คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการจัดงาน “มั่นใจไทยแลนด์ : การลงทุนเพื่ออนาคตของคนไทย” ตามที่สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ทั้ง 5 ข้อ ดังนี้
1. เห็นชอบให้จัดงาน “มั่นใจไทยแลนด์ : การลงทุนเพื่ออนาคตของคนไทย” โดยให้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ เป็นผู้รับผิดชอบ และอนุมัติค่าใช้จ่ายจำนวน 30 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2551 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้แก่สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อจัดงาน ดังกล่าวโดยดำเนินการตามระเบียบทางราชการ และเป็นผู้ทำความตกลงรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ
2. แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน “มั่นใจไทยแลนด์ : การลงทุนเพื่ออนาคตของคนไทย” โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกรรมการ โดย สศช. และสำนักงานพัฒนาบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม
3. มอบหมายกระทรวงการคลัง (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) ประสานงานรัฐวิสาหกิจ และมอบหมาย สศช. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประสานงานกับภาคเอกชน เพื่อจัดนิทรรศการแสดงผลงานและความก้าวหน้าของแผนงานและโครงการ และมอบหมาย สศช. และสำนักงานพัฒนาบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงผลงานความก้าวหน้า และสาระสำคัญของการจัดประชุมวิชาการ
4. มอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดเตรียมข้อมูลสาระสำคัญโครงการ วงเงินลงทุน ระยะเวลา ดำเนินงาน รูปแบบการลงทุน และสถานะความก้าวหน้าของโครงการ รวมทั้งร่วมจัดนิทรรศการแสดงแผนงานและโครงการสำคัญ ๆ
5. มอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดสดงานสัมมนาทั้งวิทยุและโทรทัศน์ในครั้งนี้ด้วย
สาระสำคัญของโครงการ “มั่นใจไทยแลนด์ : การลงทุนเพื่ออนาคตของคนไทย”
1.วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในโครงการลงทุนของภาครัฐ และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ นักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เอกอัครราชทูตของประเทศที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟังแนวนโยบายของรัฐบาลจากนายกรัฐมนตรี รับทราบข้อมูลแผนงาน/โครงการที่สำคัญ และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ตลอดจนชมนิทรรศการจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน
2. การนำเสนอเนื้อหาสาระของแผนงานและโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
2.1 โครงการของภาคราชการ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
(1) ด้านการขนส่ง เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวง 4 ช่องจราจร โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เป็นต้น
(2) ด้านการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการชลประทาน เช่น แผนการปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำขนาดเล็ก แผนการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน และแผนการบรรเทาอุทกภัย เป็นต้น
(3) ด้านการพัฒนาสาธารณสุข เช่น แผนงานด้านการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข แผนงานลดปัจจัยเสี่ยงและคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
(4) ด้านการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ เช่น แผนงาน/โครงการยกระดับ คุณภาพการศึกษาด้วยนวัตกรรมและสื่อทันสมัย เป็นต้น
2.2 โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ได้แก่
(1) ด้านการขนส่ง เช่น โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โครงการระบบรถไฟชานเมือง โครงการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 เป็นต้น
(2) ด้านพลังงาน เช่น โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า โครงการพัฒนาของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โครงการด้านพลังงานทดแทน เป็นต้น
(3) ด้านสื่อสารโทรคมนาคม เช่น โครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 เป็นต้น
(4) ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุเพื่อสนับสนุนการลงทุนขนาดย่อมของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด เป็นต้น
2.3 โครงการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เช่น โครงการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ปูนซิเมนต์และก่อสร้าง ปิโตรเคมี เหล็กและเหล็กกล้า อาหาร และโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น
3. กิจกรรมภายในงาน
งานมั่นใจไทยแลนด์ : การลงทุนเพื่ออนาคตของคนไทย จะมีกิจกรรมประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ การจัดสัมมนาวิชาการ การจัดนิทรรศการ และการสัมมนากลุ่มย่อย โดยมีกรอบการดำเนินงานเบื้องต้น ดังนี้
3.1 การจัดสัมมนาวิชาการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับฟังแนวนโยบายของภาครัฐ และรับทราบข้อมูลแผนงาน/โครงการที่สำคัญ และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่าง ๆ ของทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน
3.2 การจัดนิทรรศการ มีการแสดงแผนงาน/โครงการที่สำคัญ ที่จะพัฒนาและลงทุนในอนาคต ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ภายใต้แนวคิดการนำเสนอที่ผูกเป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่อง ให้ผู้เข้าชมได้เห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงของการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบการเข้าชม
3.3 การสัมมนากลุ่มย่อย มีห้องประชุมย่อยสำหรับนักลงทุนและสถาบันการเงินที่สนใจสอบถามรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมจากหน่วยงานเจ้าของโครงการ รวมทั้งมีส่วนให้คำปรึกษาการลงทุน
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานประสานงาน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพลังงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การท่าเรือแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) การเคหะแห่งชาติ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
หน่วยงานภาคเอกชน สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
5.วันเวลาและสถานที่ วันที่ 13-15 กันยายน 2551 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--
1. เห็นชอบให้จัดงาน “มั่นใจไทยแลนด์ : การลงทุนเพื่ออนาคตของคนไทย” โดยให้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ เป็นผู้รับผิดชอบ และอนุมัติค่าใช้จ่ายจำนวน 30 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2551 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้แก่สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อจัดงาน ดังกล่าวโดยดำเนินการตามระเบียบทางราชการ และเป็นผู้ทำความตกลงรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ
2. แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงาน “มั่นใจไทยแลนด์ : การลงทุนเพื่ออนาคตของคนไทย” โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกรรมการ โดย สศช. และสำนักงานพัฒนาบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม
3. มอบหมายกระทรวงการคลัง (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) ประสานงานรัฐวิสาหกิจ และมอบหมาย สศช. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประสานงานกับภาคเอกชน เพื่อจัดนิทรรศการแสดงผลงานและความก้าวหน้าของแผนงานและโครงการ และมอบหมาย สศช. และสำนักงานพัฒนาบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงผลงานความก้าวหน้า และสาระสำคัญของการจัดประชุมวิชาการ
4. มอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดเตรียมข้อมูลสาระสำคัญโครงการ วงเงินลงทุน ระยะเวลา ดำเนินงาน รูปแบบการลงทุน และสถานะความก้าวหน้าของโครงการ รวมทั้งร่วมจัดนิทรรศการแสดงแผนงานและโครงการสำคัญ ๆ
5. มอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดสดงานสัมมนาทั้งวิทยุและโทรทัศน์ในครั้งนี้ด้วย
สาระสำคัญของโครงการ “มั่นใจไทยแลนด์ : การลงทุนเพื่ออนาคตของคนไทย”
1.วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในโครงการลงทุนของภาครัฐ และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ นักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เอกอัครราชทูตของประเทศที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับฟังแนวนโยบายของรัฐบาลจากนายกรัฐมนตรี รับทราบข้อมูลแผนงาน/โครงการที่สำคัญ และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ตลอดจนชมนิทรรศการจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน
2. การนำเสนอเนื้อหาสาระของแผนงานและโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
2.1 โครงการของภาคราชการ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
(1) ด้านการขนส่ง เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวง 4 ช่องจราจร โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เป็นต้น
(2) ด้านการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการชลประทาน เช่น แผนการปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำขนาดเล็ก แผนการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน และแผนการบรรเทาอุทกภัย เป็นต้น
(3) ด้านการพัฒนาสาธารณสุข เช่น แผนงานด้านการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข แผนงานลดปัจจัยเสี่ยงและคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
(4) ด้านการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ เช่น แผนงาน/โครงการยกระดับ คุณภาพการศึกษาด้วยนวัตกรรมและสื่อทันสมัย เป็นต้น
2.2 โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ได้แก่
(1) ด้านการขนส่ง เช่น โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน โครงการระบบรถไฟชานเมือง โครงการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 เป็นต้น
(2) ด้านพลังงาน เช่น โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า โครงการพัฒนาของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โครงการด้านพลังงานทดแทน เป็นต้น
(3) ด้านสื่อสารโทรคมนาคม เช่น โครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 เป็นต้น
(4) ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุเพื่อสนับสนุนการลงทุนขนาดย่อมของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด เป็นต้น
2.3 โครงการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เช่น โครงการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ปูนซิเมนต์และก่อสร้าง ปิโตรเคมี เหล็กและเหล็กกล้า อาหาร และโรงพยาบาลเอกชน เป็นต้น
3. กิจกรรมภายในงาน
งานมั่นใจไทยแลนด์ : การลงทุนเพื่ออนาคตของคนไทย จะมีกิจกรรมประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ การจัดสัมมนาวิชาการ การจัดนิทรรศการ และการสัมมนากลุ่มย่อย โดยมีกรอบการดำเนินงานเบื้องต้น ดังนี้
3.1 การจัดสัมมนาวิชาการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับฟังแนวนโยบายของภาครัฐ และรับทราบข้อมูลแผนงาน/โครงการที่สำคัญ และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่าง ๆ ของทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน
3.2 การจัดนิทรรศการ มีการแสดงแผนงาน/โครงการที่สำคัญ ที่จะพัฒนาและลงทุนในอนาคต ของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ภายใต้แนวคิดการนำเสนอที่ผูกเป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่อง ให้ผู้เข้าชมได้เห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงของการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบการเข้าชม
3.3 การสัมมนากลุ่มย่อย มีห้องประชุมย่อยสำหรับนักลงทุนและสถาบันการเงินที่สนใจสอบถามรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมจากหน่วยงานเจ้าของโครงการ รวมทั้งมีส่วนให้คำปรึกษาการลงทุน
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานประสานงาน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพลังงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การท่าเรือแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) การเคหะแห่งชาติ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
หน่วยงานภาคเอกชน สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
5.วันเวลาและสถานที่ วันที่ 13-15 กันยายน 2551 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--