คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้มีการทดลองปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายเฉลิมรัชมงคล โดยมีระยะเวลาทดลอง 3 เดือน และให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ให้รฟม .ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การปรับลดค่าโดยสารมีผลบังคับใช้ภายใน 3 วัน นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
2. เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาศึกษาทดลองลดอัตราค่าโดยสาร ให้ รฟม. และ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ไปพิจารณากำหนด อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมที่สุด (Optimize Fare) เพื่อให้มีการใช้ระบบขนส่งมวลชนสายเฉลิมรัชมงคลมากขึ้น
3. กรณีที่รายได้จากค่าโดยสารลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ให้ รฟม. พิจารณาชดเชยให้บริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 80 ของส่วนต่างรายได้ โดยการหักกลบลบหนี้กับเงินที่บริษัทฯ พึงชำระให้กับ รฟม. ตามสัญญาฯ อาทิ เช่น เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสาร เงินส่วนแบ่งรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ หรือเงินอื่นใดที่ รฟม. พึงเรียกได้จากบริษัทฯ ตามสัญญาฯ เป็นต้นกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดการใช้น้ำมัน ประกอบกับปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครอยู่ในขั้นวิกฤต ดังนั้นการดำเนินการในแนวทางการทดลองปรับเปลี่ยนอัตราค่าโดยสารเพื่อศึกษาความยืดหยุ่นของอัตราค่าโดยสารกับปริมาณการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ (Price Elasticity) ของผู้บริโภค จะเป็นมาตรการหนึ่งที่จะสามารถแก้ไขปัญหาการใช้น้ำมันและการจราจรได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
(1) ประเภทผู้โดยสาร ประเภทบัตรโดยสาร
เหรียญโดยสารเที่ยวเดียว บัตรโดยสารเติมเงิน
- บุคคลทั่วไป 3 สถานีแรก 10 บาท 3 สถานีแรก 10 บาท
4 สถานีขึ้นไป 15 บาท 4 สถานีขึ้นไป 15 บาท
- นักเรียน, นักศึกษา 3 สถานีแรก 10 บาท 3 สถานีแรก 7 บาท
4 สถานีขึ้นไป 15 บาท 4 สถานีขึ้นไป 11 บาท
(2) ระยะเวลาทดลอง 3 เดือน
(3) หากการลดค่าโดยสารในข้อ (1) ทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไม่มาก และมีผลทำให้รายได้ของบริษัทฯ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายได้ค่าโดยสารที่บริษัทฯ ได้รับในช่วงระยะเวลา 50 วัน ที่ผ่านสำหรับวันทำการเท่ากับ 2,701,828 บาท และวันหยุดเท่ากับ 2,199,567 บาท รฟม. ควรจะต้องชดเชยส่วนต่างรายได้ค่าโดยสารให้กับบริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 80 ของส่วนต่างโดยบริษัทฯ จะเป็นผู้รับภาระส่วนต่างส่วนที่เหลือ
(4) เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนจะหันมาใช้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายเฉลิมรัชมงคล เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานน้ำมันและลดการใช้รถยนต์สมตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นควรให้มีการดำเนินการเสริม ดังนี้
4.1 ประชาสัมพันธ์การลดอัตราค่าโดยสารผ่านสื่อต่าง ๆ ของรัฐอย่างต่อเนื่องเพื่อกระจาย ข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบ
4.2 ให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ไปพิจารณาปรับปรุงสายการเดินรถประจำทางที่ทับซ้อน และ/หรือ จัดรถประจำทางและรถตู้เป็นสายเสริม เข้าส่งต่อเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างกันเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการสูงสุด
(5) การทดลองศึกษาในครั้งนี้ไม่ถือเป็นการที่คู่สัญญา (รฟม.-บริษัทฯ) แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาฯ แต่เป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล เพื่อประโยชน์ของประชาชนและสังคมเป็นส่วนรวมและคู่สัญญาจะไม่นำการทดลองศึกษานี้ไปเป็นเหตุในการเรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--
1. ให้รฟม .ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การปรับลดค่าโดยสารมีผลบังคับใช้ภายใน 3 วัน นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
2. เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาศึกษาทดลองลดอัตราค่าโดยสาร ให้ รฟม. และ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ไปพิจารณากำหนด อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมที่สุด (Optimize Fare) เพื่อให้มีการใช้ระบบขนส่งมวลชนสายเฉลิมรัชมงคลมากขึ้น
3. กรณีที่รายได้จากค่าโดยสารลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ให้ รฟม. พิจารณาชดเชยให้บริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 80 ของส่วนต่างรายได้ โดยการหักกลบลบหนี้กับเงินที่บริษัทฯ พึงชำระให้กับ รฟม. ตามสัญญาฯ อาทิ เช่น เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสาร เงินส่วนแบ่งรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ หรือเงินอื่นใดที่ รฟม. พึงเรียกได้จากบริษัทฯ ตามสัญญาฯ เป็นต้นกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นว่า เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดการใช้น้ำมัน ประกอบกับปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครอยู่ในขั้นวิกฤต ดังนั้นการดำเนินการในแนวทางการทดลองปรับเปลี่ยนอัตราค่าโดยสารเพื่อศึกษาความยืดหยุ่นของอัตราค่าโดยสารกับปริมาณการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ (Price Elasticity) ของผู้บริโภค จะเป็นมาตรการหนึ่งที่จะสามารถแก้ไขปัญหาการใช้น้ำมันและการจราจรได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
(1) ประเภทผู้โดยสาร ประเภทบัตรโดยสาร
เหรียญโดยสารเที่ยวเดียว บัตรโดยสารเติมเงิน
- บุคคลทั่วไป 3 สถานีแรก 10 บาท 3 สถานีแรก 10 บาท
4 สถานีขึ้นไป 15 บาท 4 สถานีขึ้นไป 15 บาท
- นักเรียน, นักศึกษา 3 สถานีแรก 10 บาท 3 สถานีแรก 7 บาท
4 สถานีขึ้นไป 15 บาท 4 สถานีขึ้นไป 11 บาท
(2) ระยะเวลาทดลอง 3 เดือน
(3) หากการลดค่าโดยสารในข้อ (1) ทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้นไม่มาก และมีผลทำให้รายได้ของบริษัทฯ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรายได้ค่าโดยสารที่บริษัทฯ ได้รับในช่วงระยะเวลา 50 วัน ที่ผ่านสำหรับวันทำการเท่ากับ 2,701,828 บาท และวันหยุดเท่ากับ 2,199,567 บาท รฟม. ควรจะต้องชดเชยส่วนต่างรายได้ค่าโดยสารให้กับบริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 80 ของส่วนต่างโดยบริษัทฯ จะเป็นผู้รับภาระส่วนต่างส่วนที่เหลือ
(4) เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนจะหันมาใช้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายเฉลิมรัชมงคล เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานน้ำมันและลดการใช้รถยนต์สมตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นควรให้มีการดำเนินการเสริม ดังนี้
4.1 ประชาสัมพันธ์การลดอัตราค่าโดยสารผ่านสื่อต่าง ๆ ของรัฐอย่างต่อเนื่องเพื่อกระจาย ข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบ
4.2 ให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ไปพิจารณาปรับปรุงสายการเดินรถประจำทางที่ทับซ้อน และ/หรือ จัดรถประจำทางและรถตู้เป็นสายเสริม เข้าส่งต่อเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างกันเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้บริการสูงสุด
(5) การทดลองศึกษาในครั้งนี้ไม่ถือเป็นการที่คู่สัญญา (รฟม.-บริษัทฯ) แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาฯ แต่เป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล เพื่อประโยชน์ของประชาชนและสังคมเป็นส่วนรวมและคู่สัญญาจะไม่นำการทดลองศึกษานี้ไปเป็นเหตุในการเรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 มกราคม 2548--จบ--