คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอว่า โดยที่ร่างพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ได้ค้างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (11 มีนาคม 2551) จึงมีผลให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นอันตกไปตามมาตรา 153 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2522 ยังมีหลักการและรายละเอียดบางประการรวมทั้งบทกำหนดโทษที่ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวลักลอบหนีเข้าเมืองเป็นจำนวนมาก และยังไม่มีมาตรการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองรวมถึงกระบวนการนำพา หรือนำเข้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ได้ผลอย่างแท้จริง ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรดำเนินการร่างพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีดังนี้
1. แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรี” “อธิบดีหรืออธิบดีกรมตำรวจ” “ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมือง” และ “กองตรวจคนเข้าเมือง” เป็น “นายกรัฐมนตรี” “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” “ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง” และ “สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง” ตามลำดับทุกแห่ง (ร่างมาตรา 4)
2. กำหนดให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5)
3. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองและแก้ไขชื่อตำแหน่งกรรมการต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน (ร่างมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6)
4. แก้ไขเพิ่มเติมวิธีการแจ้งการเพิกถอนการอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักร โดยทางไปรษณีย์ตอบรับอีกวิธีการหนึ่ง (ร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 36)
5. ปรับปรุงอัตราโทษเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม (ร่างมาตรา 7 และร่างมาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 61 ถึงมาตรา 82)
6. กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำความผิดหรือกระทำการอันเกี่ยวเนื่องกับความผิดตามมาตรา 63 และมาตรา 64 ต้องรับโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้ (ร่างมาตรา 8 เพิ่มมาตรา 64/1)
7. แก้ไขเพิ่มเติมชื่อตำแหน่งคณะกรรมการเปรียบเทียบให้เป็นปัจจุบัน (ร่างมาตรา 10 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 84)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2551--จบ--
สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอว่า โดยที่ร่างพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ได้ค้างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (11 มีนาคม 2551) จึงมีผลให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นอันตกไปตามมาตรา 153 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2522 ยังมีหลักการและรายละเอียดบางประการรวมทั้งบทกำหนดโทษที่ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวลักลอบหนีเข้าเมืองเป็นจำนวนมาก และยังไม่มีมาตรการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองรวมถึงกระบวนการนำพา หรือนำเข้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ได้ผลอย่างแท้จริง ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรดำเนินการร่างพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วต่อไป จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีดังนี้
1. แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรี” “อธิบดีหรืออธิบดีกรมตำรวจ” “ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมือง” และ “กองตรวจคนเข้าเมือง” เป็น “นายกรัฐมนตรี” “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” “ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง” และ “สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง” ตามลำดับทุกแห่ง (ร่างมาตรา 4)
2. กำหนดให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (ร่างมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5)
3. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองและแก้ไขชื่อตำแหน่งกรรมการต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน (ร่างมาตรา 5 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6)
4. แก้ไขเพิ่มเติมวิธีการแจ้งการเพิกถอนการอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักร โดยทางไปรษณีย์ตอบรับอีกวิธีการหนึ่ง (ร่างมาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 36)
5. ปรับปรุงอัตราโทษเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม (ร่างมาตรา 7 และร่างมาตรา 9 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 61 ถึงมาตรา 82)
6. กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำความผิดหรือกระทำการอันเกี่ยวเนื่องกับความผิดตามมาตรา 63 และมาตรา 64 ต้องรับโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้ (ร่างมาตรา 8 เพิ่มมาตรา 64/1)
7. แก้ไขเพิ่มเติมชื่อตำแหน่งคณะกรรมการเปรียบเทียบให้เป็นปัจจุบัน (ร่างมาตรา 10 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 84)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2551--จบ--