เรื่อง การรายงานผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ระหว่างกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกองทัพบก ครั้งที่ 3/2551
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกองทัพบก ครั้งที่ 3/2551 สรุปได้ดังนี้
1. การลาดตระเวน
1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( ทส.) อยู่ระหว่างดำเนินการมอบหมายเจ้าหน้าที่ โดยจะมาร่วมปฏิบัติงานประจำ ณ หน่วยของกองทัพบก
2) ทส. โดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา จังหวัดศรีสะเกษ) ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ จำนวน 12 นาย ร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ทหารพรานกองร้อยทหารพรานจู่โจม 959 และเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน ร้อย ฉก.ตชด. 224 ในระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2551
3) ทส. ได้มีการประสานงานขอรับการสนับสนุนกำลังพลเข้าร่วมปฏิบัติการ แจ้งกองทัพภาคที่ 2 เพื่อขอความร่วมมือในการร่วมปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูง ในท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร
4) ทส. โดย สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารพรานกองร้อยทหารพรานจู่โจม 959 และเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนร้อย ฉก.ตชด.224 เข้าตรวจสอบพื้นที่บริเวณพิกัดตั้ง VA.11-VA.15 พิกัดราบจากแนวชายแดน — VA.92 ในระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2551 พบร่องรอยการลักลอบตัดไม้พะยูง จำนวน 9 ต้น
5) ทส. โดยกรมป่าไม้ มีการสนธิกำลังดำเนินการใช้มาตรา 25 ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พุทธศักราช 2507 จำนวน 46 ครั้ง (ในพื้นที่ จ.กระบี่ 23 ครั้ง จ.ระนอง 13 ครั้ง และจ.สุราษฎร์ธานี 10 ครั้ง ) โดยมีการจับกุมการกระทำผิดได้ 11 คดี ผู้ต้องหา 3 คน ตรวจยึดของกลางได้ 6 รายการ ได้แก่ ไม้สักแปรรูป 259 ชิ้น/แผ่น ปริมาตร 4.412 ลบ.ม. ไม้สักท่อน 84 ท่อน ปริมาตร 12.49 ลบ.ม. ไม้กระยาเลยท่อน 5 ท่อน ปริมาตร 1.006 ลบ.ม. ไม้กระยาเลยแปรรูป 105 ชิ้น/แผ่น ปริมาตร 3.59 ลบ.ม. พื้นที่ป่าถูกบุกรุก 18-0-48 ไร่ และ รถยนต์ 1 คัน
6) ประชุมหารือเพื่อร่วมออกลาดตระเวนอย่างต่อเนื่อง
7) ทส.ขอความร่วมมือจากทหารปฏิบัติงานด้านการข่าวในพื้นที่บริเวณชายแดนและพื้นที่อันตราย
8) ร่วมจัดตั้งด่านตรวจการลักลอบตัดไม้พะยูงในท้องที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 13 ด่าน และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
9) จัดตั้งศูนย์อำนวยการปฏิบัติการเฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามที่ ต. แก่งหางแมว อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี จัดชุดออกลาดตระเวนในพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด ท้องที่ จ.ชลบุรี จ.ระยอง และจ.จันทบุรี
10) มีการตั้งจุดตรวจร่วม ที่บ้านน้ำเกิ๊ก ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี โดยจะได้มีการดำเนินงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
11) ทส. ได้ประสานงานขอรับการสนับสนุนจากแม่ทัพภาคที่ 3 และแม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ขอรับการสนับสนุนกำลังทหารร่วมปฏิบัติงานป้องกันรักษาป่าในท้องที่จ.ตาก ออกตรวจปราบปรามการลักลอบการทำไม้ตามชายแดนไทย-พม่า ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ระมาด จ.ตาก
12) ทส. ได้ขอความร่วมมือจากกรมทหารพรานที่ 35 จังหวัดกำแพงเพชร จัดชุดลาดตระเวนพื้นที่สวนป่าที่มีปัญหารุนแรงได้แก่ท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก และสุโขทัย
13) ทส. ร่วมกับ ทบ. จัดชุดสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนพื้นที่ล่อแหลมบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
14) ทส. ได้รับการสนับสนุนด้านกำลังพร้อมสรรพาวุธในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันรักษาป่าและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ในท้องที่ จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ตลอดจนข้อมูลและเบาะแสจาก ฉก.ทัพพญาเสือ, จทบ.พบ., กอ.รมน.จว.พบ., กองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 1 (ค่ายฝึกรบพิเศษแก่งกระจาน) และฉก.จงอางศึก โดยมีการดำเนินคดีทั้งหมด 3 คดี พื้นที่บุกรุกทั้งหมด 18-0-48 ไร่ ผู้ต้องหา 1 คน ปัจจุบันการบุกรุกพื้นที่เพื่อทำการเกษตรลดลง
15) ทส. โดย ทสจ.ตราด ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหาร ฉก.นย.ตราด ตรวจปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ โดยสามารถป้องปราบการกระทำผิดกฎหมายการป่าไม้ในพื้นที่ได้ระดับหนึ่ง
16) ทส. โดย ทสจ.มหาสารคาม ได้ทำการตรวจป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าของหน่วยป้องกันรักษาป่า มค.1, นปม. และทส.จ.มค. โดยได้รับการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการบุกรุกพื้นที่ป่าโคกไม้งาม ตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม อยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารสิทธิของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
2. การพัฒนาองค์ความรู้
ทั้ง 2 หน่วยงานได้มีการพัฒนาองค์ความรู้และฝึกอบรมบุคลากรร่วมกัน โดยเฉพาะด้านการข่าว การใช้อาวุธ จิตวิทยามวลชน การพัฒนาเทคโนโลยี การควบคุมไฟป่า การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ การสร้างเครือข่ายกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ทุกฉบับ และด้านอื่นที่จำเป็น โดยเปิดหลักสูตรเป็นการเฉพาะตามการร้องของแต่ละฝ่าย โดยขณะนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ประสานงานกับกองทัพภาคที่ 1-4 ดังนี้
1) ร่วมติดตามการดำรงความสัมพันธ์ขององค์กรเครือข่าย รสทป. ที่ได้จัดตั้งขึ้นแล้ว
2) ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้าน/ชุมชนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ดีเด่นเพื่อเข้ารับพระราชทานธงพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต
3) ประสานงานด้านการข่าวในพื้นที่ร่วมกัน โดยให้ราษฎรแจ้งเหตุทางสายด่วน 1362
4) ร่วมกันจัดฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 และ 4 โดยใช้งบประมาณของ ปตท. แล้ว จำนวน 3 รุ่น และอยู่ในระหว่างเตรียมการจัดฝึกอบรมรุ่นต่อไป
5) ร่วมประชุมถ่ายทอดความรู้ให้ราษฎร จำนวน 8 ครั้ง
6) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ให้แก่ราษฎรเป็นกลุ่มย่อย
7) ตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าไม้ 1 กลุ่ม ท้องที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา
8) ทส. จัดเตรียมชุดจิตวิทยามวลชนเพื่อดำเนินการในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งคาดว่าจะปฏิบัติงานได้ช่วงเดือนสิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
9) ทส. โดย ทสจ.ตราด ได้บรรยายความรู้เรื่องกฎหมายป่าไม้ให้กับเจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ทหารได้มีการประสานการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
3. การแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของกองทัพบก ในบางตำแหน่ง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้ว และขณะนี้ กองทัพบก ได้มีการประสานงานขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่งตั้งนายทหารชั้นประทวน ระดับ ผบ.หมู่ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงานของกรมป่าไม้
4. การสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์
4.1 ขณะนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระหว่างการประมวลเรื่องเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฯ เข้ามามีชื่อในกฎกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 และขอความเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมป่าไม้ ขอยืมอาวุธปืนจากกระทรวงกลาโหม (กองทัพบก) เพื่อไว้ใช้ประโยชน์ในราชการ โดยให้ประสานงานในรายละเอียดกับกองทัพบกต่อไป
4.2 มีการหารือร่วมกัน จำนวน 1 ครั้งในการกำหนดแนวทางในการขอรับการสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์กับกองทัพภาคที่ 3
4.3 ทส. ได้รับการสนับสนุนด้านกำลังพร้อมสรรพาวุธในการป้องกันและปราบปรามฯ ตลอดจนข้อมูลและเบาะแสจาก ฉก.ทัพพญาเสือ, จทบ.พบ., กอ.รมน.จว.พบ., กองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 1 (ค่ายฝึกรบพิเศษแก่งกระจาน) และฉก.จงอางศึก
5. การประชาสัมพันธ์
5.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า ร่วมกับ กองทัพบกดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติจะดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่และกองทัพบกจะสนับสนุนการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และสถานีวิทยุในสังกัดกองทัพบก โดยได้จัดทำสารคดีโทรทัศน์เพื่อออกอากาศประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ดังนี้
(1) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT) ทุกวันเสาร์ ระหว่างเวลา 08.30 น. — 09.00 น. จำนวน 12 ตอน เริ่มออกอากาศวันที่ 19 กรกฏาคม 2551—14 ตุลาคม 2551
(2) ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในวันพุธ พฤหัสบดี และศุกร์ จำนวน 15 ตอน เริ่มออกอากาศวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 - 8 สิงหาคม 2551
5.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ มีการออกอากาศทางสถานีวิทยุท้องถิ่นของทหาร ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 4 โดยทำการออกอากาศทางสถานีวิทยุดังกล่าว จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์ และร่วมประชุมกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานแผ่นดิน ณ กองทัพภาคที่ 3 จำนวน 1 ครั้ง
5.3 ได้มีการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ช้างไทยให้ยั่งยืน ร่วมกับกองทัพภาคที่ 3
5.4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสกลนคร ร่วมกับกองทัพบกจัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญ รู้คุณค่าและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ จ.สกลนคร จำนวน 35 ครั้ง ให้แก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 3,382 คน
5.5 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับกองทัพบกฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์ให้แก่เยาวชน ประชาชนในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อสร้างจิตสำนึกในการป้องกันดูแลทรัพยากรป่าไม้
6. การสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
6.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อโดยกรมป่าไม้ ได้มีการประชุมหารือร่วมกับกองทัพบกในการรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จำนวน 2 ครั้ง
6.2 ได้ปฏิบัติงานออกลาดตระเวนอย่างต่อเนื่อง ตามแผนร่วมปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก)อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปีงบประมาณ 2551 ท้องที่ อ.ท่าตะเกียบ อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
7. ความร่วมมืออื่น ๆ
การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้
1) ทส. ได้ให้การสนับสนุนกล้าไม้แก่กองทัพบก จำนวน 760,000 กล้า เพื่อใช้ในการส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพบกภาค 1-4 ตั้งแต่เดือน กรกฏาคม 2551-เดือนธันวาคม 2551 โดย ทส.ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับกองทัพบก โครงการ“มหกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ” เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาอ่างฤาใน จ.ฉะเชิงเทรา ในกิจกรรมปลูกป่า และปล่อยสัตว์ป่า รวมทั้งการจัดชุดลาดตระเวน ร่วมระหว่างกองทัพบกและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2) ทส. โดย ทสจ. เพชรบูรณ์ ร่วมกับกองพลทหารม้าที่ 1 จังหวัดเพชรบูรณ์ และรายการเวทีไทย จัดมหกรรมคอนเสิร์ตและกิจกรรมสร้างฝายต้นน้ำลำธาร และปลูกต้นไม้ในวันที่ 28 มิถุนายน 2551
3) ทส. โดย ทสจ. พิจิตร ร่วมปลูกป่ากับจังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์ ณ บ้านเขาโล่น ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร จำนวน 1,500 ต้น/20 ไร่
4) ทส. โดย ทสจ. สตูล ร่วมกับกองทัพภาคที่ 4 ร่วมจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนตามโครงการ “พลิกฟื้นผืนป่า ด้วยพระบารมี” จังหวัดสตูล ปี พ.ศ.2551 ในวันที่ 7 สิงหาคม 2551 เพื่อสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล โดยมีพิธีเปิดโครงการฯ ณ สนามกีฬารัชกิจประการ และมีกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ใช้กล้าไม้ปลูกทั้งสิ้น จำนวน 35,000 ต้น บริเวณป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนจังหวัดสตูล ตอนที่ 5 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นักเรียน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ ในครั้งนี้ประมาณ 1,400 คน
5) ทส. โดย ทสจ. ร้อยเอ็ด ได้จัดทำข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดร้อยเอ็ด ส่งให้จังหวัดทหารบกร้อยเอ็ด
6) ทส. โดย ทสจ. มหาสารคาม ทำการปลูกต้นไม้ตามโครงการไม้ยางคืนถิ่นวัดนาดูนพัฒนาราม ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จำนวน 300 ต้น และปลูกป่าโคกหินลาด ตำบลหนองคู อำเภอเมืองมหาสารคาม โครงการประชาชนมีส่วนร่วมการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ร่วมกับ กอ.รมน. ภาค 2 จำนวน 1,500 ต้น
7) ทส. โดย กรมป่าไม้ ดำเนินโครงการปลูกป่า ร่วมกับ ทบ. ดังนี้
7.1) ปลูกป่า ฟื้นฟูสภาพป่าตามโครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมี จำนวน 4 ครั้ง
7.2) ปลูกป่า ดำเนินโครงการรักแม่ —รักษ์ป่า จำนวน 2 ครั้ง
7.3) ดำเนินโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 9 ครั้ง
7.4) ประชุมร่วมกับกองทัพภาคที่ 2 เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงานฯ ในพื้นที่ล่อแหลม โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบแผนปฏิบัติงานฯ เพื่อเสนอกองทัพบก
8) ทส. โดย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินโครงการปลูกป่า ร่วมกับ ทบ. จำนวน 7 ครั้ง ดังนี้
8.1) ปลูกป่า ฟื้นฟูสภาพป่าตามโครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมี จำนวน 8 ครั้ง ได้แก่
8.1.1) วันที่ 16 พฤษภาคม 2551 ณ ท้องที่ ต.บางทราย อ.เมือง จ.ชลบุรี จำนวน 125 ไร่ /100,000 กล้า คนเข้าร่วม ประมาณ 1,500 คน
8.1.2) วันที่ 20 มิถุนายน 2551 ปลูกป่าชายเลน เนื้อที่ 30 ไร่ บริเวณปากน้ำปากนคร หมู่ที่ 1 ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
8.1.3) วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน เนื้อที่ 8.5 ไร่ /6,000 กล้า ท้องที่ ต.บ้านโขด อ.เมือง จ.ชลบุรี คนเข้าร่วม ประมาณ 500 คน
8.1.4) วันที่ 17 กรกฎาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน เนื้อที่ 3 ไร่ บริเวณหมู่ที่ 3 ต.เขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่
8.1.5) วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน บริเวณ ต.บางทราย อ.เมือง จ.ชลบุรี
8.1.6) วันที่ 19 กรกฎาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน ณ พื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
8.1.7) วันที่ 2 สิงหาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน ในพื้นที่ ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี รวมจำนวน 17 ไร่/12,070 กล้า มีคนเข้าร่วมจำนวน 1,200 คน
8.1.8) วันที่ 2 สิงหาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน ในพื้นที่ ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี รวมจำนวน 20 ไร่/14,200 กล้า มีคนเข้าร่วมจำนวน 1,300 คน
8.1.9) วันที่ 2 สิงหาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน ในพื้นที่ ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี รวมจำนวน 5 ไร่/3,550 กล้า มีคนเข้าร่วมจำนวน 1,100 คน
8.1.10) วันที่ 2 สิงหาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน ในพื้นที่ ต.บ้านโขด อ.เมือง จ.ชลบุรี รวมจำนวน 15 ไร่/10,650 กล้า มีคนเข้าร่วมจำนวน 1,000 คน
8.1.11) วันที่ 9 สิงหาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน ณ พื้นที่ ต. ปากทะเล อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี จำนวน 10 ไร่/16,000 กล้า มีคนเข้าร่วมจำนวน 400 คน
8.2) ปลูกป่า ฟื้นฟูสภาพป่าตามโครงการ “มหกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ” จำนวน 1 ครั้ง วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 ปลูกป่า 6,000 กล้า ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) ต.ปากปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ คนเข้าร่วม ประมาณ 800 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกองทัพบก ครั้งที่ 3/2551
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกองทัพบก ครั้งที่ 3/2551 สรุปได้ดังนี้
1. การลาดตระเวน
1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( ทส.) อยู่ระหว่างดำเนินการมอบหมายเจ้าหน้าที่ โดยจะมาร่วมปฏิบัติงานประจำ ณ หน่วยของกองทัพบก
2) ทส. โดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา จังหวัดศรีสะเกษ) ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ จำนวน 12 นาย ร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ทหารพรานกองร้อยทหารพรานจู่โจม 959 และเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน ร้อย ฉก.ตชด. 224 ในระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2551
3) ทส. ได้มีการประสานงานขอรับการสนับสนุนกำลังพลเข้าร่วมปฏิบัติการ แจ้งกองทัพภาคที่ 2 เพื่อขอความร่วมมือในการร่วมปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้พะยูง ในท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร
4) ทส. โดย สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารพรานกองร้อยทหารพรานจู่โจม 959 และเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนร้อย ฉก.ตชด.224 เข้าตรวจสอบพื้นที่บริเวณพิกัดตั้ง VA.11-VA.15 พิกัดราบจากแนวชายแดน — VA.92 ในระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2551 พบร่องรอยการลักลอบตัดไม้พะยูง จำนวน 9 ต้น
5) ทส. โดยกรมป่าไม้ มีการสนธิกำลังดำเนินการใช้มาตรา 25 ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พุทธศักราช 2507 จำนวน 46 ครั้ง (ในพื้นที่ จ.กระบี่ 23 ครั้ง จ.ระนอง 13 ครั้ง และจ.สุราษฎร์ธานี 10 ครั้ง ) โดยมีการจับกุมการกระทำผิดได้ 11 คดี ผู้ต้องหา 3 คน ตรวจยึดของกลางได้ 6 รายการ ได้แก่ ไม้สักแปรรูป 259 ชิ้น/แผ่น ปริมาตร 4.412 ลบ.ม. ไม้สักท่อน 84 ท่อน ปริมาตร 12.49 ลบ.ม. ไม้กระยาเลยท่อน 5 ท่อน ปริมาตร 1.006 ลบ.ม. ไม้กระยาเลยแปรรูป 105 ชิ้น/แผ่น ปริมาตร 3.59 ลบ.ม. พื้นที่ป่าถูกบุกรุก 18-0-48 ไร่ และ รถยนต์ 1 คัน
6) ประชุมหารือเพื่อร่วมออกลาดตระเวนอย่างต่อเนื่อง
7) ทส.ขอความร่วมมือจากทหารปฏิบัติงานด้านการข่าวในพื้นที่บริเวณชายแดนและพื้นที่อันตราย
8) ร่วมจัดตั้งด่านตรวจการลักลอบตัดไม้พะยูงในท้องที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 13 ด่าน และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
9) จัดตั้งศูนย์อำนวยการปฏิบัติการเฉพาะกิจป้องกันและปราบปรามที่ ต. แก่งหางแมว อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี จัดชุดออกลาดตระเวนในพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด ท้องที่ จ.ชลบุรี จ.ระยอง และจ.จันทบุรี
10) มีการตั้งจุดตรวจร่วม ที่บ้านน้ำเกิ๊ก ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี โดยจะได้มีการดำเนินงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
11) ทส. ได้ประสานงานขอรับการสนับสนุนจากแม่ทัพภาคที่ 3 และแม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ขอรับการสนับสนุนกำลังทหารร่วมปฏิบัติงานป้องกันรักษาป่าในท้องที่จ.ตาก ออกตรวจปราบปรามการลักลอบการทำไม้ตามชายแดนไทย-พม่า ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ระมาด จ.ตาก
12) ทส. ได้ขอความร่วมมือจากกรมทหารพรานที่ 35 จังหวัดกำแพงเพชร จัดชุดลาดตระเวนพื้นที่สวนป่าที่มีปัญหารุนแรงได้แก่ท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก และสุโขทัย
13) ทส. ร่วมกับ ทบ. จัดชุดสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนพื้นที่ล่อแหลมบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
14) ทส. ได้รับการสนับสนุนด้านกำลังพร้อมสรรพาวุธในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันรักษาป่าและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ในท้องที่ จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ตลอดจนข้อมูลและเบาะแสจาก ฉก.ทัพพญาเสือ, จทบ.พบ., กอ.รมน.จว.พบ., กองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 1 (ค่ายฝึกรบพิเศษแก่งกระจาน) และฉก.จงอางศึก โดยมีการดำเนินคดีทั้งหมด 3 คดี พื้นที่บุกรุกทั้งหมด 18-0-48 ไร่ ผู้ต้องหา 1 คน ปัจจุบันการบุกรุกพื้นที่เพื่อทำการเกษตรลดลง
15) ทส. โดย ทสจ.ตราด ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหาร ฉก.นย.ตราด ตรวจปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ โดยสามารถป้องปราบการกระทำผิดกฎหมายการป่าไม้ในพื้นที่ได้ระดับหนึ่ง
16) ทส. โดย ทสจ.มหาสารคาม ได้ทำการตรวจป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าของหน่วยป้องกันรักษาป่า มค.1, นปม. และทส.จ.มค. โดยได้รับการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการบุกรุกพื้นที่ป่าโคกไม้งาม ตำบลแคน อำเภอวาปีปทุม อยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสารสิทธิของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด
2. การพัฒนาองค์ความรู้
ทั้ง 2 หน่วยงานได้มีการพัฒนาองค์ความรู้และฝึกอบรมบุคลากรร่วมกัน โดยเฉพาะด้านการข่าว การใช้อาวุธ จิตวิทยามวลชน การพัฒนาเทคโนโลยี การควบคุมไฟป่า การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ การสร้างเครือข่ายกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ทุกฉบับ และด้านอื่นที่จำเป็น โดยเปิดหลักสูตรเป็นการเฉพาะตามการร้องของแต่ละฝ่าย โดยขณะนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ประสานงานกับกองทัพภาคที่ 1-4 ดังนี้
1) ร่วมติดตามการดำรงความสัมพันธ์ขององค์กรเครือข่าย รสทป. ที่ได้จัดตั้งขึ้นแล้ว
2) ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกหมู่บ้าน/ชุมชนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ดีเด่นเพื่อเข้ารับพระราชทานธงพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต
3) ประสานงานด้านการข่าวในพื้นที่ร่วมกัน โดยให้ราษฎรแจ้งเหตุทางสายด่วน 1362
4) ร่วมกันจัดฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 และ 4 โดยใช้งบประมาณของ ปตท. แล้ว จำนวน 3 รุ่น และอยู่ในระหว่างเตรียมการจัดฝึกอบรมรุ่นต่อไป
5) ร่วมประชุมถ่ายทอดความรู้ให้ราษฎร จำนวน 8 ครั้ง
6) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ให้แก่ราษฎรเป็นกลุ่มย่อย
7) ตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าไม้ 1 กลุ่ม ท้องที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา
8) ทส. จัดเตรียมชุดจิตวิทยามวลชนเพื่อดำเนินการในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งคาดว่าจะปฏิบัติงานได้ช่วงเดือนสิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
9) ทส. โดย ทสจ.ตราด ได้บรรยายความรู้เรื่องกฎหมายป่าไม้ให้กับเจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ทหารได้มีการประสานการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
3. การแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของกองทัพบก ในบางตำแหน่ง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แล้ว และขณะนี้ กองทัพบก ได้มีการประสานงานขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่งตั้งนายทหารชั้นประทวน ระดับ ผบ.หมู่ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินงานของกรมป่าไม้
4. การสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์
4.1 ขณะนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระหว่างการประมวลเรื่องเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฯ เข้ามามีชื่อในกฎกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 และขอความเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมป่าไม้ ขอยืมอาวุธปืนจากกระทรวงกลาโหม (กองทัพบก) เพื่อไว้ใช้ประโยชน์ในราชการ โดยให้ประสานงานในรายละเอียดกับกองทัพบกต่อไป
4.2 มีการหารือร่วมกัน จำนวน 1 ครั้งในการกำหนดแนวทางในการขอรับการสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์กับกองทัพภาคที่ 3
4.3 ทส. ได้รับการสนับสนุนด้านกำลังพร้อมสรรพาวุธในการป้องกันและปราบปรามฯ ตลอดจนข้อมูลและเบาะแสจาก ฉก.ทัพพญาเสือ, จทบ.พบ., กอ.รมน.จว.พบ., กองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 1 (ค่ายฝึกรบพิเศษแก่งกระจาน) และฉก.จงอางศึก
5. การประชาสัมพันธ์
5.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า ร่วมกับ กองทัพบกดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติจะดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่และกองทัพบกจะสนับสนุนการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 และสถานีวิทยุในสังกัดกองทัพบก โดยได้จัดทำสารคดีโทรทัศน์เพื่อออกอากาศประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ดังนี้
(1) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT) ทุกวันเสาร์ ระหว่างเวลา 08.30 น. — 09.00 น. จำนวน 12 ตอน เริ่มออกอากาศวันที่ 19 กรกฏาคม 2551—14 ตุลาคม 2551
(2) ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในวันพุธ พฤหัสบดี และศุกร์ จำนวน 15 ตอน เริ่มออกอากาศวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 - 8 สิงหาคม 2551
5.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ มีการออกอากาศทางสถานีวิทยุท้องถิ่นของทหาร ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 4 โดยทำการออกอากาศทางสถานีวิทยุดังกล่าว จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์ และร่วมประชุมกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานแผ่นดิน ณ กองทัพภาคที่ 3 จำนวน 1 ครั้ง
5.3 ได้มีการประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ช้างไทยให้ยั่งยืน ร่วมกับกองทัพภาคที่ 3
5.4 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสกลนคร ร่วมกับกองทัพบกจัดโครงการกิจกรรมปลูกจิตสำนึกและตระหนักถึงความสำคัญ รู้คุณค่าและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ จ.สกลนคร จำนวน 35 ครั้ง ให้แก่ประชาชนทั่วไป จำนวน 3,382 คน
5.5 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับกองทัพบกฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์ให้แก่เยาวชน ประชาชนในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อสร้างจิตสำนึกในการป้องกันดูแลทรัพยากรป่าไม้
6. การสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
6.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อโดยกรมป่าไม้ ได้มีการประชุมหารือร่วมกับกองทัพบกในการรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จำนวน 2 ครั้ง
6.2 ได้ปฏิบัติงานออกลาดตระเวนอย่างต่อเนื่อง ตามแผนร่วมปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติป่ารอยต่อ 5 จังหวัด (ภาคตะวันออก)อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปีงบประมาณ 2551 ท้องที่ อ.ท่าตะเกียบ อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
7. ความร่วมมืออื่น ๆ
การฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้
1) ทส. ได้ให้การสนับสนุนกล้าไม้แก่กองทัพบก จำนวน 760,000 กล้า เพื่อใช้ในการส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบของกองทัพบกภาค 1-4 ตั้งแต่เดือน กรกฏาคม 2551-เดือนธันวาคม 2551 โดย ทส.ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับกองทัพบก โครงการ“มหกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ” เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาอ่างฤาใน จ.ฉะเชิงเทรา ในกิจกรรมปลูกป่า และปล่อยสัตว์ป่า รวมทั้งการจัดชุดลาดตระเวน ร่วมระหว่างกองทัพบกและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2) ทส. โดย ทสจ. เพชรบูรณ์ ร่วมกับกองพลทหารม้าที่ 1 จังหวัดเพชรบูรณ์ และรายการเวทีไทย จัดมหกรรมคอนเสิร์ตและกิจกรรมสร้างฝายต้นน้ำลำธาร และปลูกต้นไม้ในวันที่ 28 มิถุนายน 2551
3) ทส. โดย ทสจ. พิจิตร ร่วมปลูกป่ากับจังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์ ณ บ้านเขาโล่น ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร จำนวน 1,500 ต้น/20 ไร่
4) ทส. โดย ทสจ. สตูล ร่วมกับกองทัพภาคที่ 4 ร่วมจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลนตามโครงการ “พลิกฟื้นผืนป่า ด้วยพระบารมี” จังหวัดสตูล ปี พ.ศ.2551 ในวันที่ 7 สิงหาคม 2551 เพื่อสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล โดยมีพิธีเปิดโครงการฯ ณ สนามกีฬารัชกิจประการ และมีกิจกรรมปลูกป่าชายเลนเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ใช้กล้าไม้ปลูกทั้งสิ้น จำนวน 35,000 ต้น บริเวณป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนจังหวัดสตูล ตอนที่ 5 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชน นักเรียน และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ ในครั้งนี้ประมาณ 1,400 คน
5) ทส. โดย ทสจ. ร้อยเอ็ด ได้จัดทำข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดร้อยเอ็ด ส่งให้จังหวัดทหารบกร้อยเอ็ด
6) ทส. โดย ทสจ. มหาสารคาม ทำการปลูกต้นไม้ตามโครงการไม้ยางคืนถิ่นวัดนาดูนพัฒนาราม ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จำนวน 300 ต้น และปลูกป่าโคกหินลาด ตำบลหนองคู อำเภอเมืองมหาสารคาม โครงการประชาชนมีส่วนร่วมการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ร่วมกับ กอ.รมน. ภาค 2 จำนวน 1,500 ต้น
7) ทส. โดย กรมป่าไม้ ดำเนินโครงการปลูกป่า ร่วมกับ ทบ. ดังนี้
7.1) ปลูกป่า ฟื้นฟูสภาพป่าตามโครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมี จำนวน 4 ครั้ง
7.2) ปลูกป่า ดำเนินโครงการรักแม่ —รักษ์ป่า จำนวน 2 ครั้ง
7.3) ดำเนินโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 9 ครั้ง
7.4) ประชุมร่วมกับกองทัพภาคที่ 2 เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติงานฯ ในพื้นที่ล่อแหลม โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบแผนปฏิบัติงานฯ เพื่อเสนอกองทัพบก
8) ทส. โดย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ดำเนินโครงการปลูกป่า ร่วมกับ ทบ. จำนวน 7 ครั้ง ดังนี้
8.1) ปลูกป่า ฟื้นฟูสภาพป่าตามโครงการพลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมี จำนวน 8 ครั้ง ได้แก่
8.1.1) วันที่ 16 พฤษภาคม 2551 ณ ท้องที่ ต.บางทราย อ.เมือง จ.ชลบุรี จำนวน 125 ไร่ /100,000 กล้า คนเข้าร่วม ประมาณ 1,500 คน
8.1.2) วันที่ 20 มิถุนายน 2551 ปลูกป่าชายเลน เนื้อที่ 30 ไร่ บริเวณปากน้ำปากนคร หมู่ที่ 1 ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
8.1.3) วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน เนื้อที่ 8.5 ไร่ /6,000 กล้า ท้องที่ ต.บ้านโขด อ.เมือง จ.ชลบุรี คนเข้าร่วม ประมาณ 500 คน
8.1.4) วันที่ 17 กรกฎาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน เนื้อที่ 3 ไร่ บริเวณหมู่ที่ 3 ต.เขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่
8.1.5) วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน บริเวณ ต.บางทราย อ.เมือง จ.ชลบุรี
8.1.6) วันที่ 19 กรกฎาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน ณ พื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
8.1.7) วันที่ 2 สิงหาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน ในพื้นที่ ต.อ่างศิลา อ.เมือง จ.ชลบุรี รวมจำนวน 17 ไร่/12,070 กล้า มีคนเข้าร่วมจำนวน 1,200 คน
8.1.8) วันที่ 2 สิงหาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน ในพื้นที่ ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี รวมจำนวน 20 ไร่/14,200 กล้า มีคนเข้าร่วมจำนวน 1,300 คน
8.1.9) วันที่ 2 สิงหาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน ในพื้นที่ ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี รวมจำนวน 5 ไร่/3,550 กล้า มีคนเข้าร่วมจำนวน 1,100 คน
8.1.10) วันที่ 2 สิงหาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน ในพื้นที่ ต.บ้านโขด อ.เมือง จ.ชลบุรี รวมจำนวน 15 ไร่/10,650 กล้า มีคนเข้าร่วมจำนวน 1,000 คน
8.1.11) วันที่ 9 สิงหาคม 2551 ปลูกป่าชายเลน ณ พื้นที่ ต. ปากทะเล อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี จำนวน 10 ไร่/16,000 กล้า มีคนเข้าร่วมจำนวน 400 คน
8.2) ปลูกป่า ฟื้นฟูสภาพป่าตามโครงการ “มหกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ” จำนวน 1 ครั้ง วันที่ 9 กรกฎาคม 2551 ปลูกป่า 6,000 กล้า ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) ต.ปากปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ คนเข้าร่วม ประมาณ 800 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--