เรื่อง การลงนามเอกสารสำคัญในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์
และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (CICA)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และแสวงหามาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (The Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia -CICA) ที่เมืองอัลมาตี สาธารณรัฐคาซัคสถานร่วม ลงนามในพิธีสารแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งสำนักเลขาธิการการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (6 มิถุนายน 2549) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมลงนามในร่างธรรมนูญการจัดตั้งสำนักเลขาธิการการประชุมว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์และการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย [Statue of the Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia- (CICA) Secretariat
] และไทยได้ลงนามในธรรมนูญการจัดตั้งสำนักเลขาธิการ CICA เมื่อปี 2549 แล้วนั้น คาซัคสถานจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และแสวงหามาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย ในวันที่ 25 สิงหาคม 2551 ที่เมืองอัลมาตี และจะเสนอให้ประเทศสมาชิกลงนามในพิธีสารแก้ไขธรรมนูญการจัดตั้งสำนักเลขาธิการ CICA ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการระบุให้สถานที่ตั้งของสำนักเลขาธิการ CICA อยู่ที่เมืองอัลมาตีหรือกรุงอัสทานา เนื่องจากคาซัคสถานได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองอัลมาตีมาที่ กรุงอัสทานาแล้ว โดยที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส CICA เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2551 ณ กรุงโซล ได้เห็นชอบร่างพิธีสารสุดท้ายแล้ว
2. กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างพิธีสารดังกล่าวไม่เข้าข่ายประเภทหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และเห็นสมควรที่ไทยจะร่วมลงนามในร่างพิธีสารดังกล่าวได้ เนื่องจากเป็นเรื่องอำนวยการของสำนักเลขาธิการ CICA และเพื่อเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก CICA กระทรวงการต่างประเทศจึงเสนอคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอเรื่องดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--
และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (CICA)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และแสวงหามาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (The Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia -CICA) ที่เมืองอัลมาตี สาธารณรัฐคาซัคสถานร่วม ลงนามในพิธีสารแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งสำนักเลขาธิการการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า
1. หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (6 มิถุนายน 2549) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมลงนามในร่างธรรมนูญการจัดตั้งสำนักเลขาธิการการประชุมว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์และการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย [Statue of the Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia- (CICA) Secretariat
] และไทยได้ลงนามในธรรมนูญการจัดตั้งสำนักเลขาธิการ CICA เมื่อปี 2549 แล้วนั้น คาซัคสถานจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 3 ของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และแสวงหามาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย ในวันที่ 25 สิงหาคม 2551 ที่เมืองอัลมาตี และจะเสนอให้ประเทศสมาชิกลงนามในพิธีสารแก้ไขธรรมนูญการจัดตั้งสำนักเลขาธิการ CICA ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการระบุให้สถานที่ตั้งของสำนักเลขาธิการ CICA อยู่ที่เมืองอัลมาตีหรือกรุงอัสทานา เนื่องจากคาซัคสถานได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองอัลมาตีมาที่ กรุงอัสทานาแล้ว โดยที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส CICA เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2551 ณ กรุงโซล ได้เห็นชอบร่างพิธีสารสุดท้ายแล้ว
2. กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างพิธีสารดังกล่าวไม่เข้าข่ายประเภทหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และเห็นสมควรที่ไทยจะร่วมลงนามในร่างพิธีสารดังกล่าวได้ เนื่องจากเป็นเรื่องอำนวยการของสำนักเลขาธิการ CICA และเพื่อเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก CICA กระทรวงการต่างประเทศจึงเสนอคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอเรื่องดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--