คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) เป็นประธานกรรมการในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2551 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 ดังนี้
1. อนุมัติให้ขยายระยะเวลาดำเนินงานโครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยต่างๆ ต่อไปอีก 5 ปี (พ.ศ. 2552-2556) โดยให้ปรับปรุงโครงการดังกล่าวตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1.1 ให้รับนักศึกษาเพิ่มจากเดิมปีละ 16 คน เป็นปีละ 44 คน เพื่อให้เข้าศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ 27 คน สาขาวิชาสังคมศาสตร์ 17 คน และจะต้องมีนักศึกษาที่เข้าศึกษาในวิชาชีพครู จำนวนร้อยละ 10 ของนักศึกษาที่ เข้ารับการศึกษาในแต่ละปี โดยมีพื้นที่ดำเนินโครงการครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปัจจุบัน (จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และอำเภอจะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย ของจังหวัดสงขลา)
1.2 เพิ่มเงินทุนอุดหนุนการศึกษาจากเดิมปีละ 16 ทุน เป็นปีละ 44 ทุน โดยแบ่งเป็นทุนการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ 27 ทุน ทุนละ 40,000 บาท (เดิม 20,000 บาท) ทุนการศึกษาวิชาสังคมศาสตร์ 17 ทุน ทุนละ 30,000 บาท (เดิม 15,000 บาท) เงินงบประมาณที่ปรับเพิ่มเป็นเงินทุนอุดหนุนการศึกษา ตั้งแต่ปี 2552-2556 รวม 32,850,000 บาท โดยแบ่งเป็นเงิน
1) งบประมาณปี 2552 จำนวน 3,790,000 บาท
2) งบประมาณปี 2553 จำนวน 5,380,000 บาท
3) งบประมาณปี 2554 จำนวน 6,970,000 บาท
4) งบประมาณปี 2555 จำนวน 8,560,000 บาท
5) งบประมาณปี 2556 จำนวน 8,150,000 บาท
1.3 ให้คงจำนวนมหาวิทยาลัยที่รับนักศึกษา จำนวน 9 แห่ง เช่นเดิม
1.4 ให้สงวนอัตราเข้ารับราชการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 ต่อไป
2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับไปตกลงในรายละเอียดเกี่ยวกับงบประมาณที่จะใช้ดำเนินงานตามโครงการฯ กับสำนักงบประมาณต่อไป
3. ให้กระทรวงมหาดไทยรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ (พ.ศ. 2547-2551) โดยโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2551
2. กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการดังกล่าวยังมีความจำเป็นควรให้ดำเนินการต่อไปเพราะเป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในภูมิภาคจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะปัญหาด้านความมั่นคง ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้านสังคมจิตวิทยา ปัจจุบันสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกด้านสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) โครงการดังกล่าวจึงเป็นโครงการที่เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และลดความรู้สึกเปรียบเทียบในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยกับเยาวชนที่ใช้ภาษาไทยเป็นหลักอันจะส่งผลต่อการยกระดับมาตรฐานการดำเนินชีวิตและการศึกษาของประชาชนให้สูงขึ้น ตลอดจนเป็นการเพิ่มรายได้กระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง ซึ่งการขอเพิ่มจำนวนนักศึกษาดังกล่าว เพื่อให้โอกาสในการเข้าศึกษาของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ระดับอุดมศึกษาให้มากขึ้น และการขอเพิ่มทุนการศึกษาดังกล่าวเพื่อให้มีจำนวนเท่ากับจำนวนนักศึกษาที่รับเพิ่มและเนื่องจากเงินทุนการศึกษาเดิมเป็นเงินทุนที่ให้การช่วยเหลือบางส่วนเท่านั้น ส่วนเงินทุนการศึกษาที่ขอเพิ่มจะช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่นักศึกษาจำเป็นต้องใช้จ่าย ได้แก่ ค่าบำรุงการศึกษา ค่าลงทะเบียนเรียน อุปกรณ์การศึกษา ค่าที่พัก ค่าอาหาร และของใช้ส่วนตัว เป็นต้น
3. ในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2551 ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมมีมติให้ขยายระยะเวลาโครงการดังกล่าวออกไปอีก 5 ปี (พ.ศ. 2552-2556) โดยให้เพิ่มจำนวนนักศึกษาจากเดิมปีละ 16 คน เป็นปีละ 44 คน และเพิ่มจำนวนทุนอุดหนุนการศึกษาจากเดิมปีละ 16 ทุน เป็นปีละ 44 ทุน โดยแยกเป็นสายวิทยาศาสตร์ 27 ทุน ๆ ละ 40,000 บาท และสายสังคมสาสตร์ 17 ทุน ๆ ละ 30,000 บาท ทั้งนี้ จะต้องมีนักศึกษาที่เข้าศึกษาในวิชาชีพครู จำนวนร้อยละ 10 ของนักศึกษาที่เข้ารับการศึกษาในแต่ละปี และการดำเนินโครงการให้ขยายพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (44 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และอำเภอจะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย ของจังหวัดสงขลา)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2551--จบ--
1. อนุมัติให้ขยายระยะเวลาดำเนินงานโครงการจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยต่างๆ ต่อไปอีก 5 ปี (พ.ศ. 2552-2556) โดยให้ปรับปรุงโครงการดังกล่าวตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1.1 ให้รับนักศึกษาเพิ่มจากเดิมปีละ 16 คน เป็นปีละ 44 คน เพื่อให้เข้าศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ 27 คน สาขาวิชาสังคมศาสตร์ 17 คน และจะต้องมีนักศึกษาที่เข้าศึกษาในวิชาชีพครู จำนวนร้อยละ 10 ของนักศึกษาที่ เข้ารับการศึกษาในแต่ละปี โดยมีพื้นที่ดำเนินโครงการครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ปัจจุบัน (จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และอำเภอจะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย ของจังหวัดสงขลา)
1.2 เพิ่มเงินทุนอุดหนุนการศึกษาจากเดิมปีละ 16 ทุน เป็นปีละ 44 ทุน โดยแบ่งเป็นทุนการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ 27 ทุน ทุนละ 40,000 บาท (เดิม 20,000 บาท) ทุนการศึกษาวิชาสังคมศาสตร์ 17 ทุน ทุนละ 30,000 บาท (เดิม 15,000 บาท) เงินงบประมาณที่ปรับเพิ่มเป็นเงินทุนอุดหนุนการศึกษา ตั้งแต่ปี 2552-2556 รวม 32,850,000 บาท โดยแบ่งเป็นเงิน
1) งบประมาณปี 2552 จำนวน 3,790,000 บาท
2) งบประมาณปี 2553 จำนวน 5,380,000 บาท
3) งบประมาณปี 2554 จำนวน 6,970,000 บาท
4) งบประมาณปี 2555 จำนวน 8,560,000 บาท
5) งบประมาณปี 2556 จำนวน 8,150,000 บาท
1.3 ให้คงจำนวนมหาวิทยาลัยที่รับนักศึกษา จำนวน 9 แห่ง เช่นเดิม
1.4 ให้สงวนอัตราเข้ารับราชการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 ต่อไป
2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับไปตกลงในรายละเอียดเกี่ยวกับงบประมาณที่จะใช้ดำเนินงานตามโครงการฯ กับสำนักงบประมาณต่อไป
3. ให้กระทรวงมหาดไทยรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินจัดส่งนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยต่าง ๆ (พ.ศ. 2547-2551) โดยโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2551
2. กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการดังกล่าวยังมีความจำเป็นควรให้ดำเนินการต่อไปเพราะเป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในภูมิภาคจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะปัญหาด้านความมั่นคง ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ และด้านสังคมจิตวิทยา ปัจจุบันสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกด้านสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) โครงการดังกล่าวจึงเป็นโครงการที่เพิ่มโอกาสทางการศึกษา และลดความรู้สึกเปรียบเทียบในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยกับเยาวชนที่ใช้ภาษาไทยเป็นหลักอันจะส่งผลต่อการยกระดับมาตรฐานการดำเนินชีวิตและการศึกษาของประชาชนให้สูงขึ้น ตลอดจนเป็นการเพิ่มรายได้กระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึง ซึ่งการขอเพิ่มจำนวนนักศึกษาดังกล่าว เพื่อให้โอกาสในการเข้าศึกษาของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ระดับอุดมศึกษาให้มากขึ้น และการขอเพิ่มทุนการศึกษาดังกล่าวเพื่อให้มีจำนวนเท่ากับจำนวนนักศึกษาที่รับเพิ่มและเนื่องจากเงินทุนการศึกษาเดิมเป็นเงินทุนที่ให้การช่วยเหลือบางส่วนเท่านั้น ส่วนเงินทุนการศึกษาที่ขอเพิ่มจะช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่นักศึกษาจำเป็นต้องใช้จ่าย ได้แก่ ค่าบำรุงการศึกษา ค่าลงทะเบียนเรียน อุปกรณ์การศึกษา ค่าที่พัก ค่าอาหาร และของใช้ส่วนตัว เป็นต้น
3. ในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2551 ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมมีมติให้ขยายระยะเวลาโครงการดังกล่าวออกไปอีก 5 ปี (พ.ศ. 2552-2556) โดยให้เพิ่มจำนวนนักศึกษาจากเดิมปีละ 16 คน เป็นปีละ 44 คน และเพิ่มจำนวนทุนอุดหนุนการศึกษาจากเดิมปีละ 16 ทุน เป็นปีละ 44 ทุน โดยแยกเป็นสายวิทยาศาสตร์ 27 ทุน ๆ ละ 40,000 บาท และสายสังคมสาสตร์ 17 ทุน ๆ ละ 30,000 บาท ทั้งนี้ จะต้องมีนักศึกษาที่เข้าศึกษาในวิชาชีพครู จำนวนร้อยละ 10 ของนักศึกษาที่เข้ารับการศึกษาในแต่ละปี และการดำเนินโครงการให้ขยายพื้นที่ครอบคลุมจังหวัดชายแดนภาคใต้ (44 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล และอำเภอจะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย ของจังหวัดสงขลา)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2551--จบ--