.1.6 ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ประธานกรรมการมอบหมายให้เข้าประชุม
กรรมการ
2.1.7 ปลัดกระทรวงกลาโหม
กรรมการ
2.1.8 ปลัดกระทรวงการคลัง
กรรมการ
2.1.9 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรรมการ
2.1.10ปลัดกระทรวงคมนาคม
กรรมการ
2.1.11ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรรมการ
2.1.12ปลัดกระทรวงมหาดไทย
กรรมการ
2.1.13เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ
เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กรรมการ
2.1.14ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
กรรมการ
2.1.15เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กรรมการ
2.1.16เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรรมการ
2.1.17เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กรรมการ
2.1.18ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กรรมการ
2.1.19เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และเลขานุการ
กรรมการ
2.1.20ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2.1.21รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
(นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)
2.2 อำนาจหน้าที่
2.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม การขนส่ง การเกษตร การสงวน อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายตามข้อ 2.2.1 ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม การขนส่งการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 79 มาตรา 84 และมาตรา 85 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
2.2.3 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
2.3 กลไกการปฏิบัติงาน
2.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามข้อ 2.2.1 ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐเสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
2.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตามข้อ 1.3.2 ข้างต้น
2.3.3 ในการเสนอปัญหาในเชิงรุกตามข้อ 2.2.2 ให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงแกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเจ้าของเรื่อง แต่กรรมการคนใดคนหนึ่งโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการจะยกประเด็นขึ้นหารือก็ได้
2.3.4 ให้นำข้อ 1.3.4 — ข้อ 1.3.8 ข้างต้น มาใช้บังคับด้วย
3. คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 (ฝ่ายความมั่นคง)
3.1 องค์ประกอบ
3.1.1 รองนายกรัฐมนตรี
(พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์)
ประธานกรรมการ
3.1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
รองประธานกรรมการ
3.1.3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นายเนวิน ชิดชอบ)
กรรมการ
3.1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
กรรมการ
3.1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
กรรมการ
3.1.6 ผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ประธานกรรมการมอบหมายให้เข้าประชุม
กรรมการ
3.1.7 ปลัดกระทรวงกลาโหม
กรรมการ
3.1.8 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
กรรมการ
3.1.9 ปลัดกระทรวงมหาดไทย
กรรมการ
3.1.10 ปลัดกระทรวงยุติธรรม
กรรมการ
3.1.11 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
กรรมการ
3.1.12 ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
กรรมการ
3.1.13 ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
กรรมการ
3.1.14 อัยการสูงสุด
กรรมการ
3.1.15 เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
กรรมการ
3.1.16 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
กรรมการ
3.1.17 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
กรรมการ
3.1.18 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
กรรมการและเลขานุการ
3.1.19 เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
3.1.20 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายการเมืองประจำรองนายกรัฐมนตรี
(พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์)
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
3.2 อำนาจหน้าที่
3.2.1 พิจารณากลั่นกรองเรื่องสำคัญในปัญหาที่เกี่ยวพันหรือมีผลกระทบต่อเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งอาณาเขต กิจการทหาร กิจการตำรวจการรักษาความมั่นคงภายใน การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน กระบวนการยุติธรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและการฟอกเงิน ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
3.2.2 ประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายตามข้อ 3.2.1 ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง การเมือง การปกครอง กระบวนการยุติธรรม และบทบัญญัติในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 71 มาตรา 72 มาตรา 74 มาตรา 75 มาตรา 76 และมาตรา 78 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
3.2.3 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
3.3 กลไกการปฏิบัติงาน
3.3.1 ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดส่งเรื่องสำคัญในปัญหาตามข้อ 3.2.1 ตามที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐเสนอมาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมทั้งความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเอกสารประกอบให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณากลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี
3.3.2 เรื่องสำคัญตามคำสั่งนี้ซึ่งจะต้องเสนอคณะกรรมการหมายถึงเรื่องที่มีลักษณะตาม ข้อ 1.3.2 ข้างต้น
3.3.3 การเสนอปัญหาในเชิงรุกตามข้อ 3.2.2 ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติหรือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นเจ้าของเรื่อง แต่กรรมการคนใดคนหนึ่งโดยความเห็นชอบของประธานกรรมการจะยกประเด็นขึ้นหารือก็ได้
(ยังมีต่อ)