คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามมติคณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการแผนการลงทุนด้านสุขภาพ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ประกอบด้วย 4 แผนงาน ได้แก่ แผนงานพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข แผนงานพัฒนาแพทย์/บุคลากรสาธารณสุข แผนงานลดปัจจัยเสี่ยงและคุ้มครองผู้บริโภค และแผนงานพัฒนาระบบข้อมูลและองค์ความรู้ ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ.2551-2555)
สำหรับการก่อสร้างอาคารจอดรถภายในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และการจัดตั้งด่านอาหารและยาตามโครงการพัฒนาศักยภาพการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพจิต และ Regional Referral Mental Center และโครงการก่อสร้างหอประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์การแพทย์และสาธารณสุขไทยเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ให้กำหนดไว้ในงานปกติของกระทรวงสาธารณสุข
2. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงสาระสำคัญของแผนการลงทุนด้านสุขภาพให้ครอบคลุมระบบบริการสุขภาพทั้งระบบของประเทศอย่างมีบูรณาการ โดยให้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโรงพยาบาลในสังกัดต่างๆ เพื่อร่วมปรับปรุงรายละเอียดแผนการลงทุนด้านสุขภาพ ให้ครอบคลุมการปรับปรุงระบบบริการสุขภาพที่เชื่อมต่อกันในทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข โดยเพิ่มสิ่งจูงใจและจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอ ตลอดจนพัฒนาระบบข้อมูลให้ทันสมัยเชื่อมโยงกันทั้งระบบบริการสุขภาพภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข
3. เร่งรัดการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แพทย์ได้รับการคุ้มครองและสร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพ
ทั้งนี้ ให้พิจารณากำหนดแหล่งที่มาของงบประมาณสำหรับการดำเนินงานตามแผนการลงทุนด้านสุขภาพในแต่ละแผนงานให้ชัดเจนทั้งในส่วนของงบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ต่างประเทศและงบประมาณจากแหล่งอื่น เช่น งบประมาณการส่งเสริมสุขภาพของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคเอกชน ตามความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ และนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาในคราวประชุมครั้งต่อไป
ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 สรุปได้ดังนี้
1. สาระสำคัญของแผนการลงทุนพัฒนาสุขภาพของประชาชน
สืบเนื่องจาก คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 โดยมีแผนงานโครงการที่มีลำดับความสำคัญตามนโยบายเร่งด่วนและนโยบาย 4 ปี ดังนั้น ในการผลักดันขับเคลื่อนนโยบายและแผนงานโครงการภายใต้แผนบริหารราชการแผ่นดินฯ ดังกล่าว จึงได้นำเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พิจารณาแผนการพัฒนาสุขภาพของประชาชน โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1.1 สถานการณ์และปัญหาสุขภาพ
ปัจจุบันคนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้นสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้มากขึ้น ถึงร้อยละ 98.75 ในปี 2550 โดยผ่าน 3 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ และกองทุนประกันสุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเจ็บป่วยได้เปลี่ยนแปลงไปสู่โรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซึ่งสามารถป้องกันได้เพิ่มมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
ขณะเดียวกันระบบบริการสุขภาพยังมีปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ 1) รายจ่ายภาครัฐในแต่ละระบบบริการสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระยะ 5-10 ปี ข้างหน้า คาดว่าแนวโน้มค่าใช้จ่ายในแต่ละกองทุนสุขภาพจะเพิ่มขึ้นจาก 162,273.80 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2551 เป็น 237,334.51 ล้านบาทในปี 2554 และเพิ่มสูงขึ้นเป็น 507,993.01 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2561 2) ปัญหาการขาดแคลนและการกระจายบุคลากรทางการแพทย์ไปยังสถานบริการระดับต่างๆ พบว่า สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรของประเทศไทยยังมีสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานโลก ประกอบกับ ปัญหาการลาออกของแพทย์ที่เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 52.8 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 56.1 ในปี 2549 และจำนวนนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาแพทย์ที่มีจำนวนลดลง นอกจากนี้ การกระจายบุคลากรไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนแพทย์ 1 คน ต่อประชากร 867 คน ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แพทย์ 1 คนต้องรับผิดชอบประชากรเป็นจำนวนมากถึง 7,015 คน 3) การเข้าถึงบริการสุขภาพยังมีปัญหา โดยเฉพาะที่สูงกว่าระดับปฐมภูมิ แต่เครือข่ายบริการสาธารณสุขในระดับต่าง ๆ ยังไม่ประสานกันอย่างแท้จริง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยและญาติต้องรับภาระในการส่งต่อ และมีความยุ่งยากในขั้นตอนการเข้ารับบริการ และ 4) ความเป็นธรรมของการเข้าถึงบริการในแต่ละกองทุนสุขภาพยังมีความแตกต่าง เช่น การผ่าท้องคลอด การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ ที่พบว่าผู้ป่วยสิทธิข้าราชการมีอัตราการใช้บริการสูงสุด
1.2 การพัฒนาด้านสุขภาพในระยะต่อไป ต้องให้ความสำคัญใน 4 เรื่อง คือ การปฏิรูประบบบริหารจัดการสาธารณสุข การสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างทางเลือกสุขภาพที่หลากหลาย โดยเฉพาะการพัฒนาแพทย์ทางเลือกและแพทย์แผนไทยให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งการผลักดันนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพระดับนานาชาติ
1.3 ข้อเสนอแผนการลงทุนด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 4 แผนงาน ดังนี้
1) แผนงานด้านการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข ทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ และสร้างความเชื่อมโยงในทุกระดับของการบริการ ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการขยายเครือข่ายและเสริมศักยภาพหน่วยบริการสุขภาพใกล้บ้านให้ทันสมัยได้มาตรฐาน พ.ศ. 2552-2555 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาและยกระดับสถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน และศูนย์บริการสาธารณสุข ให้เป็นศูนย์แพทย์ชุมชน จำนวน 560 แห่ง
(2) โครงการพัฒนาบริการตติยภูมิ ศูนย์โรคหัวใจ ศูนย์โรคมะเร็ง และ เครือข่ายการบาดเจ็บแห่งชาติ พ.ศ. 2551-2555 เพื่อพัฒนาบริการตติยภูมิให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศ (Excellence Center) ด้วยการพัฒนาต่อยอดจากศูนย์ที่มีอยู่เดิมและจัดตั้งขึ้นใหม่ จำนวน 155 แห่ง ประกอบด้วยศูนย์โรคหัวใจ 65 แห่ง ศูนย์โรคมะเร็ง 30 แห่ง และศูนย์ควบคุมการบาดเจ็บ 60 แห่ง
(3) โครงการพัฒนาระบบบริการทุติยภูมิ พ.ศ. 2552-2555 เพื่อพัฒนาโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 119 แห่ง และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) จำนวน 21 แห่ง ให้เป็นศูนย์กลางการบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิ และเพิ่มเตียง 9,376 เตียง
2) แผนงานพัฒนาแพทย์/บุคลากรสาธารณสุข ประกอบด้วย โครงการผลิตและพัฒนาศักยภาพแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข พ.ศ. 2552-2555 เพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอกับความต้องการ ประกอบด้วย แพทย์ 2,962 คน พยาบาลวิชาชีพ ปีละ 1,000 คน รวม 4,000 คน นักวิชาการสาธารณสุข ปีละ 800 คน รวม 3,200 คน และทันตสาธารณสุข ปีละ 400 คน รวม 1,600 คน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทั้งทุนการศึกษาต่อและฝึกอบรม
3) แผนงานลดปัจจัยเสี่ยงและคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่
(1) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย โดยการจัดตั้งศูนย์อำนวยการ ยุทธศาสตร์สุขภาพวิถีชีวิตไทย และการบริหารขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ใน 5 ประเด็น ยุทธศาสตร์สุขภาพวิถีชีวิตไทย
(2) โครงการพัฒนาศักยภาพการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ. 2552-2554 ประกอบด้วย การจัดตั้งด่านอาหารและยา ดำเนินการในพื้นที่ 61 แห่งทั่วประเทศ การจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการก่อสร้างอาคารจอดรถภายในสำนักงานอาหารและยา
(3) โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพจิตและ Regional Referral Mental Center พ.ศ. 2552-2555 โดยดำเนินการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กในพื้นที่เป้าหมาย 3 แห่ง ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น พิษณุโลก และจัดตั้งโรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลกในจังหวัดพิษณุโลก
4) แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลและองค์ความรู้ ประกอบด้วย 2 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการปฏิรูประบบข้อมูลสุขภาพภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552-2555 เน้นการบูรณาการระบบข้อมูลต่าง ๆ ในทุกสถานบริการให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) โครงการก่อสร้างหอประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์การแพทย์และสาธารณสุขไทย เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--
1. เห็นชอบในหลักการแผนการลงทุนด้านสุขภาพ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ประกอบด้วย 4 แผนงาน ได้แก่ แผนงานพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข แผนงานพัฒนาแพทย์/บุคลากรสาธารณสุข แผนงานลดปัจจัยเสี่ยงและคุ้มครองผู้บริโภค และแผนงานพัฒนาระบบข้อมูลและองค์ความรู้ ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ.2551-2555)
สำหรับการก่อสร้างอาคารจอดรถภายในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และการจัดตั้งด่านอาหารและยาตามโครงการพัฒนาศักยภาพการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพจิต และ Regional Referral Mental Center และโครงการก่อสร้างหอประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์การแพทย์และสาธารณสุขไทยเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ให้กำหนดไว้ในงานปกติของกระทรวงสาธารณสุข
2. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงสาระสำคัญของแผนการลงทุนด้านสุขภาพให้ครอบคลุมระบบบริการสุขภาพทั้งระบบของประเทศอย่างมีบูรณาการ โดยให้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโรงพยาบาลในสังกัดต่างๆ เพื่อร่วมปรับปรุงรายละเอียดแผนการลงทุนด้านสุขภาพ ให้ครอบคลุมการปรับปรุงระบบบริการสุขภาพที่เชื่อมต่อกันในทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข โดยเพิ่มสิ่งจูงใจและจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอ ตลอดจนพัฒนาระบบข้อมูลให้ทันสมัยเชื่อมโยงกันทั้งระบบบริการสุขภาพภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข
3. เร่งรัดการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แพทย์ได้รับการคุ้มครองและสร้างขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพ
ทั้งนี้ ให้พิจารณากำหนดแหล่งที่มาของงบประมาณสำหรับการดำเนินงานตามแผนการลงทุนด้านสุขภาพในแต่ละแผนงานให้ชัดเจนทั้งในส่วนของงบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ต่างประเทศและงบประมาณจากแหล่งอื่น เช่น งบประมาณการส่งเสริมสุขภาพของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคเอกชน ตามความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ และนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาในคราวประชุมครั้งต่อไป
ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 สรุปได้ดังนี้
1. สาระสำคัญของแผนการลงทุนพัฒนาสุขภาพของประชาชน
สืบเนื่องจาก คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551-2554 โดยมีแผนงานโครงการที่มีลำดับความสำคัญตามนโยบายเร่งด่วนและนโยบาย 4 ปี ดังนั้น ในการผลักดันขับเคลื่อนนโยบายและแผนงานโครงการภายใต้แผนบริหารราชการแผ่นดินฯ ดังกล่าว จึงได้นำเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พิจารณาแผนการพัฒนาสุขภาพของประชาชน โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1.1 สถานการณ์และปัญหาสุขภาพ
ปัจจุบันคนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้นสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้มากขึ้น ถึงร้อยละ 98.75 ในปี 2550 โดยผ่าน 3 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ และกองทุนประกันสุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเจ็บป่วยได้เปลี่ยนแปลงไปสู่โรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซึ่งสามารถป้องกันได้เพิ่มมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
ขณะเดียวกันระบบบริการสุขภาพยังมีปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ 1) รายจ่ายภาครัฐในแต่ละระบบบริการสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระยะ 5-10 ปี ข้างหน้า คาดว่าแนวโน้มค่าใช้จ่ายในแต่ละกองทุนสุขภาพจะเพิ่มขึ้นจาก 162,273.80 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2551 เป็น 237,334.51 ล้านบาทในปี 2554 และเพิ่มสูงขึ้นเป็น 507,993.01 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2561 2) ปัญหาการขาดแคลนและการกระจายบุคลากรทางการแพทย์ไปยังสถานบริการระดับต่างๆ พบว่า สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรของประเทศไทยยังมีสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานโลก ประกอบกับ ปัญหาการลาออกของแพทย์ที่เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 52.8 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 56.1 ในปี 2549 และจำนวนนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาแพทย์ที่มีจำนวนลดลง นอกจากนี้ การกระจายบุคลากรไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนแพทย์ 1 คน ต่อประชากร 867 คน ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แพทย์ 1 คนต้องรับผิดชอบประชากรเป็นจำนวนมากถึง 7,015 คน 3) การเข้าถึงบริการสุขภาพยังมีปัญหา โดยเฉพาะที่สูงกว่าระดับปฐมภูมิ แต่เครือข่ายบริการสาธารณสุขในระดับต่าง ๆ ยังไม่ประสานกันอย่างแท้จริง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยและญาติต้องรับภาระในการส่งต่อ และมีความยุ่งยากในขั้นตอนการเข้ารับบริการ และ 4) ความเป็นธรรมของการเข้าถึงบริการในแต่ละกองทุนสุขภาพยังมีความแตกต่าง เช่น การผ่าท้องคลอด การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ ที่พบว่าผู้ป่วยสิทธิข้าราชการมีอัตราการใช้บริการสูงสุด
1.2 การพัฒนาด้านสุขภาพในระยะต่อไป ต้องให้ความสำคัญใน 4 เรื่อง คือ การปฏิรูประบบบริหารจัดการสาธารณสุข การสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างทางเลือกสุขภาพที่หลากหลาย โดยเฉพาะการพัฒนาแพทย์ทางเลือกและแพทย์แผนไทยให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งการผลักดันนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพระดับนานาชาติ
1.3 ข้อเสนอแผนการลงทุนด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 4 แผนงาน ดังนี้
1) แผนงานด้านการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข ทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ และสร้างความเชื่อมโยงในทุกระดับของการบริการ ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการขยายเครือข่ายและเสริมศักยภาพหน่วยบริการสุขภาพใกล้บ้านให้ทันสมัยได้มาตรฐาน พ.ศ. 2552-2555 โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาและยกระดับสถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน และศูนย์บริการสาธารณสุข ให้เป็นศูนย์แพทย์ชุมชน จำนวน 560 แห่ง
(2) โครงการพัฒนาบริการตติยภูมิ ศูนย์โรคหัวใจ ศูนย์โรคมะเร็ง และ เครือข่ายการบาดเจ็บแห่งชาติ พ.ศ. 2551-2555 เพื่อพัฒนาบริการตติยภูมิให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศ (Excellence Center) ด้วยการพัฒนาต่อยอดจากศูนย์ที่มีอยู่เดิมและจัดตั้งขึ้นใหม่ จำนวน 155 แห่ง ประกอบด้วยศูนย์โรคหัวใจ 65 แห่ง ศูนย์โรคมะเร็ง 30 แห่ง และศูนย์ควบคุมการบาดเจ็บ 60 แห่ง
(3) โครงการพัฒนาระบบบริการทุติยภูมิ พ.ศ. 2552-2555 เพื่อพัฒนาโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 119 แห่ง และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) จำนวน 21 แห่ง ให้เป็นศูนย์กลางการบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิ และเพิ่มเตียง 9,376 เตียง
2) แผนงานพัฒนาแพทย์/บุคลากรสาธารณสุข ประกอบด้วย โครงการผลิตและพัฒนาศักยภาพแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข พ.ศ. 2552-2555 เพื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอกับความต้องการ ประกอบด้วย แพทย์ 2,962 คน พยาบาลวิชาชีพ ปีละ 1,000 คน รวม 4,000 คน นักวิชาการสาธารณสุข ปีละ 800 คน รวม 3,200 คน และทันตสาธารณสุข ปีละ 400 คน รวม 1,600 คน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านสาธารณสุขทั้งทุนการศึกษาต่อและฝึกอบรม
3) แผนงานลดปัจจัยเสี่ยงและคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่
(1) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย โดยการจัดตั้งศูนย์อำนวยการ ยุทธศาสตร์สุขภาพวิถีชีวิตไทย และการบริหารขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ใน 5 ประเด็น ยุทธศาสตร์สุขภาพวิถีชีวิตไทย
(2) โครงการพัฒนาศักยภาพการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ. 2552-2554 ประกอบด้วย การจัดตั้งด่านอาหารและยา ดำเนินการในพื้นที่ 61 แห่งทั่วประเทศ การจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการก่อสร้างอาคารจอดรถภายในสำนักงานอาหารและยา
(3) โครงการพัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพจิตและ Regional Referral Mental Center พ.ศ. 2552-2555 โดยดำเนินการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กในพื้นที่เป้าหมาย 3 แห่ง ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น พิษณุโลก และจัดตั้งโรงพยาบาลจิตเวชพิษณุโลกในจังหวัดพิษณุโลก
4) แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลและองค์ความรู้ ประกอบด้วย 2 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการปฏิรูประบบข้อมูลสุขภาพภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552-2555 เน้นการบูรณาการระบบข้อมูลต่าง ๆ ในทุกสถานบริการให้สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) โครงการก่อสร้างหอประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์การแพทย์และสาธารณสุขไทย เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--