แท็ก
ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
กระทรวงการคลัง
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นประธาน ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการฯ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงการคลังเสนอว่า ในปัจจุบันมีการปรับปรุงเปลี่ยนรูปแบบขององค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณะจากรูปแบบของส่วนราชการไปเป็นองค์กรรูปแบบอื่น เช่น องค์การมหาชน หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้อำนาจหน้าที่ในการดูแลค่าตอบแทนดังกล่าวของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) ครอบคลุมไปไม่ถึงองค์กรรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ จึงทำให้ค่าตอบแทนขององค์กรที่เป็นส่วนราชการและองค์กรรูปแบบอื่นมีความเหลื่อมล้ำกัน ขาดความเป็นมาตรฐาน ไม่มีความเหมาะสมและไม่มีความเป็นธรรม สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า “หน่วยงานภาครัฐ” “บุคลากรภาครัฐ” และ “ค่าตอบแทนภาครัฐ” (ร่างมาตรา 3)
2. ปรับปรุงองค์ประกอบของ กงช. ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดให้อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการ ประเภทต่าง ๆ เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติข้าราชการประเภทนั้น ๆ (ร่างมาตรา 6 — 7)
4. กำหนดให้ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรปรับเงินเดือนขั้นต่ำ ขั้นสูง ของข้าราชการทุกประเภทเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินเดือนเดิมให้ทำได้ โดยการตราพระราชกฤษฎีกา (ร่างมาตรา 8)
5. กำหนดให้ข้าราชการประเภทต่าง ๆ สามารถใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่แนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538 ไปพลางก่อนได้จนกว่าจะได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติของข้าราชการประเภทนั้น ๆ (ร่างมาตรา 9)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2551--จบ--
กระทรวงการคลังเสนอว่า ในปัจจุบันมีการปรับปรุงเปลี่ยนรูปแบบขององค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการสาธารณะจากรูปแบบของส่วนราชการไปเป็นองค์กรรูปแบบอื่น เช่น องค์การมหาชน หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้อำนาจหน้าที่ในการดูแลค่าตอบแทนดังกล่าวของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) ครอบคลุมไปไม่ถึงองค์กรรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ จึงทำให้ค่าตอบแทนขององค์กรที่เป็นส่วนราชการและองค์กรรูปแบบอื่นมีความเหลื่อมล้ำกัน ขาดความเป็นมาตรฐาน ไม่มีความเหมาะสมและไม่มีความเป็นธรรม สมควรแก้ไขพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างกฎหมายมีดังนี้
1. กำหนดนิยามคำว่า “หน่วยงานภาครัฐ” “บุคลากรภาครัฐ” และ “ค่าตอบแทนภาครัฐ” (ร่างมาตรา 3)
2. ปรับปรุงองค์ประกอบของ กงช. ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น (ร่างมาตรา 4)
3. กำหนดให้อัตราเงินเดือนและอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการ ประเภทต่าง ๆ เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติข้าราชการประเภทนั้น ๆ (ร่างมาตรา 6 — 7)
4. กำหนดให้ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรปรับเงินเดือนขั้นต่ำ ขั้นสูง ของข้าราชการทุกประเภทเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินเดือนเดิมให้ทำได้ โดยการตราพระราชกฤษฎีกา (ร่างมาตรา 8)
5. กำหนดให้ข้าราชการประเภทต่าง ๆ สามารถใช้บัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่แนบท้ายพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538 ไปพลางก่อนได้จนกว่าจะได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติของข้าราชการประเภทนั้น ๆ (ร่างมาตรา 9)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2551--จบ--