คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิในระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2547 — 30 มกราคม 2548 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอดังนี้
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิ เป็นผลให้ 6 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ในพื้นที่ 16 อำเภอ 40 ตำบล ได้รับความเสียหายอย่างหนักทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินในจำนวนนี้มีสถานประกอบการ จำนวน 470 แห่ง และลูกจ้างประมาณ 27,867 คน ได้รับผลกระทบ กรมการจัดหางานได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ ในส่วนกลางแต่งตั้งคณะทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งส่งหน่วยบริการจัดหางานเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ชุดสำรวจและชุดติดตามผลการบรรจุงานจากส่วนกลางไปปฏิบัติงานร่วมกันส่วนภูมิภาคและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานตามภารกิจของกรมการจัดหางานเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพตามนโยบายของรัฐบาล ผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
1. รับขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานที่ประสบภัย
ผู้ประกันตนฯ ที่ประสบภัยมาขึ้นทะเบียน จำนวน 5,148 คน จำแนกเป็นจังหวัดระนอง 1 คน จังหวัดพังงา 3,394 คน จังหวัดภูเก็ต 811 คน จังหวัดกระบี่ 909 คน จังหวัดตรัง 26 คน จังหวัดสตูล 7 คน
2. การให้บริการจัดหางาน
2.1 ผู้ประสบภัยแจ้งความประสงค์สมัครงาน 5,911 คน
2.2 ติดต่อประสานงานนายจ้าง/สถานประกอบการเพื่อรับแจ้งตำแหน่งงานว่าง (30 ม.ค.48)
- ตำแหน่งงานว่างทั่วประเทศ 198,540 อัตรา
- ตำแหน่งงานว่างภาคใต้ 27,131 อัตรา
- ตำแหน่งงานว่างจังหวัดประสบภัย 12,244 อัตรา
- ตำแหน่งงานว่างจังหวัดใกล้เคียง 14,887 อัตรา
2.3 ได้รับการบรรจุงานในสถานประกอบการ จำนวน 2,668 คน จังหวัดกระบี่ 857 คน จังหวัดพังงา 832 คน จังหวัดระนอง 495 คน จังหวัดภูเก็ต 477 คน จังหวัดตรัง 2 คน จังหวัดอื่น ๆ 5 คน
2.4 ผลการบรรจุงานตามข้อ 2.3 ก่อให้เกิดรายได้ต่อเดือน รวมทั้งสิ้นประมาณ 14,073,086 บาท และ ผู้ประสบภัยที่ได้รับการบรรจุงานมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประมาณ 5,275 บาท
2.5 ประกอบธุรกิจส่วนตัว 1 คน
3. ให้คำปรึกษาแนะนำ จำนวน 3,188 คน จำแนกเป็น การประกอบอาชีพอิสระ 2,275 คน
การจ้างแรงงานต่างด้าว 153 คน กฎหมาย หรืออื่น ๆ 760 คน
4. รับเรื่องร้องทุกข์ จำนวน 28 คน จำแนกเป็น ให้ตรวจสอบสิทธิ์ในการขอรับเงินประกันสังคม
ขอลดหย่อนการส่งเงินสมทบประกันสังคม นายจ้างค้างจ่ายค่าจ้าง
5. ประสานส่งผู้ประสบภัยเดินทางกลับภูมิลำเนา จำนวน 317 คน
6. สำนักงานจัดหางานจังหวัดปลายทาง 40 จังหวัด ให้บริการรับสมัครผู้ประสบภัยที่เดินทางกลับภูมิลำเนา จำนวน 601 คน ส่งตัวพบนายจ้างและรอการบรรจุงาน 100 คน สามารถบรรจุงานได้ 5 คน
7. ประสานส่งแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ จำนวน 1,995 คน โดยศูนย์ควบคุมส่งกลับแรงงานสัญชาติพม่าที่จังหวัดระนอง ได้ส่งกลับประเทศพม่าแล้ว จำนวน 853 คน
8. เสนอแผนงานการช่วยเหลือฟื้นฟูการดำรงชีพของผู้ตกงาน/ว่างงาน จากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ และได้รับอนุมัติงบกลาง 3 โครงการ รวมทั้งสิ้น จำนวน 9,896,300 บาท เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2548 เพื่อดำเนินโครงการ ดังนี้
8.1 โครงการให้บริการจัดหางานเคลื่อนที่แก่ผู้ว่างงานในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติเป็นการให้บริการจัดหางานเชิงรุกอำนวยความสะดวกถึงที่อยู่อาศัยของประสบภัยเป็นการเพิ่มโอกาสในการมีงานทำได้รับงบประมาณดำเนินโครงการ จำนวน 412,500 บาท
8.2 โครงการให้บริการเคลื่อนย้ายแรงงานแก่ผู้ว่างงานในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติ เป็นการให้บริการแก่ผู้ประสบภัยที่ต้องการไปทำงานที่จังหวัดอื่นหรือกลับไปทำงานยังภูมิลำเนาโดยประสานกับจังหวัดปลายทางเพื่อเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ประสงค์จะทำงานได้งานทำตรงกับความต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และไม่ถูกหลอกลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพ ได้รับงบประมาณดำเนินโครงการ จำนวน 360,000 บาท
8.3 โครงการสร้างอาชีพใหม่ให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติ เพื่อให้ผู้ประสบภัยที่ว่างงาน หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพใหม่ ได้มีความรู้ทักษะในการประกอบอาชีพอิสระ ได้รับงบประมาณ ดำเนินโครงการ จำนวน 9,123,800 บาท
9. จัดมหกรรมแรงงานเพื่อผู้ประสบภัยธรณีพิบัติจังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 27 มกราคม 2548 ณ บริเวณสะพานหิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวที่ได้รับความเดือดร้อน ได้มีงานทำและสามารถประกอบอาชีพอย่างมั่นคง โดยมีผู้ร่วมงานประมาณ 7,190 คน ผลการดำเนินการ มีดังนี้
9.1 นัดพบแรงงาน ประกอบด้วย นายจ้าง/สถานประกอบการแจ้งตำแหน่งงานว่าง 27,051 อัตรา นายจ้าง/สถานประกอบการที่มาร่วมรับสมัครงานด้วยตนเองในวันงาน 102 ราย ผู้ลงทะเบียนสมัครงาน 700 คน ได้รับการบรรจุงานทันที 313 คน
9.2 มหกรรมอาชีพและแนะแนวอาชีพ ประกอบด้วย แนะแนวอาชีพ และทดสอบความพร้อมทางอาชีพ1,750 คน ให้คำปรึกษาแนะแนวทางการประกอบอาชีพ 825 คน สาธิตการประกอบอาชีพอิสระ14 อาชีพผู้เข้าชมการสาธิต1,048 คน ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ 753 คน แสดงสินค้า OTOP 14 จังหวัดภาคใต้ 40 อาชีพ สร้างอาชีพใหม่ให้ผู้ประสบภัยพิบัติใน 5 ประเภทอาชีพ ได้แก่ ผัดไทอันดามัน นวดแผนไทย น้ำผลไม้ปั่นสวรรค์คนใต้ สปา และบาบีคิว 3 เทวดา มีผู้เข้าร่วมฝึกอาชีพ 212 คน
9.3 คลีนิกแรงงาน ประกอบด้วย ให้คำปรึกษาในการจ้างแรงงานต่างด้าว 79 คน ให้คำปรึกษาในการไปทำงานต่างประเทศ 130 คน ลงทะเบียนประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ 74 คน ให้คำปรึกษากรณีการใช้สิทธิประกันการว่างงาน 84 คน ลงทะเบียนใช้บริการคลินิกประกันการว่างงาน 21 คน ผู้เข้าชมนิทรรศการ 1,651 คน
10. ปัญหาอุปสรรคในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติในพื้นที่ ประกอบด้วย
- ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่มีสภาพจิตใจไม่พร้อมที่จะทำงาน
- บางรายไม่มีวุฒิการศึกษา และมีอายุเกินกว่าเงื่อนไขที่นายจ้างระบุ ทำให้ไม่ได้รับการบรรจุงาน
- บางรายต้องการรอทำงานกับนายจ้างเดิม เนื่องจากสถานประกอบการบางแห่งอยู่ในระหว่างซ่อมแซม จึงยังไม่เปิดดำเนินการ
- ผู้ที่เคยประกอบอาชีพประมง ไม่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ
แนวทางแก้ไข
- กรมการจัดหางานได้ใช้วิธีการด้านจิตวิทยา ให้คำปรึกษา แนะนำ ปลอบขวัญ ให้กำลังใจและให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ แก่ผู้ประสบภัยที่มาใช้บริการ
- ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ไม่สามารถทำงานในสถานประกอบการ โดยให้คำปรึกษาแนะนำการประกอบอาชีพอิสระ
- ประสานนายจ้างเพื่อรับแจ้งตำแหน่งงานว่างไว้รองรับและให้บริการจัดหางานแก่ผู้ประสบภัยที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นการเร่งด่วน
- ประสานกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้ความช่วยเหลือซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์การประมง แก่ผู้ประสบภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิ เป็นผลให้ 6 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ในพื้นที่ 16 อำเภอ 40 ตำบล ได้รับความเสียหายอย่างหนักทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินในจำนวนนี้มีสถานประกอบการ จำนวน 470 แห่ง และลูกจ้างประมาณ 27,867 คน ได้รับผลกระทบ กรมการจัดหางานได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นสึนามิ ในส่วนกลางแต่งตั้งคณะทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งส่งหน่วยบริการจัดหางานเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ชุดสำรวจและชุดติดตามผลการบรรจุงานจากส่วนกลางไปปฏิบัติงานร่วมกันส่วนภูมิภาคและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานตามภารกิจของกรมการจัดหางานเป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพตามนโยบายของรัฐบาล ผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
1. รับขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานที่ประสบภัย
ผู้ประกันตนฯ ที่ประสบภัยมาขึ้นทะเบียน จำนวน 5,148 คน จำแนกเป็นจังหวัดระนอง 1 คน จังหวัดพังงา 3,394 คน จังหวัดภูเก็ต 811 คน จังหวัดกระบี่ 909 คน จังหวัดตรัง 26 คน จังหวัดสตูล 7 คน
2. การให้บริการจัดหางาน
2.1 ผู้ประสบภัยแจ้งความประสงค์สมัครงาน 5,911 คน
2.2 ติดต่อประสานงานนายจ้าง/สถานประกอบการเพื่อรับแจ้งตำแหน่งงานว่าง (30 ม.ค.48)
- ตำแหน่งงานว่างทั่วประเทศ 198,540 อัตรา
- ตำแหน่งงานว่างภาคใต้ 27,131 อัตรา
- ตำแหน่งงานว่างจังหวัดประสบภัย 12,244 อัตรา
- ตำแหน่งงานว่างจังหวัดใกล้เคียง 14,887 อัตรา
2.3 ได้รับการบรรจุงานในสถานประกอบการ จำนวน 2,668 คน จังหวัดกระบี่ 857 คน จังหวัดพังงา 832 คน จังหวัดระนอง 495 คน จังหวัดภูเก็ต 477 คน จังหวัดตรัง 2 คน จังหวัดอื่น ๆ 5 คน
2.4 ผลการบรรจุงานตามข้อ 2.3 ก่อให้เกิดรายได้ต่อเดือน รวมทั้งสิ้นประมาณ 14,073,086 บาท และ ผู้ประสบภัยที่ได้รับการบรรจุงานมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประมาณ 5,275 บาท
2.5 ประกอบธุรกิจส่วนตัว 1 คน
3. ให้คำปรึกษาแนะนำ จำนวน 3,188 คน จำแนกเป็น การประกอบอาชีพอิสระ 2,275 คน
การจ้างแรงงานต่างด้าว 153 คน กฎหมาย หรืออื่น ๆ 760 คน
4. รับเรื่องร้องทุกข์ จำนวน 28 คน จำแนกเป็น ให้ตรวจสอบสิทธิ์ในการขอรับเงินประกันสังคม
ขอลดหย่อนการส่งเงินสมทบประกันสังคม นายจ้างค้างจ่ายค่าจ้าง
5. ประสานส่งผู้ประสบภัยเดินทางกลับภูมิลำเนา จำนวน 317 คน
6. สำนักงานจัดหางานจังหวัดปลายทาง 40 จังหวัด ให้บริการรับสมัครผู้ประสบภัยที่เดินทางกลับภูมิลำเนา จำนวน 601 คน ส่งตัวพบนายจ้างและรอการบรรจุงาน 100 คน สามารถบรรจุงานได้ 5 คน
7. ประสานส่งแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ จำนวน 1,995 คน โดยศูนย์ควบคุมส่งกลับแรงงานสัญชาติพม่าที่จังหวัดระนอง ได้ส่งกลับประเทศพม่าแล้ว จำนวน 853 คน
8. เสนอแผนงานการช่วยเหลือฟื้นฟูการดำรงชีพของผู้ตกงาน/ว่างงาน จากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ และได้รับอนุมัติงบกลาง 3 โครงการ รวมทั้งสิ้น จำนวน 9,896,300 บาท เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2548 เพื่อดำเนินโครงการ ดังนี้
8.1 โครงการให้บริการจัดหางานเคลื่อนที่แก่ผู้ว่างงานในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติเป็นการให้บริการจัดหางานเชิงรุกอำนวยความสะดวกถึงที่อยู่อาศัยของประสบภัยเป็นการเพิ่มโอกาสในการมีงานทำได้รับงบประมาณดำเนินโครงการ จำนวน 412,500 บาท
8.2 โครงการให้บริการเคลื่อนย้ายแรงงานแก่ผู้ว่างงานในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติ เป็นการให้บริการแก่ผู้ประสบภัยที่ต้องการไปทำงานที่จังหวัดอื่นหรือกลับไปทำงานยังภูมิลำเนาโดยประสานกับจังหวัดปลายทางเพื่อเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ประสงค์จะทำงานได้งานทำตรงกับความต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และไม่ถูกหลอกลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพ ได้รับงบประมาณดำเนินโครงการ จำนวน 360,000 บาท
8.3 โครงการสร้างอาชีพใหม่ให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติ เพื่อให้ผู้ประสบภัยที่ว่างงาน หรือต้องการเปลี่ยนอาชีพใหม่ ได้มีความรู้ทักษะในการประกอบอาชีพอิสระ ได้รับงบประมาณ ดำเนินโครงการ จำนวน 9,123,800 บาท
9. จัดมหกรรมแรงงานเพื่อผู้ประสบภัยธรณีพิบัติจังหวัดภูเก็ต ในวันที่ 27 มกราคม 2548 ณ บริเวณสะพานหิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวที่ได้รับความเดือดร้อน ได้มีงานทำและสามารถประกอบอาชีพอย่างมั่นคง โดยมีผู้ร่วมงานประมาณ 7,190 คน ผลการดำเนินการ มีดังนี้
9.1 นัดพบแรงงาน ประกอบด้วย นายจ้าง/สถานประกอบการแจ้งตำแหน่งงานว่าง 27,051 อัตรา นายจ้าง/สถานประกอบการที่มาร่วมรับสมัครงานด้วยตนเองในวันงาน 102 ราย ผู้ลงทะเบียนสมัครงาน 700 คน ได้รับการบรรจุงานทันที 313 คน
9.2 มหกรรมอาชีพและแนะแนวอาชีพ ประกอบด้วย แนะแนวอาชีพ และทดสอบความพร้อมทางอาชีพ1,750 คน ให้คำปรึกษาแนะแนวทางการประกอบอาชีพ 825 คน สาธิตการประกอบอาชีพอิสระ14 อาชีพผู้เข้าชมการสาธิต1,048 คน ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ 753 คน แสดงสินค้า OTOP 14 จังหวัดภาคใต้ 40 อาชีพ สร้างอาชีพใหม่ให้ผู้ประสบภัยพิบัติใน 5 ประเภทอาชีพ ได้แก่ ผัดไทอันดามัน นวดแผนไทย น้ำผลไม้ปั่นสวรรค์คนใต้ สปา และบาบีคิว 3 เทวดา มีผู้เข้าร่วมฝึกอาชีพ 212 คน
9.3 คลีนิกแรงงาน ประกอบด้วย ให้คำปรึกษาในการจ้างแรงงานต่างด้าว 79 คน ให้คำปรึกษาในการไปทำงานต่างประเทศ 130 คน ลงทะเบียนประสงค์ไปทำงานต่างประเทศ 74 คน ให้คำปรึกษากรณีการใช้สิทธิประกันการว่างงาน 84 คน ลงทะเบียนใช้บริการคลินิกประกันการว่างงาน 21 คน ผู้เข้าชมนิทรรศการ 1,651 คน
10. ปัญหาอุปสรรคในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติในพื้นที่ ประกอบด้วย
- ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่มีสภาพจิตใจไม่พร้อมที่จะทำงาน
- บางรายไม่มีวุฒิการศึกษา และมีอายุเกินกว่าเงื่อนไขที่นายจ้างระบุ ทำให้ไม่ได้รับการบรรจุงาน
- บางรายต้องการรอทำงานกับนายจ้างเดิม เนื่องจากสถานประกอบการบางแห่งอยู่ในระหว่างซ่อมแซม จึงยังไม่เปิดดำเนินการ
- ผู้ที่เคยประกอบอาชีพประมง ไม่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ
แนวทางแก้ไข
- กรมการจัดหางานได้ใช้วิธีการด้านจิตวิทยา ให้คำปรึกษา แนะนำ ปลอบขวัญ ให้กำลังใจและให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ แก่ผู้ประสบภัยที่มาใช้บริการ
- ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ไม่สามารถทำงานในสถานประกอบการ โดยให้คำปรึกษาแนะนำการประกอบอาชีพอิสระ
- ประสานนายจ้างเพื่อรับแจ้งตำแหน่งงานว่างไว้รองรับและให้บริการจัดหางานแก่ผู้ประสบภัยที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นการเร่งด่วน
- ประสานกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้ความช่วยเหลือซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์การประมง แก่ผู้ประสบภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--