คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้ร่างกฎกระทรวงมีผลใช้บังคับเมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาได้ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชี้แจงว่าคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ร่วมกับผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างส่วนราชการที่จะรับผิดชอบแก้ไขปัญหาความไม่สงบเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนำแนวทางการจัดองค์ประกอบของ “ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า” ในปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้อง ข้อจำกัด และปัจจัยภายใน ภายนอกที่เกี่ยวข้อง แล้วกำหนดรูปแบบส่วนราชการที่สามารถแก้ไขปัญหา และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน และแนวโน้มสถานการณ์ในอนาคตโดยเห็นควรจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นส่วนราชการเทียบระดับกองบัญชาการ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการถวายความปลอดภัยสถาบันพระมหากษัตริย์ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม สืบสวนและสอบสวนการกระทำความผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน ตลอดจนรักษาความมั่นคงของชาติ ในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยจัดเนื้องานที่ปฏิบัติอยู่แล้ว และมีลักษณะเดียวกัน หรือต้องประสานกันอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ให้เป็นหน่วยงานต่าง ๆ สังกัด “ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้” ดังนี้
- กองบังคับการอำนวยการ
- กองบังคับการสืบสวนสอบสวน
- ศูนย์ฝึกอบรม
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ
- ตำรวจภูธรจังหวัด (ปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส)
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ตามร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชี้แจงว่าคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ร่วมกับผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างส่วนราชการที่จะรับผิดชอบแก้ไขปัญหาความไม่สงบเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนำแนวทางการจัดองค์ประกอบของ “ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า” ในปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้อง ข้อจำกัด และปัจจัยภายใน ภายนอกที่เกี่ยวข้อง แล้วกำหนดรูปแบบส่วนราชการที่สามารถแก้ไขปัญหา และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน และแนวโน้มสถานการณ์ในอนาคตโดยเห็นควรจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นส่วนราชการเทียบระดับกองบัญชาการ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการถวายความปลอดภัยสถาบันพระมหากษัตริย์ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม สืบสวนและสอบสวนการกระทำความผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน ตลอดจนรักษาความมั่นคงของชาติ ในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยจัดเนื้องานที่ปฏิบัติอยู่แล้ว และมีลักษณะเดียวกัน หรือต้องประสานกันอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ให้เป็นหน่วยงานต่าง ๆ สังกัด “ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้” ดังนี้
- กองบังคับการอำนวยการ
- กองบังคับการสืบสวนสอบสวน
- ศูนย์ฝึกอบรม
- กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ
- ตำรวจภูธรจังหวัด (ปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส)
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ตามร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--