แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประกอบการพิจารณา แล้วให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดนิยามคำว่า “สิทธิมนุษยชน” เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฯ และมีความเป็นสากลมากขึ้น (ร่างมาตรา 4)
3. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจาก 11 คน เป็น 7 คน เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฯ และแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการและกรรมการ รวมถึงหลักเกณฑ์การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ เพื่อให้ความชัดเจนและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ (ร่างมาตรา 6,7,8,13,14 และ 16)
4. กำหนดองค์ประกอบ เงื่อนไข หน้าที่ และมติของคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ (ร่างมาตรา 9)
5. กำหนดให้คณะกรรมการเป็นผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลา โดยได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ประโยชน์ตอบแทนอื่น และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (ร่างมาตรา 17)
6. ให้มีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล รวมทั้งปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสำนักงานให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 18,19)
7. กำหนดให้คณะกรรมการเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ก.ส.) เป็นผู้พิจารณาการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือผู้ทำคุณประโยชน์ด้านสิทธิมนุษยชน (ร่างมาตรา 22)
8. กำหนดให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อรัฐสภาเพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุน (ร่างมาตรา 33)
9. กำหนดให้คณะกรรมการดำเนินการเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองหรือฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม รวมทั้งมีอำนาจในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือผู้ที่เห็นสมควรเป็นผู้รับผิดชอบคดี (ร่างมาตรา 48,49)
10.กำหนดให้อายุความในการฟ้องคดีต่อศาลสะดุดหยุดนับแต่วันที่คณะกรรมการรับคำร้อง (ร่างมาตรา 50)
11.กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนสิทธิมนุษยชนขึ้นในสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยให้อยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารกองทุน และให้มีการติดตามประเมินผลโดยคณะกรรมการติดตามและประเมินผลที่เป็นอิสระ (ร่างมาตรา 51-63)
12 กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง (ร่างมาตรา 67-77)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ร่างมาตรา 3)
2. กำหนดนิยามคำว่า “สิทธิมนุษยชน” เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฯ และมีความเป็นสากลมากขึ้น (ร่างมาตรา 4)
3. แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจาก 11 คน เป็น 7 คน เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฯ และแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการและกรรมการ รวมถึงหลักเกณฑ์การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ เพื่อให้ความชัดเจนและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ (ร่างมาตรา 6,7,8,13,14 และ 16)
4. กำหนดองค์ประกอบ เงื่อนไข หน้าที่ และมติของคณะกรรมการสรรหากรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ (ร่างมาตรา 9)
5. กำหนดให้คณะกรรมการเป็นผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลา โดยได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ประโยชน์ตอบแทนอื่น และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (ร่างมาตรา 17)
6. ให้มีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล รวมทั้งปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสำนักงานให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (ร่างมาตรา 18,19)
7. กำหนดให้คณะกรรมการเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ก.ส.) เป็นผู้พิจารณาการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่เจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือผู้ทำคุณประโยชน์ด้านสิทธิมนุษยชน (ร่างมาตรา 22)
8. กำหนดให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อรัฐสภาเพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุน (ร่างมาตรา 33)
9. กำหนดให้คณะกรรมการดำเนินการเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองหรือฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรม รวมทั้งมีอำนาจในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่สิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือผู้ที่เห็นสมควรเป็นผู้รับผิดชอบคดี (ร่างมาตรา 48,49)
10.กำหนดให้อายุความในการฟ้องคดีต่อศาลสะดุดหยุดนับแต่วันที่คณะกรรมการรับคำร้อง (ร่างมาตรา 50)
11.กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนสิทธิมนุษยชนขึ้นในสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยให้อยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารกองทุน และให้มีการติดตามประเมินผลโดยคณะกรรมการติดตามและประเมินผลที่เป็นอิสระ (ร่างมาตรา 51-63)
12 กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง (ร่างมาตรา 67-77)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--