คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์) โดยสำนักงานสภาความมั่นคงเสนอ ร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องนโยบายและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนที่ 1 ด้านนโยบายกำหนดแนวทางเป้าหมายหลักให้ปฏิบัติจำนวน 8 เป้าหมาย เรียงลำดับความเร่งด่วนให้หน่วยปฏิบัติ คือ
- หน่วยส่วนกำลังมีหน้าที่เร่งยุติสถานการณ์การก่อความไม่สงบโดยเร็วและเป็นฝ่ายรุก เพื่อปรับเปลี่ยนแนวความคิดและความเชื่อของผู้ก่อการ
- หน่วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติเกี่ยวกับการขจัดเงื่อนไขของการก่อความไม่สงบส่งเสริมการพัฒนายกระดับมาตรฐานการครองชีพ ให้การศึกษาการใช้พลังประชาชน การดำเนินการด้านต่างประเทศ และการใช้มาตรการด้านการข่าว การปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์
2. ส่วนที่ 2 การพัฒนาระบบบริหารจัดการได้ปรับการจัดองค์กร ดังนี้
2.1 จัดให้มีคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) เป็นคณะกรรมการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนกลางมีรองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.ชิดชัยฯ) เป็นประธานทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์ กำหนดแนวทางในการต่อสู้และบูรณาการการสั่งการ เพื่อให้หน่วยปฏิบัติดำเนินการได้ตรงเป้าหมายอย่างเหมาะสม
2.2 จัดให้มีสำนักงานยุทธศาสตร์คณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหน่วยงานภายในสำนักนายกรัฐมนตรี มี พล.อ.สิริชัย ธัญญศิริ เป็นผู้อำนวยการมีหน้าที่เสนอแนะยุทธศาสตร์ในการสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.3 ให้กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ปฏิบัติหน้าที่อยู่ใน พื้นที่ในลักษณะพลเรือน ตำรวจ ทหาร มีแม่ทัพภาคที่ 4 เป็น ผอ.สสส.จชต. รอง ผอ.สสส.จชต. ประกอบด้วย รองปลัด มท. ฝ่ายความมั่นคง ผบช.ภ.9 และรอง ผอ.สขช. ฝ่ายปฏิบัติการมีหน้าที่หลักในการปฏิบัติภารกิจทั้งปวง เพื่อยุติสถานการณ์การก่อความไม่สงบและพิทักษ์ประชาชน
2.4 จัดให้มีกองอำนวยการเสริมสร้างสันติในระดับจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ/ตำบล ในลักษณะพลเรือน ตำรวจ ทหาร เพื่อสร้างความเข้มแข็งระดับภูมิภาคตั้งแต่ระดับท้องถิ่น (ตำบล) ขึ้นไป
2.5 ได้จัดการเรื่องความสัมพันธ์ในทางบังคับบัญชา เพื่อให้สายการบังคับบัญชาสั้น ส่วนจังหวัดจะมุ่งเน้นงานด้านปกครองและพัฒนาตามแนวทางผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ มี ผบก.จว. และนายทหารยศ พล.ต./พล.ร.ต./จากกองทัพที่เกี่ยวข้องตามที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพมอบหมายเป็นรองผู้อำนวยการในแต่ละจังหวัดมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและประสานการปฏิบัติอย่างใกล้ชิดกับกองทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า และ ศปก.ตร.ส่วนหน้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. ส่วนที่ 1 ด้านนโยบายกำหนดแนวทางเป้าหมายหลักให้ปฏิบัติจำนวน 8 เป้าหมาย เรียงลำดับความเร่งด่วนให้หน่วยปฏิบัติ คือ
- หน่วยส่วนกำลังมีหน้าที่เร่งยุติสถานการณ์การก่อความไม่สงบโดยเร็วและเป็นฝ่ายรุก เพื่อปรับเปลี่ยนแนวความคิดและความเชื่อของผู้ก่อการ
- หน่วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติเกี่ยวกับการขจัดเงื่อนไขของการก่อความไม่สงบส่งเสริมการพัฒนายกระดับมาตรฐานการครองชีพ ให้การศึกษาการใช้พลังประชาชน การดำเนินการด้านต่างประเทศ และการใช้มาตรการด้านการข่าว การปฏิบัติการจิตวิทยาและประชาสัมพันธ์
2. ส่วนที่ 2 การพัฒนาระบบบริหารจัดการได้ปรับการจัดองค์กร ดังนี้
2.1 จัดให้มีคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กสชต.) เป็นคณะกรรมการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนกลางมีรองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.ชิดชัยฯ) เป็นประธานทำหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์ กำหนดแนวทางในการต่อสู้และบูรณาการการสั่งการ เพื่อให้หน่วยปฏิบัติดำเนินการได้ตรงเป้าหมายอย่างเหมาะสม
2.2 จัดให้มีสำนักงานยุทธศาสตร์คณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นหน่วยงานภายในสำนักนายกรัฐมนตรี มี พล.อ.สิริชัย ธัญญศิริ เป็นผู้อำนวยการมีหน้าที่เสนอแนะยุทธศาสตร์ในการสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.3 ให้กองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กอ.สสส.จชต.) ปฏิบัติหน้าที่อยู่ใน พื้นที่ในลักษณะพลเรือน ตำรวจ ทหาร มีแม่ทัพภาคที่ 4 เป็น ผอ.สสส.จชต. รอง ผอ.สสส.จชต. ประกอบด้วย รองปลัด มท. ฝ่ายความมั่นคง ผบช.ภ.9 และรอง ผอ.สขช. ฝ่ายปฏิบัติการมีหน้าที่หลักในการปฏิบัติภารกิจทั้งปวง เพื่อยุติสถานการณ์การก่อความไม่สงบและพิทักษ์ประชาชน
2.4 จัดให้มีกองอำนวยการเสริมสร้างสันติในระดับจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ/ตำบล ในลักษณะพลเรือน ตำรวจ ทหาร เพื่อสร้างความเข้มแข็งระดับภูมิภาคตั้งแต่ระดับท้องถิ่น (ตำบล) ขึ้นไป
2.5 ได้จัดการเรื่องความสัมพันธ์ในทางบังคับบัญชา เพื่อให้สายการบังคับบัญชาสั้น ส่วนจังหวัดจะมุ่งเน้นงานด้านปกครองและพัฒนาตามแนวทางผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ มี ผบก.จว. และนายทหารยศ พล.ต./พล.ร.ต./จากกองทัพที่เกี่ยวข้องตามที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพมอบหมายเป็นรองผู้อำนวยการในแต่ละจังหวัดมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและประสานการปฏิบัติอย่างใกล้ชิดกับกองทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า และ ศปก.ตร.ส่วนหน้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--