คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนงานและโครงการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบแนวทางการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนโดยการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร การพัฒนาการท่องเที่ยว โดยการพัฒนาเมืองพนมรุ้งและปรับปรุงเส้นทางคมนาคมที่จะสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้ให้รัฐมนตรีทุกท่านที่ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ของอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดบุรีรัมย์ เร่งจัดทำสรุปข้อมูล ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาเรื่องต่าง ๆ ในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย เสนอนายกรัฐมนตรีโดยด่วน เพื่อพิจารณาและรวบรวมส่งต่อให้กับรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงแนวทางการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ รวมตลอดถึงการกำหนดโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ
2. สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาโครงการ/กิจกรรม ที่ได้ปรับปรุงให้ครบถ้วนตามข้อ 1 แล้วให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รับไปพิจารณาร่วมกับสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ความจำเป็นเร่งด่วน กำลังเงิน งบประมาณของรัฐ งบประมาณที่จะจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศักยภาพความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์มีเป้าประสงค์ในช่วงระยะเวลา 4 ปี (2548-2551) ของการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ คือการสร้างงานและรายได้ด้วยการพัฒนาการเกษตรและท่องเที่ยว เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยแนวทางการพัฒนา ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการพัฒนาการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ โดยการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการสร้างงานและรายได้ โดยการพัฒนาการท่องเที่ยวพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ โดยการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้มีมาตรฐานสอดคล้องตามความต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
โดยข้อเสนอโครงการและงบประมาณการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ มีกรอบแนวคิดในการพิจารณา โครงการใช้หลักเกณฑ์ความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความยากจน การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจด้วยการปรับโครงสร้างภาคเกษตร เพื่อผลิตสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพ และการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนล่าง 1 และยุทธศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมให้เต็มศักยภาพอย่างเต็มระบบ และบูรณาการทั้งน้ำผิวดินและน้ำบาดาล การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดที่มีคุณค่าในระดับโลกอยู่แล้วให้เต็มศักยภาพ
การประเมินผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของจังหวัดบุรีรัมย์และผลตอบแทนจากการลงทุน โดยการลงทุนจะช่วยให้จังหวัดบุรีรัมย์มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยประมาณปีละ 1,504 ล้านบาท มีผลให้ผลิตภัณฑ์จังหวัดประมาณร้อยละ 1.8 ในช่วงปี 2549-2552 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.47 ต่อปี รวมทั้งประมาณว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรจังหวัดบุรีรัมย์จะเพิ่มขึ้นจาก 24,929 บาท ในปี 2546 เป็นประมาณ 32,292 บาท ในปี 2551 นอกจากนั้นจะมีผลประโยชน์ทางอ้อมจากคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการมีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น การประหยัดค่าขนส่งสินค้าและเวลาในการเดินทาง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. เห็นชอบแนวทางการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนโดยการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตร การพัฒนาการท่องเที่ยว โดยการพัฒนาเมืองพนมรุ้งและปรับปรุงเส้นทางคมนาคมที่จะสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้ให้รัฐมนตรีทุกท่านที่ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ของอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดบุรีรัมย์ เร่งจัดทำสรุปข้อมูล ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาเรื่องต่าง ๆ ในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย เสนอนายกรัฐมนตรีโดยด่วน เพื่อพิจารณาและรวบรวมส่งต่อให้กับรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงแนวทางการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ รวมตลอดถึงการกำหนดโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ
2. สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาโครงการ/กิจกรรม ที่ได้ปรับปรุงให้ครบถ้วนตามข้อ 1 แล้วให้รองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) รับไปพิจารณาร่วมกับสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ความจำเป็นเร่งด่วน กำลังเงิน งบประมาณของรัฐ งบประมาณที่จะจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศักยภาพความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์มีเป้าประสงค์ในช่วงระยะเวลา 4 ปี (2548-2551) ของการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ คือการสร้างงานและรายได้ด้วยการพัฒนาการเกษตรและท่องเที่ยว เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยแนวทางการพัฒนา ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการพัฒนาการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้ โดยการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการสร้างงานและรายได้ โดยการพัฒนาการท่องเที่ยวพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ โดยการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้มีมาตรฐานสอดคล้องตามความต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
โดยข้อเสนอโครงการและงบประมาณการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ มีกรอบแนวคิดในการพิจารณา โครงการใช้หลักเกณฑ์ความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความยากจน การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจด้วยการปรับโครงสร้างภาคเกษตร เพื่อผลิตสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพ และการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนล่าง 1 และยุทธศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมให้เต็มศักยภาพอย่างเต็มระบบ และบูรณาการทั้งน้ำผิวดินและน้ำบาดาล การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดที่มีคุณค่าในระดับโลกอยู่แล้วให้เต็มศักยภาพ
การประเมินผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของจังหวัดบุรีรัมย์และผลตอบแทนจากการลงทุน โดยการลงทุนจะช่วยให้จังหวัดบุรีรัมย์มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยประมาณปีละ 1,504 ล้านบาท มีผลให้ผลิตภัณฑ์จังหวัดประมาณร้อยละ 1.8 ในช่วงปี 2549-2552 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.47 ต่อปี รวมทั้งประมาณว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรจังหวัดบุรีรัมย์จะเพิ่มขึ้นจาก 24,929 บาท ในปี 2546 เป็นประมาณ 32,292 บาท ในปี 2551 นอกจากนั้นจะมีผลประโยชน์ทางอ้อมจากคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการมีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น การประหยัดค่าขนส่งสินค้าและเวลาในการเดินทาง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--