แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี
ชูศักดิ์ ศิรินิล
สำนักงบประมาณ
สำนักงาน ก.พ.
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของแต่ละกระทรวง และสรุปผลการวิเคราะห์ในภาพรวม และมอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อทบทวนและ ปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของแต่ละกระทรวงให้มีความถูกต้องเหมาะสม มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงสอดคล้องกันภายในกระทรวงและระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสามารถเชื่อมโยงไปสู่ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายเชิงนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดินได้ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ข้อเท็จจริง
1. ทุกส่วนราชการได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีและจัดส่งมายังสำนักงาน ก.พ.ร.ครบถ้วนแล้วรวมทั้งสิ้น 155 หน่วยงาน
2. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้นำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของกระทรวงมาวิเคราะห์ในภาพรวม เพื่อให้ทราบถึงทิศทางการดำเนินงานว่ามีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-พ.ศ.2554 หรือไม่ประการใด แล้วเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2551 ซึ่งผลจากการวิเคราะห์สรุปได้ ดังนี้
2.1 การวิเคราะห์ความสอดคล้องของการถ่ายทอดนโยบาย เป้าหมายเชิงนโยบาย และตัวชี้วัดตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อนำมากำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และตัวชี้วัดในระดับกระทรวงและในระดับกรม ตามลำดับ พบว่า
1) แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของบางกระทรวงส่วนใหญ่ยังขาดการบูรณาการร่วมกันภายในกระทรวงและกรม โดยเฉพาะการกำหนดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่ยังขาดความสัมพันธ์เชื่อมโยงภายใน ซึ่งกันและกัน จึงอาจเป็นเหตุให้ผลการดำเนินงานของกรมไม่สามารถเชื่อมโยงความสำเร็จขึ้นไปยังระดับกระทรวง และอาจกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินได้
2) ผลสัมฤทธิ์ของบางประเด็นยุทธศาสตร์ต้องอาศัยความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกระทรวงและกรมอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายเชิงนโยบายของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดร่วมกันระหว่างกระทรวงและกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) ผลสัมฤทธิ์ของบางกระทรวงตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี นั้น อาจได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่มิอาจควบคุมได้ จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและติดตามสถานการณ์อย่างเป็นระบบ รวมถึงการทบทวนยุทธศาสตร์ให้มีความเหมาะสมต่อไป
4) แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของบางกระทรวงยังคงมีการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่ยังไม่ถูกต้องตามหลักการหรืออยู่ในระดับที่ยังไม่ท้าทายเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องมอบหมายให้คณะกรรมการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของ ก.พ.ร. เป็นผู้เจรจาและกำหนดค่าเป้าหมายให้มีความเหมาะสมและถูกต้องต่อไป
5) แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2554 นโยบายที่ 8 การบริหารจัดการที่ดี ซึ่งมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล) เป็นเจ้าภาพ นโยบาย พบว่ามีส่วนราชการ จำนวน 128 ส่วนราชการได้กำหนดไว้เป็นยุทธศาสตร์ของหน่วยงานแล้ว และในบางกระทรวง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพลังงาน ได้นำประเด็นนโยบายที่ 8 เรื่องการบริหารจัดการที่ดีมารวมกำหนดไว้เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ในระดับกระทรวง อย่างไรก็ดีพบว่ายังคงมีส่วนราชการอีกจำนวน 27 ส่วนราชการที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้เป็นยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ซึ่งอาจส่งผลต่อการถ่ายทอดนโยบายดังกล่าวสู่การปฏิบัติได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--
1. ทุกส่วนราชการได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีและจัดส่งมายังสำนักงาน ก.พ.ร.ครบถ้วนแล้วรวมทั้งสิ้น 155 หน่วยงาน
2. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้นำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของกระทรวงมาวิเคราะห์ในภาพรวม เพื่อให้ทราบถึงทิศทางการดำเนินงานว่ามีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-พ.ศ.2554 หรือไม่ประการใด แล้วเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2551 ซึ่งผลจากการวิเคราะห์สรุปได้ ดังนี้
2.1 การวิเคราะห์ความสอดคล้องของการถ่ายทอดนโยบาย เป้าหมายเชิงนโยบาย และตัวชี้วัดตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อนำมากำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และตัวชี้วัดในระดับกระทรวงและในระดับกรม ตามลำดับ พบว่า
1) แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของบางกระทรวงส่วนใหญ่ยังขาดการบูรณาการร่วมกันภายในกระทรวงและกรม โดยเฉพาะการกำหนดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่ยังขาดความสัมพันธ์เชื่อมโยงภายใน ซึ่งกันและกัน จึงอาจเป็นเหตุให้ผลการดำเนินงานของกรมไม่สามารถเชื่อมโยงความสำเร็จขึ้นไปยังระดับกระทรวง และอาจกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินได้
2) ผลสัมฤทธิ์ของบางประเด็นยุทธศาสตร์ต้องอาศัยความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกระทรวงและกรมอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายเชิงนโยบายของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดร่วมกันระหว่างกระทรวงและกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3) ผลสัมฤทธิ์ของบางกระทรวงตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี นั้น อาจได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่มิอาจควบคุมได้ จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและติดตามสถานการณ์อย่างเป็นระบบ รวมถึงการทบทวนยุทธศาสตร์ให้มีความเหมาะสมต่อไป
4) แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของบางกระทรวงยังคงมีการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่ยังไม่ถูกต้องตามหลักการหรืออยู่ในระดับที่ยังไม่ท้าทายเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องมอบหมายให้คณะกรรมการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของ ก.พ.ร. เป็นผู้เจรจาและกำหนดค่าเป้าหมายให้มีความเหมาะสมและถูกต้องต่อไป
5) แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2554 นโยบายที่ 8 การบริหารจัดการที่ดี ซึ่งมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์ ศิรินิล) เป็นเจ้าภาพ นโยบาย พบว่ามีส่วนราชการ จำนวน 128 ส่วนราชการได้กำหนดไว้เป็นยุทธศาสตร์ของหน่วยงานแล้ว และในบางกระทรวง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพลังงาน ได้นำประเด็นนโยบายที่ 8 เรื่องการบริหารจัดการที่ดีมารวมกำหนดไว้เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ในระดับกระทรวง อย่างไรก็ดีพบว่ายังคงมีส่วนราชการอีกจำนวน 27 ส่วนราชการที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้เป็นยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ซึ่งอาจส่งผลต่อการถ่ายทอดนโยบายดังกล่าวสู่การปฏิบัติได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--