คณะรัฐมนตรีรับทราบผลของมาตรการต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามมาตรการเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ครั้งที่ 6/2548 ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2548 และสิ้นสุด ณ เดือนธันวาคม 2548 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปศึกษาและปรับปรุงการดำเนินการในขั้นตอนตามปกติต่อไป ดังนี้
1. ผลของมาตรการต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ ผลการดำเนินมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ได้ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขึ้นในครึ่งหลังของปี โดยในไตรมาสที่สามเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5.3 และมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 9 เดือนแรกร้อยละ 4.4 และสูงขึ้นจากร้อยละ 3.9 ในครึ่งปีแรก
1.1 การกระตุ้นการส่งออก โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยผลของ มาตรการทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 15,230 ล้านบาท
1.2 การดูแลการนำเข้าและผลของการปรับราคาน้ำมันที่ลดการนำเข้าน้ำมันดิบ ทำให้ประหยัดการนำเข้าน้ำมัน และมีการชะลอการนำเข้าทองคำและเหล็ก ได้เป็นมูลค่ารวม 33,500 ล้านบาท
1.3 การเพิ่มรายได้แรงงาน ข้าราชการและเกษตรกร ทำให้มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากมาตรการประมาณ 18,641 ล้านบาท ประกอบด้วยการเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ 7,500 ล้านบาท รายได้เกษตรกร 8,877 ล้านบาท และรายได้แรงงานจากการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 2,084 ล้านบาท ซึ่งทำให้รายจ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคของภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 11,065 ล้านบาท
1.4 การดูแลราคาสินค้าและการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ซึ่งช่วยลดแรงกดดันของภาวะเงินเฟ้อและรักษากำลังซื้อของประชาชนได้ประมาณ 35,371 ล้านบาท
2. ความคืบหน้าการดำเนินการและติดตามผลของมาตรการเศรษฐกิจที่สำคัญ
2.1 มาตรการที่มีความสำคัญสูงและต้องติดตามเร่งรัดหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย
2.1.1 ปรับราคาน้ำมันดีเซลให้สะท้อนต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริง โดยรัฐบาลยังให้การสนับสนุนด้วยการลดภาษีสรรพสามิต (มาตรการที่ 1) ปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศลดลงโดยตลอด โดยอัตราการ ใช้พลังงานของประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม — พฤศจิกายน 2548 ลดลงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับปี 2547
2.1.2 ปรับเพิ่มฐานเงินเดือนข้าราชการขึ้นร้อยละ 5 โดยยังคงเงินค่าส่วนเพิ่มที่รัฐบาลได้ปรับเพิ่มให้ก่อนหน้านี้แล้ว และรวมถึงการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการบำนาญร้อยละ 5 (มาตรการที่ 2) พ.ร.ฎ. การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการฉบับที่ 2 พ.ศ. 2548 และระเบียบกระทรวงการคลังขว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2548 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548
2.1.3 เพิ่มรายได้จากสินค้าเกษตร โดยการขยายตลาดต่างประเทศและส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ (มาตรการที่ 4) ในช่วง 12 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค. — 14 ธ.ค.) ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 6.93 ล้านตัน ราคาส่งออกได้ปรับตัวสูงขึ้นมาที่เฉลี่ย 311 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 15.52 ทั้งมูลค่าและปริมาณจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนยางพาราและกุ้งมีมูลค่าส่งออกในช่วง 10 เดือนแรก เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.62 และ 9.84 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
2.1.4 เร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2548 สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 (มาตรการที่ 5)
1) การส่งออก ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค. — พ.ย.) มีมูลค่า 101,437 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.2 เป็นการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 16.1 ขณะที่สินค้าเกษตรกรรม/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 โดยกระทรวงพาณิชย์ได้เร่งดำเนินมาตรการดังกล่าวในเชิงรุกทั้งตลาดหลักและตลาดใหม่ ส่งผลให้การส่งออกเดือนพฤศจิกายน 2548 มีมูลค่า 9,841.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร คิดเป็นร้อยละ 15.40 และ 6.9 ตามลำดับ สำหรับสินค้าเกษตรที่ส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงคือ ยางพารา และมันสำปะหลัง ซึ่งส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.3 และ 30.6 ตามลำดับ
2) การนำเข้า 11 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค. — พ.ย.) มูลค่า108,634.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.5 เป็นการขยายตัวของการนำเข้าทุกหมวดที่สำคัญ โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าทุน และเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.2, 25.6 และ 16.6 ตามลำดับ โดยปริมาณการนำเข้าในเดือนพฤศจิกายน 2548 ของไทยมีมูลค่า 9,786.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.28
2.1.5 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งต้นทางและปลายทาง (มาตรการที่ 6) ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 2548 ลงลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบปี 2548 โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายนลดลง คือ ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และผลจากการลดลงของราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหารและหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารมีราคาลดลง ได้แก่ ไก่สด ไข่ ผักสด และผลไม้
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 11 เดือน ของปี 2548 สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.4 และคาดว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งปี 2548 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.5
2.1.6 ดูแลระดับการเก็บสต็อกสินค้า โดยจัดระบบการรายงานสินค้าที่เก็บในสต็อกให้เหมาะสมกับระดับการผลิตและการบริโภค (มาตรการที่ 7) ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2548 มีการนำเข้าสินค้าเหล็กปริมาณ 14.35 ล้านตัน มูลค่า 8,471.37 ล้านดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบมูลค่า6,683.06 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 26.0 ส่วนสินค้าอุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่านำเข้าในเดือนพฤศจิกายน 799 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนของปีก่อนร้อยละ 19.6 สำหรับทองคำมีการนำเข้าเดือนพฤศจิกายน 2548 ปริมาณการนำเข้า 9.0 ตัน มีมูลค่าการนำเข้า 124 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.4 โดยคาดว่าจะมีการนำเข้าต่ำกว่า12.0 ตัน ตามที่ผู้นำเข้าแจ้งไว้กับกระทรวงพาณิชย์
2.1.7 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ผูกพันไว้กับรัฐบาล (มาตรการที่ 8) ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 มีการเบิกจ่ายเงินในภาพรวมจำนวน 1,138,658.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.81 ของวงเงินงบประมาณ จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 914,942.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.82 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน จำนวน 223,716.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 71.2 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน
2.1.8 โครงการจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (มาตรการที่ 11.2) ได้ดำเนินโครงการฯ ในระยะที่ 1 (15 ส.ค. — 14 ต.ค. 2548 : 75 จังหวัด 2,000 หมู่บ้าน/ศูนย์ : งบประมาณ 172.7 ล้านบาท) ได้มีการซ่อมเครื่องมือ/เครื่องจักรแล้ว 150,519 รายการ โดยสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายภาคประชาชนได้ 160.90 ล้านบาท ช่วยประหยัดเงินตราของประเทศได้ระดับหนึ่ง ส่วนโครงการในระยะที่ 2 นั้น จะมีการดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ๆ ละ10,000 หมู่บ้าน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
2.1.9 เร่งรัดงบ SML โดยให้หมู่บ้านละ 200,000 — 300,000 บาท (มาตรการที่ 16)
2.1.10 สนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV โดยให้เพิ่มสถานีบริการ NGV ให้มากขึ้นควบคู่กับสนับสนุนการปรับระบบเครื่องยนต์เป็น NGV แก่รถและเรือประมง รวมถึงสนับสนุนการใช้แก๊สโซฮอล์และ ไบโอดีเซล (มาตรการที่ 19.1)
2.1.11 เร่งรัดโครงการที่อยู่อาศัย (มาตรการที่ 24)
1) โครงการบ้านเอื้ออาทรอยู่ระหว่างการดำเนินงาน 265,186 หน่วย โดยมีสัญญาแล้ว 166,428 หน่วย (อยู่ระหว่างส่งมอบและเตรียมส่งมอบให้กับผู้ได้สิทธิ์ 13,396 หน่วย อยู่ระหว่างก่อสร้าง 134,710 หน่วย อยู่ระหว่างรอส่งมอบสถานที่ 18,322 หน่วย) และยังอยู่ระหว่างการดำเนินงาน 98,758 หน่วย (โครงการที่รอลงนามในสัญญา 11,287 หน่วย และอยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกโครงการ 87,471 หน่วย) พร้อมทั้งได้เบิกจ่ายงบประมาณแล้ว จำนวน 9,481.755 ล้านบาท
2) โครงการบ้านมั่นคง ณ เดือนพฤศจิกายน 2548 ดำเนินโครงการแล้วใน 53 จังหวัด 108 เมือง/เขต 311 โครงการ 422 ชุมชน รวม 29,942 ครัวเรือน และเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผ่อนปรนกฎระเบียบข้อบังคับให้เอื้อต่อโครงการฯ
3) โครงการบ้านร่วมใจ (บ้าน Knock Down) เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และการเคหะแห่งชาติได้ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยได้หารือร่วมกัน และมอบให้สถาบันเหล็กฯ คำนวณต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ กคช. มีความเห็นว่าควรจะนำรายละเอียดการก่อสร้างที่บริษัทเอเชีย-เทรด.เนตนำมาใช้กับโครงการบ้านเอื้ออาทรและบ้านไทยร่วมใจ
2.2 มาตรการที่มีลักษณะเป็นการดำเนินงานประจำของหน่วยงาน การปรับปรุงกฎระเบียบ หลักเกณฑ์การทำงาน ประกอบด้วย
2.2.1 สนับสนุนให้ภาคเอกชนปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้าง รวมทั้งพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับทักษะฝีมือ (มาตรการที่ 3)กระทรวงแรงงานได้ออกประกาศกระทรวง เรื่องการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับแรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างบังคับใช้ ตามฉบับที่ 5 ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 และจะมีการบังคับใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่อีกครั้ง ตามฉบับที่ 6 ในวันที่ 1 มกราคม 2549 สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานฝีมือใน 30 สาขาอาชีพ คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 โดยอยู่ระหว่างจัดทำประกาศกระทรวงฯ
2.2.2 การใช้หลักฐานค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) มาค้ำประกันการส่ง มอบงานของผู้รับเหมา (มาตรการที่ 9) กรมบัญชีกลางได้ติดตามผลกรณีการจ่ายเงินก่อนมีการตรวจรับทรัพย์สินหรือตรวจรับงานซึ่งมีส่วนราชการในส่วนกลางจำนวน 7 แห่ง ในภูมิภาคจำนวน 16 แห่ง เป็นเงินทั้งสิ้น 482.27 ล้านบาท
2.2.3 อนุญาตให้ภาคธุรกิจสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงานหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล จากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า (มาตรการที่ 10) ได้ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2548 มีสถานประกอบกิจการ/หน่วยงานร่วมเป็นเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงานโดยยื่นขอรับรองหลักสูตรและอนุมัติค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแล้วจำนวน 2,304 แห่ง ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย (650 แห่ง) และสถานประกอบการอยู่ระหว่างกำลังดำเนินการจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
2.2.4 ปรับปรุงงบประมาณผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (มาตรการที่ 11.1) ได้ดำเนินโครงการตามมาตรการฯ แล้ว จำนวน 1,304 โครงการ ในวงเงินงบประมาณ 2,029,667,053 บาท เพื่อสร้างกิจกรรมและสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น เช่น ปรับปรุงถนนในชนบท ปรับปรุงดูแลสิ่งแวดล้อม สถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้านและสุขอนามัยสาธารณะ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างสาธารณูปโภคที่ใช้แรงงานและวัสดุในท้องถิ่น
2.2.5 จัดระบบประชาสัมพันธ์และชี้แจงสาธารณะ (มาตรการที่ 12) มีการประชาสัมพันธ์เนื้อหา มาตรการเศรษฐกิจทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ในหัวข้อสำคัญ ๆ อย่างต่อเนื่องอาทิ สารคดีชุด “SML ก้าวย่างสู่ชุมชน” ชุดภาษาไทย 30 ตอนผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และชุดภาษา ยาวี 30 ตอนผ่านสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.2.6 ศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ประชาชน การกระตุ้นให้เกิดการขยายการลงทุนในภาคธุรกิจ และการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ในระยะยาว (มาตรการที่ 13) อยู่ในขั้นตอนการให้ลูกหนี้ที่เข้าข่ายตามประกาศกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548 แสดงความจำนงเพื่อขอชำระหนี้ตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน โดยกำหนดให้เริ่มแสดงความจำนงตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จนถึงพฤษภาคม 2549 และ ยื่นชำระเงินได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 — 30 มิถุนายน 2549
2.2.7 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษ (มาตรการที่ 14) พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 438 พ.ศ. 2548 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2548 และมีผู้ประกอบการมายื่นความจำนงโดยผ่านทาง internet จำนวน 24 ราย และผ่านทางเอกสารกับกรมสรรพากร จำนวน 2 ราย
2.2.8 ขยายการให้เบี้ยยังชีพคนชราผู้ยากไร้ 300 บาท/คน/เดือน ให้ครบทุกคน (จาก 530,000 คน เป็น 1.07 ล้านคน) (มาตรการที่ 15) กระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรงบประมาณเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจำนวน 3,863.484 ล้านบาท ลงสู่จังหวัด เพื่อเบิกจ่ายให้ผู้สูงอายุ 1.07 ล้านคนแล้ว นอกจากนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ยังใช้กลไกคณะติดตามเร่งรัดมาตรการขยายการให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุยากไร้เพื่อเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
2.2.9 เพิ่มงบประมาณในการจัดทำกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัคร สาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ทุกหมู่บ้าน จาก 7,500 บาท เป็น 10,000 บาท (มาตรการที่ 17) โดยจัดสรรงบประมาณแก่ชุมชน/หมู่บ้านให้ครบ 85,800 แห่ง ซึ่งขณะนี้จัดสรรไปแล้ว 82,292 แห่ง (มากกว่า 95%)
2.2.10 ส่งเสริม OTOP ด้านการผลิตและการตลาดผ่านกิจกรรมและนิทรรศการต่าง ๆ (มาตรการที่ 18) ด้านการผลิตและการตลาดผ่านกิจกรรมและนิทรรศการต่าง ๆ (มาตรการที่ 18) รายได้จากการจำหน่ายสินค้า OTOP 9 เดือนแรก มียอดจำหน่ายสินค้า OTOP ทั้งภายในและตลาดต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 55,104.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 110.2 เมื่อเทียบกับเป้าหมาย 50,000 ล้านบาทในปี 2548
ในเดือนตุลาคม 2548 มียอดจำหน่ายรวม 3,971 ล้านบาท (คิดเป็น 6.11% ของเป้าหมาย 65,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2549
2.2.11 การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Model Shift) (มาตรการที่ 19.2) โครงการส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการดำเนินการ อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาแนวทางการดำเนินงานและขออนุมัติงบประมาณ
2.2.12 เร่งรัดการเริ่มดำเนินการทุนการศึกษา 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 2 (มาตรการที่ 20)มีผู้สมัครขอรับทุนจากทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอทั่วประเทศ (ณ วันที่ 19 ธ.ค. 48) จำนวน 3,778 คน จาก 173 เขตพื้นที่การศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการได้ขยายเวลาการรับสมัครออกไปจนถึงวันที่ 16 มกราคม 2549 พร้อมทั้งปรับกำหนดการดำเนินการในกระบวนการคัดเลือกเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณในกระบวนการคัดเลือกแล้ว ซึ่ง สศช. จะได้นำเสนอคณะกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์ฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และดำเนินการเบิกจ่ายต่อไป
2.2.13 เร่งรัดทุน ICL (มาตรการที่ 21) อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบการดำเนินงานการเงินการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเทคโนโลยีเพื่อรองรับการดำเนินงาน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปและนักเรียน/นักศึกษาได้รับทราบ
2.2.14 เร่งรัดการเริ่มดำเนินการขยายบริการโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคให้ครอบคลุมมากขึ้น (มาตรการที่ 22) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ขยายการบริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปีงบประมาณ 2548 — 2549 รวม 8 รายการ ได้แก่ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การตรวจสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก การตรวจประเมินความพิการเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ การตรวจสุขภาพช่องปากและทำฟันเทียมให้ผู้สูงอายุ โครงการเด็กไทยเฉลียวฉลาดประเทศชาติแข็งแรง การให้ยาต้านไวรัส HIV การทำสุหนัตแก่ชาวมุสลิม และโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเพิ่มเติม 3 โรค ได้แก่ โรคฮีโมฟีเลีย การผ่าตัดโรคหัวใจ และการผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่
2.2.15 การเร่งเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ (มาตรการที่ 23) งานด้าน Passenger Terminal Complex มีความคืบหน้ามากที่สุด คือ 111.15% จากทั้งหมด 112.84% ขณะที่งานด้าน Public Services Facilities มีความคืบหน้าน้อยสุด คือ 80.11% จาก 100% และได้มีการทดสอบระบบเทคนิคของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้วเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2548 โดยกำหนดเปิด Full Opening ประมาณกรกฎาคม 2549
2.2.16 เพิ่มงบประมาณในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและให้งบในการจัดสัมมนาของภาคราชการโดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ (มาตรการที่ 25) โดยโครงการพื้นฟูชายฝั่งทะเลอันดามันมีการดำเนินการทั้งสิ้น 6 โครงการ สำหรับโครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์หาดป่าตอง มีการจัดจ้างบริษัทก่อสร้างและปรับปรุงพื้นที่บางส่วนแล้ว ส่วนโครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์หาดกมลา อยู่ระหว่างเสนออนุมัติจ้าง
2.2.17 ส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น (มาตรการที่ 26) แปลงสภาพเป็นบริษัทจำกัดหรือมหาชนดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 1 แห่ง คือ บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) และ อยู่ระหว่างดำเนินการตาม พรบ. ทุนรัฐวิสาหกิจ (ในกรณีที่แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน) จำนวน 3 แห่ง คือ การประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ดำเนินการแล้วจำนวน 1 แห่ง คือ บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) และอยู่ระหว่างเตรียมการระดมทุนอีกจำนวน 3 แห่ง คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--
1. ผลของมาตรการต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ ผลการดำเนินมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2548 ได้ช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขึ้นในครึ่งหลังของปี โดยในไตรมาสที่สามเศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5.3 และมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 9 เดือนแรกร้อยละ 4.4 และสูงขึ้นจากร้อยละ 3.9 ในครึ่งปีแรก
1.1 การกระตุ้นการส่งออก โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร โดยผลของ มาตรการทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 15,230 ล้านบาท
1.2 การดูแลการนำเข้าและผลของการปรับราคาน้ำมันที่ลดการนำเข้าน้ำมันดิบ ทำให้ประหยัดการนำเข้าน้ำมัน และมีการชะลอการนำเข้าทองคำและเหล็ก ได้เป็นมูลค่ารวม 33,500 ล้านบาท
1.3 การเพิ่มรายได้แรงงาน ข้าราชการและเกษตรกร ทำให้มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากมาตรการประมาณ 18,641 ล้านบาท ประกอบด้วยการเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ 7,500 ล้านบาท รายได้เกษตรกร 8,877 ล้านบาท และรายได้แรงงานจากการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 2,084 ล้านบาท ซึ่งทำให้รายจ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคของภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 11,065 ล้านบาท
1.4 การดูแลราคาสินค้าและการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ซึ่งช่วยลดแรงกดดันของภาวะเงินเฟ้อและรักษากำลังซื้อของประชาชนได้ประมาณ 35,371 ล้านบาท
2. ความคืบหน้าการดำเนินการและติดตามผลของมาตรการเศรษฐกิจที่สำคัญ
2.1 มาตรการที่มีความสำคัญสูงและต้องติดตามเร่งรัดหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย
2.1.1 ปรับราคาน้ำมันดีเซลให้สะท้อนต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริง โดยรัฐบาลยังให้การสนับสนุนด้วยการลดภาษีสรรพสามิต (มาตรการที่ 1) ปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศลดลงโดยตลอด โดยอัตราการ ใช้พลังงานของประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม — พฤศจิกายน 2548 ลดลงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับปี 2547
2.1.2 ปรับเพิ่มฐานเงินเดือนข้าราชการขึ้นร้อยละ 5 โดยยังคงเงินค่าส่วนเพิ่มที่รัฐบาลได้ปรับเพิ่มให้ก่อนหน้านี้แล้ว และรวมถึงการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการบำนาญร้อยละ 5 (มาตรการที่ 2) พ.ร.ฎ. การปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการฉบับที่ 2 พ.ศ. 2548 และระเบียบกระทรวงการคลังขว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2548 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548
2.1.3 เพิ่มรายได้จากสินค้าเกษตร โดยการขยายตลาดต่างประเทศและส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ (มาตรการที่ 4) ในช่วง 12 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค. — 14 ธ.ค.) ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 6.93 ล้านตัน ราคาส่งออกได้ปรับตัวสูงขึ้นมาที่เฉลี่ย 311 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 15.52 ทั้งมูลค่าและปริมาณจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนยางพาราและกุ้งมีมูลค่าส่งออกในช่วง 10 เดือนแรก เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.62 และ 9.84 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
2.1.4 เร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง เพื่อให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี 2548 สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 20 (มาตรการที่ 5)
1) การส่งออก ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค. — พ.ย.) มีมูลค่า 101,437 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.2 เป็นการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 16.1 ขณะที่สินค้าเกษตรกรรม/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 โดยกระทรวงพาณิชย์ได้เร่งดำเนินมาตรการดังกล่าวในเชิงรุกทั้งตลาดหลักและตลาดใหม่ ส่งผลให้การส่งออกเดือนพฤศจิกายน 2548 มีมูลค่า 9,841.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร คิดเป็นร้อยละ 15.40 และ 6.9 ตามลำดับ สำหรับสินค้าเกษตรที่ส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงคือ ยางพารา และมันสำปะหลัง ซึ่งส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.3 และ 30.6 ตามลำดับ
2) การนำเข้า 11 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค. — พ.ย.) มูลค่า108,634.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.5 เป็นการขยายตัวของการนำเข้าทุกหมวดที่สำคัญ โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าทุน และเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.2, 25.6 และ 16.6 ตามลำดับ โดยปริมาณการนำเข้าในเดือนพฤศจิกายน 2548 ของไทยมีมูลค่า 9,786.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.28
2.1.5 ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งต้นทางและปลายทาง (มาตรการที่ 6) ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 2548 ลงลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบปี 2548 โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายนลดลง คือ ผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และผลจากการลดลงของราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหารและหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารมีราคาลดลง ได้แก่ ไก่สด ไข่ ผักสด และผลไม้
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 11 เดือน ของปี 2548 สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.4 และคาดว่าอัตราเฉลี่ยของทั้งปี 2548 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.5
2.1.6 ดูแลระดับการเก็บสต็อกสินค้า โดยจัดระบบการรายงานสินค้าที่เก็บในสต็อกให้เหมาะสมกับระดับการผลิตและการบริโภค (มาตรการที่ 7) ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2548 มีการนำเข้าสินค้าเหล็กปริมาณ 14.35 ล้านตัน มูลค่า 8,471.37 ล้านดอลลาร์ สรอ. การนำเข้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบมูลค่า6,683.06 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 26.0 ส่วนสินค้าอุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่านำเข้าในเดือนพฤศจิกายน 799 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนของปีก่อนร้อยละ 19.6 สำหรับทองคำมีการนำเข้าเดือนพฤศจิกายน 2548 ปริมาณการนำเข้า 9.0 ตัน มีมูลค่าการนำเข้า 124 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.4 โดยคาดว่าจะมีการนำเข้าต่ำกว่า12.0 ตัน ตามที่ผู้นำเข้าแจ้งไว้กับกระทรวงพาณิชย์
2.1.7 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ผูกพันไว้กับรัฐบาล (มาตรการที่ 8) ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 มีการเบิกจ่ายเงินในภาพรวมจำนวน 1,138,658.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.81 ของวงเงินงบประมาณ จำแนกเป็นรายจ่ายประจำ 914,942.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.82 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน จำนวน 223,716.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 71.2 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน
2.1.8 โครงการจัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (มาตรการที่ 11.2) ได้ดำเนินโครงการฯ ในระยะที่ 1 (15 ส.ค. — 14 ต.ค. 2548 : 75 จังหวัด 2,000 หมู่บ้าน/ศูนย์ : งบประมาณ 172.7 ล้านบาท) ได้มีการซ่อมเครื่องมือ/เครื่องจักรแล้ว 150,519 รายการ โดยสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายภาคประชาชนได้ 160.90 ล้านบาท ช่วยประหยัดเงินตราของประเทศได้ระดับหนึ่ง ส่วนโครงการในระยะที่ 2 นั้น จะมีการดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ๆ ละ10,000 หมู่บ้าน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
2.1.9 เร่งรัดงบ SML โดยให้หมู่บ้านละ 200,000 — 300,000 บาท (มาตรการที่ 16)
2.1.10 สนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV โดยให้เพิ่มสถานีบริการ NGV ให้มากขึ้นควบคู่กับสนับสนุนการปรับระบบเครื่องยนต์เป็น NGV แก่รถและเรือประมง รวมถึงสนับสนุนการใช้แก๊สโซฮอล์และ ไบโอดีเซล (มาตรการที่ 19.1)
2.1.11 เร่งรัดโครงการที่อยู่อาศัย (มาตรการที่ 24)
1) โครงการบ้านเอื้ออาทรอยู่ระหว่างการดำเนินงาน 265,186 หน่วย โดยมีสัญญาแล้ว 166,428 หน่วย (อยู่ระหว่างส่งมอบและเตรียมส่งมอบให้กับผู้ได้สิทธิ์ 13,396 หน่วย อยู่ระหว่างก่อสร้าง 134,710 หน่วย อยู่ระหว่างรอส่งมอบสถานที่ 18,322 หน่วย) และยังอยู่ระหว่างการดำเนินงาน 98,758 หน่วย (โครงการที่รอลงนามในสัญญา 11,287 หน่วย และอยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกโครงการ 87,471 หน่วย) พร้อมทั้งได้เบิกจ่ายงบประมาณแล้ว จำนวน 9,481.755 ล้านบาท
2) โครงการบ้านมั่นคง ณ เดือนพฤศจิกายน 2548 ดำเนินโครงการแล้วใน 53 จังหวัด 108 เมือง/เขต 311 โครงการ 422 ชุมชน รวม 29,942 ครัวเรือน และเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผ่อนปรนกฎระเบียบข้อบังคับให้เอื้อต่อโครงการฯ
3) โครงการบ้านร่วมใจ (บ้าน Knock Down) เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และการเคหะแห่งชาติได้ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยได้หารือร่วมกัน และมอบให้สถาบันเหล็กฯ คำนวณต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ กคช. มีความเห็นว่าควรจะนำรายละเอียดการก่อสร้างที่บริษัทเอเชีย-เทรด.เนตนำมาใช้กับโครงการบ้านเอื้ออาทรและบ้านไทยร่วมใจ
2.2 มาตรการที่มีลักษณะเป็นการดำเนินงานประจำของหน่วยงาน การปรับปรุงกฎระเบียบ หลักเกณฑ์การทำงาน ประกอบด้วย
2.2.1 สนับสนุนให้ภาคเอกชนปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้าง รวมทั้งพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับทักษะฝีมือ (มาตรการที่ 3)กระทรวงแรงงานได้ออกประกาศกระทรวง เรื่องการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับแรงงานไร้ฝีมือ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างบังคับใช้ ตามฉบับที่ 5 ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 และจะมีการบังคับใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่อีกครั้ง ตามฉบับที่ 6 ในวันที่ 1 มกราคม 2549 สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานฝีมือใน 30 สาขาอาชีพ คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 โดยอยู่ระหว่างจัดทำประกาศกระทรวงฯ
2.2.2 การใช้หลักฐานค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) มาค้ำประกันการส่ง มอบงานของผู้รับเหมา (มาตรการที่ 9) กรมบัญชีกลางได้ติดตามผลกรณีการจ่ายเงินก่อนมีการตรวจรับทรัพย์สินหรือตรวจรับงานซึ่งมีส่วนราชการในส่วนกลางจำนวน 7 แห่ง ในภูมิภาคจำนวน 16 แห่ง เป็นเงินทั้งสิ้น 482.27 ล้านบาท
2.2.3 อนุญาตให้ภาคธุรกิจสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงานหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล จากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า (มาตรการที่ 10) ได้ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2548 มีสถานประกอบกิจการ/หน่วยงานร่วมเป็นเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงานโดยยื่นขอรับรองหลักสูตรและอนุมัติค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแล้วจำนวน 2,304 แห่ง ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย (650 แห่ง) และสถานประกอบการอยู่ระหว่างกำลังดำเนินการจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
2.2.4 ปรับปรุงงบประมาณผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (มาตรการที่ 11.1) ได้ดำเนินโครงการตามมาตรการฯ แล้ว จำนวน 1,304 โครงการ ในวงเงินงบประมาณ 2,029,667,053 บาท เพื่อสร้างกิจกรรมและสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น เช่น ปรับปรุงถนนในชนบท ปรับปรุงดูแลสิ่งแวดล้อม สถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้านและสุขอนามัยสาธารณะ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างสาธารณูปโภคที่ใช้แรงงานและวัสดุในท้องถิ่น
2.2.5 จัดระบบประชาสัมพันธ์และชี้แจงสาธารณะ (มาตรการที่ 12) มีการประชาสัมพันธ์เนื้อหา มาตรการเศรษฐกิจทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ในหัวข้อสำคัญ ๆ อย่างต่อเนื่องอาทิ สารคดีชุด “SML ก้าวย่างสู่ชุมชน” ชุดภาษาไทย 30 ตอนผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และชุดภาษา ยาวี 30 ตอนผ่านสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2.2.6 ศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ประชาชน การกระตุ้นให้เกิดการขยายการลงทุนในภาคธุรกิจ และการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ในระยะยาว (มาตรการที่ 13) อยู่ในขั้นตอนการให้ลูกหนี้ที่เข้าข่ายตามประกาศกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2548 แสดงความจำนงเพื่อขอชำระหนี้ตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน โดยกำหนดให้เริ่มแสดงความจำนงตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จนถึงพฤษภาคม 2549 และ ยื่นชำระเงินได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 — 30 มิถุนายน 2549
2.2.7 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพพิเศษ (มาตรการที่ 14) พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 438 พ.ศ. 2548 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2548 และมีผู้ประกอบการมายื่นความจำนงโดยผ่านทาง internet จำนวน 24 ราย และผ่านทางเอกสารกับกรมสรรพากร จำนวน 2 ราย
2.2.8 ขยายการให้เบี้ยยังชีพคนชราผู้ยากไร้ 300 บาท/คน/เดือน ให้ครบทุกคน (จาก 530,000 คน เป็น 1.07 ล้านคน) (มาตรการที่ 15) กระทรวงมหาดไทยได้จัดสรรงบประมาณเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจำนวน 3,863.484 ล้านบาท ลงสู่จังหวัด เพื่อเบิกจ่ายให้ผู้สูงอายุ 1.07 ล้านคนแล้ว นอกจากนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ยังใช้กลไกคณะติดตามเร่งรัดมาตรการขยายการให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุยากไร้เพื่อเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
2.2.9 เพิ่มงบประมาณในการจัดทำกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพของอาสาสมัคร สาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ทุกหมู่บ้าน จาก 7,500 บาท เป็น 10,000 บาท (มาตรการที่ 17) โดยจัดสรรงบประมาณแก่ชุมชน/หมู่บ้านให้ครบ 85,800 แห่ง ซึ่งขณะนี้จัดสรรไปแล้ว 82,292 แห่ง (มากกว่า 95%)
2.2.10 ส่งเสริม OTOP ด้านการผลิตและการตลาดผ่านกิจกรรมและนิทรรศการต่าง ๆ (มาตรการที่ 18) ด้านการผลิตและการตลาดผ่านกิจกรรมและนิทรรศการต่าง ๆ (มาตรการที่ 18) รายได้จากการจำหน่ายสินค้า OTOP 9 เดือนแรก มียอดจำหน่ายสินค้า OTOP ทั้งภายในและตลาดต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 55,104.8 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 110.2 เมื่อเทียบกับเป้าหมาย 50,000 ล้านบาทในปี 2548
ในเดือนตุลาคม 2548 มียอดจำหน่ายรวม 3,971 ล้านบาท (คิดเป็น 6.11% ของเป้าหมาย 65,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2549
2.2.11 การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Model Shift) (มาตรการที่ 19.2) โครงการส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการดำเนินการ อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาแนวทางการดำเนินงานและขออนุมัติงบประมาณ
2.2.12 เร่งรัดการเริ่มดำเนินการทุนการศึกษา 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 2 (มาตรการที่ 20)มีผู้สมัครขอรับทุนจากทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอทั่วประเทศ (ณ วันที่ 19 ธ.ค. 48) จำนวน 3,778 คน จาก 173 เขตพื้นที่การศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการได้ขยายเวลาการรับสมัครออกไปจนถึงวันที่ 16 มกราคม 2549 พร้อมทั้งปรับกำหนดการดำเนินการในกระบวนการคัดเลือกเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณในกระบวนการคัดเลือกแล้ว ซึ่ง สศช. จะได้นำเสนอคณะกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์ฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ และดำเนินการเบิกจ่ายต่อไป
2.2.13 เร่งรัดทุน ICL (มาตรการที่ 21) อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบการดำเนินงานการเงินการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเทคโนโลยีเพื่อรองรับการดำเนินงาน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปและนักเรียน/นักศึกษาได้รับทราบ
2.2.14 เร่งรัดการเริ่มดำเนินการขยายบริการโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคให้ครอบคลุมมากขึ้น (มาตรการที่ 22) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ขยายการบริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปีงบประมาณ 2548 — 2549 รวม 8 รายการ ได้แก่ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การตรวจสุขภาพและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็ก การตรวจประเมินความพิการเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ การตรวจสุขภาพช่องปากและทำฟันเทียมให้ผู้สูงอายุ โครงการเด็กไทยเฉลียวฉลาดประเทศชาติแข็งแรง การให้ยาต้านไวรัส HIV การทำสุหนัตแก่ชาวมุสลิม และโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงเพิ่มเติม 3 โรค ได้แก่ โรคฮีโมฟีเลีย การผ่าตัดโรคหัวใจ และการผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่
2.2.15 การเร่งเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ (มาตรการที่ 23) งานด้าน Passenger Terminal Complex มีความคืบหน้ามากที่สุด คือ 111.15% จากทั้งหมด 112.84% ขณะที่งานด้าน Public Services Facilities มีความคืบหน้าน้อยสุด คือ 80.11% จาก 100% และได้มีการทดสอบระบบเทคนิคของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้วเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2548 โดยกำหนดเปิด Full Opening ประมาณกรกฎาคม 2549
2.2.16 เพิ่มงบประมาณในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและให้งบในการจัดสัมมนาของภาคราชการโดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ (มาตรการที่ 25) โดยโครงการพื้นฟูชายฝั่งทะเลอันดามันมีการดำเนินการทั้งสิ้น 6 โครงการ สำหรับโครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์หาดป่าตอง มีการจัดจ้างบริษัทก่อสร้างและปรับปรุงพื้นที่บางส่วนแล้ว ส่วนโครงการฟื้นฟูภูมิทัศน์หาดกมลา อยู่ระหว่างเสนออนุมัติจ้าง
2.2.17 ส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น (มาตรการที่ 26) แปลงสภาพเป็นบริษัทจำกัดหรือมหาชนดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 1 แห่ง คือ บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) และ อยู่ระหว่างดำเนินการตาม พรบ. ทุนรัฐวิสาหกิจ (ในกรณีที่แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน) จำนวน 3 แห่ง คือ การประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ดำเนินการแล้วจำนวน 1 แห่ง คือ บริษัท อสมท จำกัด(มหาชน) และอยู่ระหว่างเตรียมการระดมทุนอีกจำนวน 3 แห่ง คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--