แท็ก
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พระบรมราชินีนาถ
จังหวัดอ่างทอง
คณะรัฐมนตรี
พระราชดำริ
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสรุปการจัดงานอัญเชิญแม่โพสพคืนนาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2551 ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านยางกลาง ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลพระชนม์พรรษาครบ 76 พรรษา รวมทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ สรุปดังนี้
1. หลักการและเหตุผล
ประเพณีสู่ขวัญข้าว นับเป็นพิธีกรรมในการเรียกขวัญข้าวหลังจากเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการขอขมาและขอบคุณแม่โพสพ หรือเทพีแห่งข้าว และยังเป็นพิธีที่เชื่อกันว่าจะทำให้ข้าวไม่หายและหมดไปจากยุ้งฉางเร็วอีกด้วย วันที่ ทำพิธีโดยปกติถือเอาวันที่ขนข้าวขึ้นยุ้งเสร็จแล้ว หากไม่ทันก็อาจทำในวันรุ่งขึ้นก็ได้ การเรียกขวัญข้าวนั้นอาจทำได้ทั้งแบบเรียบง่ายและแบบสมบูรณ์ โดยขึ้นกับความนิยมในท้องถิ่น หรือความพร้อมของเจ้าของนา หากทำพิธีแบบสมบูรณ์แล้วก็จะมีเครื่องบูชามากมาย โดยทั่วไปเครื่องพิธีจะมีไก่และเหล้า และเครื่องใช้ของผู้หญิง เช่น กระจก หวี แป้ง นำเครื่องพิธีดังกล่าวไปวางไว้ที่แท่นพิธีบริเวณที่เคยทำพิธีแรกนาแล้วกล่าวคำบูชาที่เป็นความหมายขอบคุณแก่แม่โพสพที่ช่วยให้ได้ผลผลิตเป็นข้าวมากมาย ถ้าเป็นพิธีใหญ่ส่วนมากเจ้าของนาจะกล่าวคำบูชาด้วยตนเองไม่ได้ จึงต้องขออาจารย์ประจำหมู่บ้านเป็นผู้กล่าวให้
การจัดงานอัญเชิญแม่โพสพคืนนาเฉลิมพระเกียรติฯ ในครั้งนี้เป็นการจัดเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2551 เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระเมตตาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงงานเกี่ยวข้องกับข้าว และชาวนามาโดยตลอด รวมทั้งเพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวนาทั้งประเทศ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อข้าวและชาวนาไทย เนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนม์พรรษาครบ 76 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2551
2.2 เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวนาไทย และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมประเพณีด้านข้าว ตลอดจนภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่เกี่ยวกับข้าว
2.3 เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกร และประชาชนทั่วไป มีความรู้และเข้าใจแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและ ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
3. สถานที่จัดงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดจัดงานอัญเชิญแม่โพสพคืนนาเฉลิมพระเกียรติฯ ในวันที่ 9 สิงหาคม 2551 ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านยางกลาง ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง
4. กิจกรรมการดำเนินงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ และคณะทำงานจัดงานอัญเชิญแม่โพสพคืนนาเฉลิมพระเกียรติฯ ขึ้น ซึ่งครอบคลุมหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงาน เพื่อให้การจัดงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และตามที่ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีการจัดงานอัญเชิญแม่โพสพคืนนาเฉลิมพระเกียรติฯ นั้น บัดนี้ สำนักราชเลขาธิการได้แจ้งให้ทราบว่าพระองค์จะเสด็จเป็นองค์ประธานการจัดงานในวันที่ 9 สิงหาคม 2551 โดยภายในงานจะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
(1) กิจกรรมการจัดนิทรรศการ
- นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่องานด้านข้าว และชาวนาไทย
- นิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ ที่มีกิจกรรมอยู่ในฟาร์มตัวอย่าง ฯ รวม 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง และกรมการข้าว โดยนำมาจัดรวมกันเป็นภาพรวมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้าว จัดบริเวณกองอำนวยการ
- นิทรรศการวัฒนธรรมประเพณีข้าวไทย 4 ภาค จัดแสดงในบริเวณแปลงนา
- นิทรรศการเรื่องข้าวของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมชาวนาไทย สมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- นิทรรศการของจริงในพื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานต่าง ๆ ของ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมีการสาธิตกิจกรรมของแต่ละหน่วยงาน พร้อมจัดนิทรรศการประกอบ โดยมีการจัดวิทยากรประจำจุดสาธิต เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับชาวนาที่มาเยี่ยมชม
(2) กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีข้าว เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว 4 ภาค โดยจัดเป็นพิธี จริงๆ ไม่ใช่การสาธิต เพื่อให้เห็นถึงจิตวิญญาณที่แท้จริง โดยแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแบ่งเป็น 5 ช่วง ตามระยะเวลาการปลูกข้าว ดังนี้
- ช่วงที่ 1 ช่วงก่อนปลูกข้าว นำเสนอพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการอ้อนวอน หรือเสี่ยงทาย เช่น พิธีเลี้ยงผีขุนน้ำ ของภาคเหนือ และพิธีเลี้ยงผีปู่ตา ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ช่วงที่ 2 ช่วงปลูกข้าว นำเสนอบูชาแม่ธรณี และพิธีแรกนาหรือแรกไถนา
- ช่วงที่ 3 การบำรุงรักษา จะนำเสนอวิธีบูชาแม่โพสพ จะจัดเป็นพิธีใหญ่ทั้ง 4 ภาค โดยจัดทำพิธีจริง และกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงร่วมประกอบพิธี และทอดพระเนตร ซึ่งชาวนาที่จะร่วมประกอบพิธีประกอบด้วย ภาคเหนือจากจังหวัดพะเยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากจังหวัดมหาสารคาม ภาคกลางจากจังหวัดกาญจนบุรี และภาคใต้จากจังหวัดพัทลุงและสงขลา
- ช่วงที่ 4 ช่วงเก็บเกี่ยว และช่วงที่ 5 จะประกอบพิธีไปพร้อมๆ กันบนลานวัฒนธรรม คือ พิธีการเก็บเกี่ยว นวด และการทำพิธีขวัญข้าวขึ้นยุ้ง นำเสนอพิธีบุญกองข้าวเปลือก
ในส่วนของลานวัฒนธรรม จะมีการแสดงพื้นบ้านของชาวนา ซึ่งแสดงวัฒนธรรมได้รับการสนับสนุนจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยประสานกับวิทยาลัยนาฎศิลป์อ่างทอง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง และเกษตรกรในพื้นที่
(3) กิจกรรมการจัดเวทีชาวนา เป็นเวทีเสวนาในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวนาจำนวน 4 เวที โดย 2 เวทีจัดในช่วงเช้า และอีก 2 เวทีจัดในช่วงบ่าย ซึ่งแต่ละเวทีจะมีการแสดงความคิดเห็นในแต่ละประเด็น มีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเวทีละ 20 — 30 คน จากทั้ง 4 ภาค
(4) กิจกรรมทัศนศึกษาดูงาน
จัดนำเกษตรกรชาวนา จำนวนประมาณ 2,500 คน จาก 3 จังหวัด คือ จังหวัดอ่างทอง 1,500 คน จังหวัดสุพรรณบุรี 500 คน และจังหวัดสิงห์บุรี 500 คน เดินทางมาทัศนศึกษาดูงานการสาธิตของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ โดยมีวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับชาวนาประจำจุดสาธิต และเยี่ยมชมงานอัญเชิญแม่โพสพคืนนาเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพทำนา พร้อมทั้งร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในจำนวนนี้มีผู้แทนชาวนาจากทั้ง 4 ภาค รวมด้วย ในส่วนของศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จะมีตัวแทนคณะกรรมการฯ ในระดับเขตทั้ง 6 เขต เข้าร่วมงาน เพื่อรับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ข้าวจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถด้วย
(5) การจัดสร้างองค์จำลองแม่โพสพ ขนาด 5 x 6 นิ้ว จำนวน 500 องค์ มอบให้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อนำไปเป็นสิริมงคล เป็นขวัญกำลังใจให้แก่ชาวนาของแต่ละจังหวัด และเป็นของที่ระลึกอันเป็นสิริมงคลแก่แขกผู้มีเกียรติ โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานองค์จำลองแม่โพสพแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมการข้าว และแขกผู้มีเกียรติอื่นๆ
(6) กิจกรรมการประชาสัมพันธ์
- การจัดแถลงข่าวการจัดงาน ในวันที่ 5 สิงหาคม 2551 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม 134 — 135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- การผลิตและเผยแพร่สปอตโทรทัศน์ และสปอตวิทยุ
- การผลิตและเผยแพร่สารคดีโทรทัศน์
- การผลิตและเผยแพร่สื่อหนังสือพิมพ์
- การจัดถ่ายทอดสดพิธีเปิดงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2551--จบ--
1. หลักการและเหตุผล
ประเพณีสู่ขวัญข้าว นับเป็นพิธีกรรมในการเรียกขวัญข้าวหลังจากเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการขอขมาและขอบคุณแม่โพสพ หรือเทพีแห่งข้าว และยังเป็นพิธีที่เชื่อกันว่าจะทำให้ข้าวไม่หายและหมดไปจากยุ้งฉางเร็วอีกด้วย วันที่ ทำพิธีโดยปกติถือเอาวันที่ขนข้าวขึ้นยุ้งเสร็จแล้ว หากไม่ทันก็อาจทำในวันรุ่งขึ้นก็ได้ การเรียกขวัญข้าวนั้นอาจทำได้ทั้งแบบเรียบง่ายและแบบสมบูรณ์ โดยขึ้นกับความนิยมในท้องถิ่น หรือความพร้อมของเจ้าของนา หากทำพิธีแบบสมบูรณ์แล้วก็จะมีเครื่องบูชามากมาย โดยทั่วไปเครื่องพิธีจะมีไก่และเหล้า และเครื่องใช้ของผู้หญิง เช่น กระจก หวี แป้ง นำเครื่องพิธีดังกล่าวไปวางไว้ที่แท่นพิธีบริเวณที่เคยทำพิธีแรกนาแล้วกล่าวคำบูชาที่เป็นความหมายขอบคุณแก่แม่โพสพที่ช่วยให้ได้ผลผลิตเป็นข้าวมากมาย ถ้าเป็นพิธีใหญ่ส่วนมากเจ้าของนาจะกล่าวคำบูชาด้วยตนเองไม่ได้ จึงต้องขออาจารย์ประจำหมู่บ้านเป็นผู้กล่าวให้
การจัดงานอัญเชิญแม่โพสพคืนนาเฉลิมพระเกียรติฯ ในครั้งนี้เป็นการจัดเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2551 เพื่อเป็นการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระเมตตาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงงานเกี่ยวข้องกับข้าว และชาวนามาโดยตลอด รวมทั้งเพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวนาทั้งประเทศ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อข้าวและชาวนาไทย เนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนม์พรรษาครบ 76 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2551
2.2 เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ชาวนาไทย และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมประเพณีด้านข้าว ตลอดจนภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่เกี่ยวกับข้าว
2.3 เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกร และประชาชนทั่วไป มีความรู้และเข้าใจแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและ ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
3. สถานที่จัดงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดจัดงานอัญเชิญแม่โพสพคืนนาเฉลิมพระเกียรติฯ ในวันที่ 9 สิงหาคม 2551 ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านยางกลาง ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง
4. กิจกรรมการดำเนินงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ และคณะทำงานจัดงานอัญเชิญแม่โพสพคืนนาเฉลิมพระเกียรติฯ ขึ้น ซึ่งครอบคลุมหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงาน เพื่อให้การจัดงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และตามที่ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีการจัดงานอัญเชิญแม่โพสพคืนนาเฉลิมพระเกียรติฯ นั้น บัดนี้ สำนักราชเลขาธิการได้แจ้งให้ทราบว่าพระองค์จะเสด็จเป็นองค์ประธานการจัดงานในวันที่ 9 สิงหาคม 2551 โดยภายในงานจะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
(1) กิจกรรมการจัดนิทรรศการ
- นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่องานด้านข้าว และชาวนาไทย
- นิทรรศการของหน่วยงานต่างๆ ที่มีกิจกรรมอยู่ในฟาร์มตัวอย่าง ฯ รวม 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง และกรมการข้าว โดยนำมาจัดรวมกันเป็นภาพรวมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้าว จัดบริเวณกองอำนวยการ
- นิทรรศการวัฒนธรรมประเพณีข้าวไทย 4 ภาค จัดแสดงในบริเวณแปลงนา
- นิทรรศการเรื่องข้าวของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น สมาคมชาวนาไทย สมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- นิทรรศการของจริงในพื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานต่าง ๆ ของ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมีการสาธิตกิจกรรมของแต่ละหน่วยงาน พร้อมจัดนิทรรศการประกอบ โดยมีการจัดวิทยากรประจำจุดสาธิต เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับชาวนาที่มาเยี่ยมชม
(2) กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมประเพณีข้าว เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว 4 ภาค โดยจัดเป็นพิธี จริงๆ ไม่ใช่การสาธิต เพื่อให้เห็นถึงจิตวิญญาณที่แท้จริง โดยแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแบ่งเป็น 5 ช่วง ตามระยะเวลาการปลูกข้าว ดังนี้
- ช่วงที่ 1 ช่วงก่อนปลูกข้าว นำเสนอพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการอ้อนวอน หรือเสี่ยงทาย เช่น พิธีเลี้ยงผีขุนน้ำ ของภาคเหนือ และพิธีเลี้ยงผีปู่ตา ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ช่วงที่ 2 ช่วงปลูกข้าว นำเสนอบูชาแม่ธรณี และพิธีแรกนาหรือแรกไถนา
- ช่วงที่ 3 การบำรุงรักษา จะนำเสนอวิธีบูชาแม่โพสพ จะจัดเป็นพิธีใหญ่ทั้ง 4 ภาค โดยจัดทำพิธีจริง และกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงร่วมประกอบพิธี และทอดพระเนตร ซึ่งชาวนาที่จะร่วมประกอบพิธีประกอบด้วย ภาคเหนือจากจังหวัดพะเยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากจังหวัดมหาสารคาม ภาคกลางจากจังหวัดกาญจนบุรี และภาคใต้จากจังหวัดพัทลุงและสงขลา
- ช่วงที่ 4 ช่วงเก็บเกี่ยว และช่วงที่ 5 จะประกอบพิธีไปพร้อมๆ กันบนลานวัฒนธรรม คือ พิธีการเก็บเกี่ยว นวด และการทำพิธีขวัญข้าวขึ้นยุ้ง นำเสนอพิธีบุญกองข้าวเปลือก
ในส่วนของลานวัฒนธรรม จะมีการแสดงพื้นบ้านของชาวนา ซึ่งแสดงวัฒนธรรมได้รับการสนับสนุนจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ โดยประสานกับวิทยาลัยนาฎศิลป์อ่างทอง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง และเกษตรกรในพื้นที่
(3) กิจกรรมการจัดเวทีชาวนา เป็นเวทีเสวนาในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวนาจำนวน 4 เวที โดย 2 เวทีจัดในช่วงเช้า และอีก 2 เวทีจัดในช่วงบ่าย ซึ่งแต่ละเวทีจะมีการแสดงความคิดเห็นในแต่ละประเด็น มีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเวทีละ 20 — 30 คน จากทั้ง 4 ภาค
(4) กิจกรรมทัศนศึกษาดูงาน
จัดนำเกษตรกรชาวนา จำนวนประมาณ 2,500 คน จาก 3 จังหวัด คือ จังหวัดอ่างทอง 1,500 คน จังหวัดสุพรรณบุรี 500 คน และจังหวัดสิงห์บุรี 500 คน เดินทางมาทัศนศึกษาดูงานการสาธิตของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ โดยมีวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับชาวนาประจำจุดสาธิต และเยี่ยมชมงานอัญเชิญแม่โพสพคืนนาเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพทำนา พร้อมทั้งร่วมรับเสด็จ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในจำนวนนี้มีผู้แทนชาวนาจากทั้ง 4 ภาค รวมด้วย ในส่วนของศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จะมีตัวแทนคณะกรรมการฯ ในระดับเขตทั้ง 6 เขต เข้าร่วมงาน เพื่อรับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ข้าวจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถด้วย
(5) การจัดสร้างองค์จำลองแม่โพสพ ขนาด 5 x 6 นิ้ว จำนวน 500 องค์ มอบให้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อนำไปเป็นสิริมงคล เป็นขวัญกำลังใจให้แก่ชาวนาของแต่ละจังหวัด และเป็นของที่ระลึกอันเป็นสิริมงคลแก่แขกผู้มีเกียรติ โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานองค์จำลองแม่โพสพแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมการข้าว และแขกผู้มีเกียรติอื่นๆ
(6) กิจกรรมการประชาสัมพันธ์
- การจัดแถลงข่าวการจัดงาน ในวันที่ 5 สิงหาคม 2551 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม 134 — 135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- การผลิตและเผยแพร่สปอตโทรทัศน์ และสปอตวิทยุ
- การผลิตและเผยแพร่สารคดีโทรทัศน์
- การผลิตและเผยแพร่สื่อหนังสือพิมพ์
- การจัดถ่ายทอดสดพิธีเปิดงาน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2551--จบ--