แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
การรถไฟแห่งประเทศไทย
กระทรวงการคลัง
ธนาคารกรุงไทย
กระทรวงคมนาคม
สัญญาเงินกู้
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ต่อไปอีก 1 ปี โดยมีกระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้ค้ำประกันตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอโดยให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ ไปดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้งให้ดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 (เรื่อง การปรับโครงสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย) ด้วย
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี (20 กุมภาพันธ์ 2550) ได้ต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย เงินกู้ตั๋วสัญญาใช้เงิน 500 ล้านบาท และเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 300 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งวงเงินกู้ดังกล่าวครบกำหนดอายุสัญญาแล้วเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2551 และจากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ รฟท. ไปพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาทางการเงินของ รฟท. ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ นั้น เนื่องจาก รฟท. ประสบปัญหาการขาดทุนจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2550 ขาดทุน 9,307 ล้านบาท และมีหนี้สะสมว่า 51,000 ล้านบาท รฟท. จึงได้จัดทำแผนปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของ รฟท. ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550
คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของ กนร. เพื่อพิจารณาและติดตามการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของ รฟท. โดยกำหนดกรอบการพิจารณาแผนปรับโครงสร้างฯ ของ รฟท. ในเรื่องเกี่ยวกับให้มีการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของ รฟท. แนวทางและกลยุทธ์การปรับปรุงสัดส่วนและคุณภาพการให้บริการของขบวนรถขนส่งสินค้า ขนส่งผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ และผู้โดยสารเชิงสังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงข่ายระบบราง การจัดอัตรากำลัง การกำหนดแรงจูงใจและแผนการพัฒนาบุคลากรของ รฟท. รวมทั้งแนวทางการให้ภาครัฐสนับสนุนการแก้ไขภาระหนี้สินและการลงทุนเพิ่มเติมให้แก่ รฟท. ภายหลังจากที่ รฟท. ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่ภาครัฐกำหนด
จากงบประมาณทำการประจำปี 2551 รฟท. คาดว่าจะมีประมาณการรายได้ 9,292 ล้านบาท รายจ่าย 11,863 ล้านบาท และมีผลประกอบการเบื้องต้น (EBIDA) ขาดทุน 2,571 ล้านบาท และเมื่อหักรายจ่ายอื่น ๆ (บำเหน็จบำนาญ ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยจ่าย และค่าใช้จ่ายเงินกู้) อีกจำนวน 7,645 ล้านบาท จะทำให้มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงาน 10,216 ล้านบาท ดังนั้น รฟท. จึงจำเป็นต้องมีวงเงินกู้ 800 ล้านบาท ไว้สำหรับเป็นเงินสดสำรองใช้ในกรณีที่ รฟท. ต้องกระทบกระเทือนหรือหยุดชะงัก ซึ่งคณะกรรมการ รฟท. ได้มีมติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 6/2551 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--
กระทรวงคมนาคมรายงานว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี (20 กุมภาพันธ์ 2550) ได้ต่ออายุสัญญาเงินกู้วงเงิน 800 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย เงินกู้ตั๋วสัญญาใช้เงิน 500 ล้านบาท และเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 300 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งวงเงินกู้ดังกล่าวครบกำหนดอายุสัญญาแล้วเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2551 และจากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ รฟท. ไปพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาทางการเงินของ รฟท. ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ นั้น เนื่องจาก รฟท. ประสบปัญหาการขาดทุนจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2550 ขาดทุน 9,307 ล้านบาท และมีหนี้สะสมว่า 51,000 ล้านบาท รฟท. จึงได้จัดทำแผนปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของ รฟท. ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550
คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของ กนร. เพื่อพิจารณาและติดตามการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของ รฟท. โดยกำหนดกรอบการพิจารณาแผนปรับโครงสร้างฯ ของ รฟท. ในเรื่องเกี่ยวกับให้มีการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของ รฟท. แนวทางและกลยุทธ์การปรับปรุงสัดส่วนและคุณภาพการให้บริการของขบวนรถขนส่งสินค้า ขนส่งผู้โดยสารเชิงพาณิชย์ และผู้โดยสารเชิงสังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงข่ายระบบราง การจัดอัตรากำลัง การกำหนดแรงจูงใจและแผนการพัฒนาบุคลากรของ รฟท. รวมทั้งแนวทางการให้ภาครัฐสนับสนุนการแก้ไขภาระหนี้สินและการลงทุนเพิ่มเติมให้แก่ รฟท. ภายหลังจากที่ รฟท. ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่ภาครัฐกำหนด
จากงบประมาณทำการประจำปี 2551 รฟท. คาดว่าจะมีประมาณการรายได้ 9,292 ล้านบาท รายจ่าย 11,863 ล้านบาท และมีผลประกอบการเบื้องต้น (EBIDA) ขาดทุน 2,571 ล้านบาท และเมื่อหักรายจ่ายอื่น ๆ (บำเหน็จบำนาญ ค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยจ่าย และค่าใช้จ่ายเงินกู้) อีกจำนวน 7,645 ล้านบาท จะทำให้มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงาน 10,216 ล้านบาท ดังนั้น รฟท. จึงจำเป็นต้องมีวงเงินกู้ 800 ล้านบาท ไว้สำหรับเป็นเงินสดสำรองใช้ในกรณีที่ รฟท. ต้องกระทบกระเทือนหรือหยุดชะงัก ซึ่งคณะกรรมการ รฟท. ได้มีมติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 6/2551 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--