คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย ประจำวันที่ 4 สิงหาคม 2551 สรุปได้ดังนี้
สภาพอากาศ
ร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ระหว่างวันที่ 4-7 สิงหาคม 2551 ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เพชรบูรณ์ สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญและอุบลราชธานี (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา)
พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก
พื้นที่ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภัยดินถล่มในระยะนี้ คือ
1. จังหวัดเชียงราย : อำเภอเชียงของ (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 3 คน)
อำเภอแม่จัน (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 215 คน)
2. จังหวัดพะเยา : อำเภอจุน (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 37 คน)
อำเภอเชียงคำ (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 111 คน)
อำเภอปง (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 123 คน)
3. จังหวัดน่าน : อำเภอนาหมื่น (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 97 คน)
อำเภอนาน้อย (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 55 คน)
4. จังหวัดเพชรบูรณ์ : อำเภอหล่มเก่า (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 88 คน)
อำเภอหล่มสัก (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 159 คน)
5. จังหวัดเลย : อำเภอด่านซ้าย (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 34 คน)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมทรัพยากรธรณี กำลังประสานงานโดยตรงกับเครือข่ายฯ ในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
การดำเนินการ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังติดตามสภาวะอากาศและสภาพการอุ้มน้ำของพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ดินถล่มที่อาจเกิดขึ้นผ่านอาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเหตุธรณีพิบัติภัยที่ประจำอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ
การตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม
ด้วยปรากฏสภาพดินคืบ ใกล้กับอาคารที่พักศูนย์ฝึกอาชีพสตรีจังหวัดเชียงราย แต่ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มซึ่งกรมทรัพยากรธรณี ได้จัดตั้งเครือข่ายแจ้งเหตุธรณีพิบัติภัยไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 รวมอาสาสมัคร 283 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2551--จบ--
สภาพอากาศ
ร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ระหว่างวันที่ 4-7 สิงหาคม 2551 ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เพชรบูรณ์ สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญและอุบลราชธานี (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา)
พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก
พื้นที่ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภัยดินถล่มในระยะนี้ คือ
1. จังหวัดเชียงราย : อำเภอเชียงของ (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 3 คน)
อำเภอแม่จัน (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 215 คน)
2. จังหวัดพะเยา : อำเภอจุน (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 37 คน)
อำเภอเชียงคำ (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 111 คน)
อำเภอปง (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 123 คน)
3. จังหวัดน่าน : อำเภอนาหมื่น (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 97 คน)
อำเภอนาน้อย (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 55 คน)
4. จังหวัดเพชรบูรณ์ : อำเภอหล่มเก่า (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 88 คน)
อำเภอหล่มสัก (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 159 คน)
5. จังหวัดเลย : อำเภอด่านซ้าย (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 34 คน)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมทรัพยากรธรณี กำลังประสานงานโดยตรงกับเครือข่ายฯ ในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
การดำเนินการ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังติดตามสภาวะอากาศและสภาพการอุ้มน้ำของพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ดินถล่มที่อาจเกิดขึ้นผ่านอาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเหตุธรณีพิบัติภัยที่ประจำอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ
การตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม
ด้วยปรากฏสภาพดินคืบ ใกล้กับอาคารที่พักศูนย์ฝึกอาชีพสตรีจังหวัดเชียงราย แต่ไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มซึ่งกรมทรัพยากรธรณี ได้จัดตั้งเครือข่ายแจ้งเหตุธรณีพิบัติภัยไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2548 รวมอาสาสมัคร 283 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2551--จบ--