เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดการจัดทำ ปัก ติดตั้งป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ หรือสัญญาณอย่างอื่น
ขีดเส้น เขียนข้อความ หรือเครื่องหมายอื่นใด สำหรับการจราจรบนทางหลวงพิเศษทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท
และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดการจัดทำ ปัก ติดตั้งป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ หรือสัญญาณอย่างอื่น ขีดเส้น เขียนข้อความ หรือเครื่องหมายอื่นใด สำหรับการจราจรบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง มีดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม “รถ” “รถยนต์””รถจักรยานยนต์” “รถบรรทุก” “รถโดยสารประจำทาง” “รถจักรยาน” “เครื่องหมายจราจร” “ช่องเดินรถ” “ทางเดินรถทางเดียว” “ทางร่วมทางแยก” “เขตปลอดภัย” “ผู้ขับขี่” และ “คนเดินเท้า” เป็นต้น (ร่างข้อ 2)
2. กำหนดให้จัดทำ ปัก ติดตั้งป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร สัญญาณ ขีดเส้น เขียนข้อความ สำหรับการจราจรบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทาน (ร่างข้อ 3)
3. กำหนดเครื่องหมายจราจรแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ “ป้ายจราจร” และ “เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง” (ร่างข้อ 4)
4. กำหนดป้ายจราจรแบ่งเป็น 3 ประเภท “ป้ายบังคับ” “ป้ายเตือน” และ “ป้ายแนะนำ” (ร่างข้อ 5)
5. กำหนดป้ายบังคับให้เป็นไปตามที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด ซึ่งปรากฏตาม ตัวอย่างท้ายกฎกระทรวง รวม 5 ป้าย ได้แก่ ป้าย “หยุด” ป้าย “ห้ามแซง” ป้าย “ห้ามรถยนต์ผ่าน” ป้าย “ให้เดินรถทางเดียว” เป็นต้น (ร่างข้อ 7)
6. กำหนดป้ายเตือนแบ่งเป็น 3 ประเภท
(1) ป้ายเตือนตามรูปแบบ และลักษณะที่กำหนด
(2) ป้ายเตือนที่แสดงด้วยข้อความ หรือสัญลักษณ์ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน
(3) ป้ายเตือนในงานก่อสร้าง (ร่างข้อ 9)
7. กำหนดป้ายเตือนที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด ซึ่งปรากฏตามตัวอย่างท้ายกฎกระทรวง รวม 42 ป้าย ได้แก่ ป้าย “ทางโค้งต่าง ๆ” ป้าย “สะพานแคบ” ป้าย “ทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้นทาง” ป้าย “ทางลื่น” ป้าย “โรงเรียนระวังเด็ก” เป็นต้น (ร่างข้อ 10)
8. กำหนดป้ายเตือนในงานก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งปรากฏตามตัวอย่างท้ายกฎกระทรวง รวม 9 ป้าย ได้แก่ ป้าย “คนทำงาน” ป้าย “ทางเบี่ยงซ้าย” ป้าย “สำรวจทาง” เป็นต้น (ร่างข้อ 12)
9. กำหนดป้ายแนะนำซึ่งปรากฏตามตัวอย่างท้ายกฎกระทรวง เป็นป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 2 ชนิด คือ ชนิดพื้นสีขาว และชนิดพื้นสีเขียว เพื่อแนะนำผู้ใช้ทางให้เดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางได้ถูกต้อง (ร่างข้อ 13)
10. กำหนดเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
(1) เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับ และ
(2) เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทเตือน (ร่างข้อ 14)
11. กำหนดเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับให้เป็นไปตามที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะซึ่งปรากฏตามตัวอย่างท้ายกฎกระทรวงในข้อ 15
ก. เครื่องหมายจราจรตามแนวทางเดินรถ ได้แก่ “เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ” “เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง” เป็นต้น
ข. เครื่องหมายจราจรขวางแนวทางเดินรถ ได้แก่ “เส้นแนวหยุด” “เส้นทางข้าม” เป็นต้น
ค. เครื่องหมายอื่น ๆ ได้แก่ “ลูกศร” “ให้ทาง” “ช่องเดินรถมวลชน” เป็นต้น (ร่างข้อ 15)
12. กำหนดเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทเตือนให้เป็นไปตามที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด ซึ่งปรากฏตามตัวอย่างท้ายกฎกระทรวง รวม 6 ประเภท ได้แก่ “เส้นขอบทาง” “เส้นทางรถไฟผ่าน” เป็นต้น (ร่างข้อ 16)
13. กำหนดอุปกรณ์จราจร ได้แก่ สิ่งใด ๆ ที่แสดง ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฏไว้ในเขตทางหลวงเพื่อประโยชน์ต่อการจัดการจราจร เช่น กรวยยาง หลักนำทาง แผงกั้น เป็นต้น ซึ่งปรากฏตามตัวอย่างท้ายกฎกระทรวง (ร่างข้อ 17)
14. กำหนดสัญญาณจราจร ได้แก่ เครื่องหมายควบคุมการจราจรที่เป็นโคมสัญญาณไฟจราจรหรือสัญญาณที่เจ้าหน้าที่แสดงให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติ มี 2 ประเภท คือ
(1) สัญญาณไฟจราจร
(2) สัญญาณธง (ร่างข้อ 18)
15. กำหนดสัญญาณไฟจราจร หมายถึง โคมสัญญาณไฟจราจรที่ใช้ควบคุมการจราจร รวม 5 ประเภท ได้แก่ “โคมสัญญาณไฟจราจรสีแดง” “โคมสัญญาณไฟจราจรสีเขียว” “โคมสัญญาณไฟจราจรสีเหลืองอำพัน” เป็นต้น (ร่างข้อ 19)
16. กำหนดสัญญาณธง ได้แก่ สัญญาณที่เจ้าหน้าที่แสดงด้วยการยกธงมีความหมาย ดังนี้
(1) เจ้าหน้าที่ยกธงแดง หมายความว่า ให้ผู้ขับขี่หยุดรถ
(2) เจ้าหน้าที่ยกธงเขียว หมายความว่า ให้ผู้ขับขี่ขับรถต่อไปได้ (ร่างข้อ 20)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--
ขีดเส้น เขียนข้อความ หรือเครื่องหมายอื่นใด สำหรับการจราจรบนทางหลวงพิเศษทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท
และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดการจัดทำ ปัก ติดตั้งป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร เครื่องหมายสัญญาณ หรือสัญญาณอย่างอื่น ขีดเส้น เขียนข้อความ หรือเครื่องหมายอื่นใด สำหรับการจราจรบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง มีดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม “รถ” “รถยนต์””รถจักรยานยนต์” “รถบรรทุก” “รถโดยสารประจำทาง” “รถจักรยาน” “เครื่องหมายจราจร” “ช่องเดินรถ” “ทางเดินรถทางเดียว” “ทางร่วมทางแยก” “เขตปลอดภัย” “ผู้ขับขี่” และ “คนเดินเท้า” เป็นต้น (ร่างข้อ 2)
2. กำหนดให้จัดทำ ปัก ติดตั้งป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร สัญญาณ ขีดเส้น เขียนข้อความ สำหรับการจราจรบนทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และทางหลวงสัมปทาน (ร่างข้อ 3)
3. กำหนดเครื่องหมายจราจรแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ “ป้ายจราจร” และ “เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง” (ร่างข้อ 4)
4. กำหนดป้ายจราจรแบ่งเป็น 3 ประเภท “ป้ายบังคับ” “ป้ายเตือน” และ “ป้ายแนะนำ” (ร่างข้อ 5)
5. กำหนดป้ายบังคับให้เป็นไปตามที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด ซึ่งปรากฏตาม ตัวอย่างท้ายกฎกระทรวง รวม 5 ป้าย ได้แก่ ป้าย “หยุด” ป้าย “ห้ามแซง” ป้าย “ห้ามรถยนต์ผ่าน” ป้าย “ให้เดินรถทางเดียว” เป็นต้น (ร่างข้อ 7)
6. กำหนดป้ายเตือนแบ่งเป็น 3 ประเภท
(1) ป้ายเตือนตามรูปแบบ และลักษณะที่กำหนด
(2) ป้ายเตือนที่แสดงด้วยข้อความ หรือสัญลักษณ์ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน
(3) ป้ายเตือนในงานก่อสร้าง (ร่างข้อ 9)
7. กำหนดป้ายเตือนที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด ซึ่งปรากฏตามตัวอย่างท้ายกฎกระทรวง รวม 42 ป้าย ได้แก่ ป้าย “ทางโค้งต่าง ๆ” ป้าย “สะพานแคบ” ป้าย “ทางข้ามทางรถไฟมีเครื่องกั้นทาง” ป้าย “ทางลื่น” ป้าย “โรงเรียนระวังเด็ก” เป็นต้น (ร่างข้อ 10)
8. กำหนดป้ายเตือนในงานก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งปรากฏตามตัวอย่างท้ายกฎกระทรวง รวม 9 ป้าย ได้แก่ ป้าย “คนทำงาน” ป้าย “ทางเบี่ยงซ้าย” ป้าย “สำรวจทาง” เป็นต้น (ร่างข้อ 12)
9. กำหนดป้ายแนะนำซึ่งปรากฏตามตัวอย่างท้ายกฎกระทรวง เป็นป้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 2 ชนิด คือ ชนิดพื้นสีขาว และชนิดพื้นสีเขียว เพื่อแนะนำผู้ใช้ทางให้เดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางได้ถูกต้อง (ร่างข้อ 13)
10. กำหนดเครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
(1) เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับ และ
(2) เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทเตือน (ร่างข้อ 14)
11. กำหนดเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับให้เป็นไปตามที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะซึ่งปรากฏตามตัวอย่างท้ายกฎกระทรวงในข้อ 15
ก. เครื่องหมายจราจรตามแนวทางเดินรถ ได้แก่ “เส้นแบ่งทิศทางจราจรปกติ” “เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง” เป็นต้น
ข. เครื่องหมายจราจรขวางแนวทางเดินรถ ได้แก่ “เส้นแนวหยุด” “เส้นทางข้าม” เป็นต้น
ค. เครื่องหมายอื่น ๆ ได้แก่ “ลูกศร” “ให้ทาง” “ช่องเดินรถมวลชน” เป็นต้น (ร่างข้อ 15)
12. กำหนดเครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทเตือนให้เป็นไปตามที่แสดงความหมายตามรูปแบบและลักษณะที่กำหนด ซึ่งปรากฏตามตัวอย่างท้ายกฎกระทรวง รวม 6 ประเภท ได้แก่ “เส้นขอบทาง” “เส้นทางรถไฟผ่าน” เป็นต้น (ร่างข้อ 16)
13. กำหนดอุปกรณ์จราจร ได้แก่ สิ่งใด ๆ ที่แสดง ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฏไว้ในเขตทางหลวงเพื่อประโยชน์ต่อการจัดการจราจร เช่น กรวยยาง หลักนำทาง แผงกั้น เป็นต้น ซึ่งปรากฏตามตัวอย่างท้ายกฎกระทรวง (ร่างข้อ 17)
14. กำหนดสัญญาณจราจร ได้แก่ เครื่องหมายควบคุมการจราจรที่เป็นโคมสัญญาณไฟจราจรหรือสัญญาณที่เจ้าหน้าที่แสดงให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติ มี 2 ประเภท คือ
(1) สัญญาณไฟจราจร
(2) สัญญาณธง (ร่างข้อ 18)
15. กำหนดสัญญาณไฟจราจร หมายถึง โคมสัญญาณไฟจราจรที่ใช้ควบคุมการจราจร รวม 5 ประเภท ได้แก่ “โคมสัญญาณไฟจราจรสีแดง” “โคมสัญญาณไฟจราจรสีเขียว” “โคมสัญญาณไฟจราจรสีเหลืองอำพัน” เป็นต้น (ร่างข้อ 19)
16. กำหนดสัญญาณธง ได้แก่ สัญญาณที่เจ้าหน้าที่แสดงด้วยการยกธงมีความหมาย ดังนี้
(1) เจ้าหน้าที่ยกธงแดง หมายความว่า ให้ผู้ขับขี่หยุดรถ
(2) เจ้าหน้าที่ยกธงเขียว หมายความว่า ให้ผู้ขับขี่ขับรถต่อไปได้ (ร่างข้อ 20)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--