คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ดำเนินการก่อสร้างโรงงานคัดแยกและระบบกำจัดขยะมูลฝอย วงเงิน 56.6 ล้านบาท (ขนาด 30 ตัน/วัน) และค่าจ้างเก็บขน และกำจัดขยะมูลฝอยในปีแรก วงเงิน 4.5 ล้านบาท วงเงินรวมทั้งสิ้น 61,100,000 บาท และอนุมัติให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณสำหรับค่าบริหารจัดการและบำรุงรักษาผูกพันประจำปีต่อ ๆ ไป อีก 4 ปี ๆ ละ 4.5 ล้านบาท ตามที่องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เสนอ สำหรับเรื่องการเงินให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณที่ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (23,400 ล้านบาท) โดยให้ดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสมมีความคุ้มค่าและประหยัด สอคล้องกับกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) รายงานว่า เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 ได้มีการประชุมหารือเรื่องการประเมินเทคโนโลยีการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนที่เหมาะสมกับประเทศไทย และการจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะช้าง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีมติเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้าง ดังนี้
1. เห็นชอบตามข้อเสนอของ อพท. ในการนำเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยแบบคัดแยกและระบบกำจัดด้วยขบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนมาใช้กับพื้นที่เกาะช้าง รวมทั้งแผนงานโครงการก่อสร้างโรงงานคัดแยกและระบบกำจัดขยะบนเกาะช้าง รวมทั้งการนำผลผลิตพลอยได้มาใช้งาน
2. ให้รัฐเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโรงงานคัดแยกและกำจัดขยะมูลฝอยบนเกาะช้างเอง โดยให้ใช้แบบแปลน รายละเอียดที่มีอยู่แล้ว (30-40 ตัน/วัน) และให้ตกลงกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) เข้ามาดำเนินการเพื่อให้รวดเร็วทันการใช้งาน
3. ให้ทำสัญญาจ้างเอกชนดำเนินการจัดเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอยเป็นคราว ๆ คราวละไม่เกิน 5 ปี ตามความจำเป็น โดยใช้อุปกรณ์ขนเก็บขยะของ อบต. เกาะช้าง และเกาะช้างใต้
สำหรับการดำเนินงานของ อพท. ได้ประสานงานกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) และกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ สำรวจรายละเอียดสถานที่ที่จะใช้ในการก่อสร้างโรงงานคัดแยกและระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่บริเวณบ้านไชยเชษฐ์บนเกาะช้าง และพร้อมที่จะดำเนินการก่อสร้างทันที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) รายงานว่า เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 ได้มีการประชุมหารือเรื่องการประเมินเทคโนโลยีการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนที่เหมาะสมกับประเทศไทย และการจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะช้าง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีมติเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้าง ดังนี้
1. เห็นชอบตามข้อเสนอของ อพท. ในการนำเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยแบบคัดแยกและระบบกำจัดด้วยขบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนมาใช้กับพื้นที่เกาะช้าง รวมทั้งแผนงานโครงการก่อสร้างโรงงานคัดแยกและระบบกำจัดขยะบนเกาะช้าง รวมทั้งการนำผลผลิตพลอยได้มาใช้งาน
2. ให้รัฐเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโรงงานคัดแยกและกำจัดขยะมูลฝอยบนเกาะช้างเอง โดยให้ใช้แบบแปลน รายละเอียดที่มีอยู่แล้ว (30-40 ตัน/วัน) และให้ตกลงกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) เข้ามาดำเนินการเพื่อให้รวดเร็วทันการใช้งาน
3. ให้ทำสัญญาจ้างเอกชนดำเนินการจัดเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอยเป็นคราว ๆ คราวละไม่เกิน 5 ปี ตามความจำเป็น โดยใช้อุปกรณ์ขนเก็บขยะของ อบต. เกาะช้าง และเกาะช้างใต้
สำหรับการดำเนินงานของ อพท. ได้ประสานงานกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นทพ.) และกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ สำรวจรายละเอียดสถานที่ที่จะใช้ในการก่อสร้างโรงงานคัดแยกและระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่บริเวณบ้านไชยเชษฐ์บนเกาะช้าง และพร้อมที่จะดำเนินการก่อสร้างทันที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 มกราคม 2548--จบ--