คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) เป็นประธานกรรมการ ในการประชุมครั้งที่ 4 / 2551 วันที่ 16 กรกฎาคม 2551 ที่เห็นชอบในหลักการโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น รุ่นที่ 3 โดยเปลี่ยนชื่อโครงการจาก “โครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” กลับไปใช้ชื่อเดิมคือ “โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน” และเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ส่วนงบประมาณในขั้นเตรียมการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ให้กระทรวงศึกษาธิการเจียดจ่ายจากงบประมาณปกติของกระทรวงศึกษาธิการหากไม่เพียงพอให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ ส่วนค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ดำเนินงานตามโครงการฯ ในส่วนที่เหลือ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับไปประสานในรายละเอียดถึงแหล่งเงินที่จะใช้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ให้กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงาน ก.พ. รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 1 และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. จากการดำเนินโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่ผ่านมาทั้ง 2 รุ่น เห็นว่านักเรียนทั้งในประเทศและต่างประเทศส่วนใหญ่มีผลการเรียนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ จึงควรที่จะดำเนินโครงการในรุ่นที่ 3 ต่อไป เพื่อเป็นการกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีฐานะยากจนและเรียนดี มีความประพฤติดีได้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศและต่างประเทศในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยโครงการฯ รุ่นที่ 3 มีหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการฯ ในปีการศึกษา 2552 ดังนี้
1.1 ทุนที่ให้เป็นทุนศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาไม่เกินระดับปริญญาตรีทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยให้ไปศึกษาในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารแต่มีความก้าวหน้าทางวิทยาการ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาอื่น ๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ และเรียนรู้วิทยาการจากประเทศเหล่านั้นโดยนักเรียนที่เลือกไปศึกษาต่อต่างประเทศต้องเข้ารับการเตรียมความพร้อมด้านภาษาของประเทศที่เลือกจนถึงระดับที่สามารถใช้สื่อสารได้ และต้องได้รับการตอบรับจากสถาบันการศึกษาที่นักเรียนสมัครเข้าศึกษาก่อนจึงจะสามารถเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศได้
1.2 ทุนแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สายสามัญและสายอาชีวศึกษา จำนวน 926 ทุน โดยจะดำเนินการคัดเลือกผู้รับทุนจากอำเภอ/กิ่งอำเภอทั่วประเทศ ซึ่งผู้สมัครสายสามัญต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าไม่ต่ำกว่า 3.00 สำหรับผู้สมัครสายอาชีวศึกษาต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพไม่ต่ำกว่า 2.75 ทั้งนี้ นักเรียนสายอาชีวศึกษาจะต้องเลือกศึกษาในสาขาอุตสาหกรรมที่กำหนดให้ซึ่งเป็นสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศและต้องมีการเตรียมความพร้อมผู้รับทุนให้มากขึ้นกว่ารุ่นที่ผ่านมา
1.3 ผู้สมัครรับทุนต้องมีรายได้ครอบครัวรวมกันไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี
2. เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนได้ทั่วถึงในทุกอำเภอ / กิ่งอำเภอ ตามที่เคยดำเนินการในรุ่นที่ 1 และ 2 จึงเห็นควรเปลี่ยนชื่อโครงการจากโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เป็น โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ตามเดิม และเห็นควรแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เพื่อกำกับดูแลการดำเนินโครงการฯ โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีก 24 คน เป็นกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
2.1 กำหนดทิศทางและแนวทางการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ตลอดจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ส่วนรวม
2.2 กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ได้รับทุนให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม
2.3 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ
2.4 ติดตามและประเมินผลสำเร็จโครงการเพื่อรายงานต่อรัฐบาล
2.5 พิจารณาหาแนวทางและกำหนดวิธีการแก้ไขกรณีที่เกิดปัญหา
3. กระทรวงศึกษาธิการเสนอข้อมูลเพิ่มเติมว่าโครงการฯ รุ่นที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กยากจนที่เรียนดี มีความประพฤติดี และกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าทั้งสายสามัญและสายอาชีพในสถานศึกษาทั่วประเทศได้มีโอกาสรับทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศและต่างประเทศตามสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและความต้องการของประเทศ และเพื่อเพิ่มศักยภาพของเด็กยากจนในชนบทให้มีความรู้ระดับปริญญาตรีสามารถพัฒนาตนเองและยกระดับความสามารถในการประกอบอาชีพอันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนต่อไป โดยทุนการศึกษาที่ให้มีจำนวนทั้งสิ้น 926 ทุน แบ่งเป็นทุนสายสามัญ และสายอาชีวศึกษา (ศึกษาต่อในประเทศ 200 คน และศึกษาต่อต่างประเทศ 726 คน) ในการให้ทุนการศึกษาจะพิจารณาจากความเชี่ยวชาญ/ชำนาญการในสาขาวิชาตามกลุ่มอุตสาหกรรมหลักในสถาบันการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดยจัดสรรจำนวนทุนตามกลุ่มสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมหลักและความต้องการกำลังบุคลากรของประเทศ (รายละเอียดในการกำหนดสัดส่วนผู้รับทุนจะได้หารือในคณะกรรมการโครงการ 1อำเภอ 1 ทุน ต่อไป เมื่อได้รับความเห็นชอบองค์ประกอบคณะกรรมการจากคณะรัฐมนตรีแล้ว) ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 - 2558
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2551--จบ--
กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า
1. จากการดำเนินโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่ผ่านมาทั้ง 2 รุ่น เห็นว่านักเรียนทั้งในประเทศและต่างประเทศส่วนใหญ่มีผลการเรียนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ จึงควรที่จะดำเนินโครงการในรุ่นที่ 3 ต่อไป เพื่อเป็นการกระจายโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีฐานะยากจนและเรียนดี มีความประพฤติดีได้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศและต่างประเทศในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยโครงการฯ รุ่นที่ 3 มีหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการฯ ในปีการศึกษา 2552 ดังนี้
1.1 ทุนที่ให้เป็นทุนศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาไม่เกินระดับปริญญาตรีทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยให้ไปศึกษาในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารแต่มีความก้าวหน้าทางวิทยาการ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาอื่น ๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ และเรียนรู้วิทยาการจากประเทศเหล่านั้นโดยนักเรียนที่เลือกไปศึกษาต่อต่างประเทศต้องเข้ารับการเตรียมความพร้อมด้านภาษาของประเทศที่เลือกจนถึงระดับที่สามารถใช้สื่อสารได้ และต้องได้รับการตอบรับจากสถาบันการศึกษาที่นักเรียนสมัครเข้าศึกษาก่อนจึงจะสามารถเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศได้
1.2 ทุนแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สายสามัญและสายอาชีวศึกษา จำนวน 926 ทุน โดยจะดำเนินการคัดเลือกผู้รับทุนจากอำเภอ/กิ่งอำเภอทั่วประเทศ ซึ่งผู้สมัครสายสามัญต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าไม่ต่ำกว่า 3.00 สำหรับผู้สมัครสายอาชีวศึกษาต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพไม่ต่ำกว่า 2.75 ทั้งนี้ นักเรียนสายอาชีวศึกษาจะต้องเลือกศึกษาในสาขาอุตสาหกรรมที่กำหนดให้ซึ่งเป็นสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศและต้องมีการเตรียมความพร้อมผู้รับทุนให้มากขึ้นกว่ารุ่นที่ผ่านมา
1.3 ผู้สมัครรับทุนต้องมีรายได้ครอบครัวรวมกันไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี
2. เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนได้ทั่วถึงในทุกอำเภอ / กิ่งอำเภอ ตามที่เคยดำเนินการในรุ่นที่ 1 และ 2 จึงเห็นควรเปลี่ยนชื่อโครงการจากโครงการทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เป็น โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ตามเดิม และเห็นควรแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน เพื่อกำกับดูแลการดำเนินโครงการฯ โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอีก 24 คน เป็นกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
2.1 กำหนดทิศทางและแนวทางการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ตลอดจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ส่วนรวม
2.2 กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ได้รับทุนให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม
2.3 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ
2.4 ติดตามและประเมินผลสำเร็จโครงการเพื่อรายงานต่อรัฐบาล
2.5 พิจารณาหาแนวทางและกำหนดวิธีการแก้ไขกรณีที่เกิดปัญหา
3. กระทรวงศึกษาธิการเสนอข้อมูลเพิ่มเติมว่าโครงการฯ รุ่นที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กยากจนที่เรียนดี มีความประพฤติดี และกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าทั้งสายสามัญและสายอาชีพในสถานศึกษาทั่วประเทศได้มีโอกาสรับทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในประเทศและต่างประเทศตามสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและความต้องการของประเทศ และเพื่อเพิ่มศักยภาพของเด็กยากจนในชนบทให้มีความรู้ระดับปริญญาตรีสามารถพัฒนาตนเองและยกระดับความสามารถในการประกอบอาชีพอันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนต่อไป โดยทุนการศึกษาที่ให้มีจำนวนทั้งสิ้น 926 ทุน แบ่งเป็นทุนสายสามัญ และสายอาชีวศึกษา (ศึกษาต่อในประเทศ 200 คน และศึกษาต่อต่างประเทศ 726 คน) ในการให้ทุนการศึกษาจะพิจารณาจากความเชี่ยวชาญ/ชำนาญการในสาขาวิชาตามกลุ่มอุตสาหกรรมหลักในสถาบันการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดยจัดสรรจำนวนทุนตามกลุ่มสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมหลักและความต้องการกำลังบุคลากรของประเทศ (รายละเอียดในการกำหนดสัดส่วนผู้รับทุนจะได้หารือในคณะกรรมการโครงการ 1อำเภอ 1 ทุน ต่อไป เมื่อได้รับความเห็นชอบองค์ประกอบคณะกรรมการจากคณะรัฐมนตรีแล้ว) ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 - 2558
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2551--จบ--