เรื่อง โครงการจัดการผืนป่าอนุรักษ์ผาแต้ม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตติดต่อ
ชายแดนระหว่างประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะที่ 2
คณะรัฐมนตรีรับทราบการลงนามในความตกลงโครงการจัดการผืนป่าอนุรักษ์ผาแต้ม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตติดต่อชายแดนระหว่างประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า กรมป่าไม้ในฐานะภาคีสมาชิกขององค์การไม้เขตร้อนระหว่างประเทศ (International Tropical Timber Organization : ITTO) ได้ร่วมมือกับ ITTO จัดทำโครงการจัดการผืนป่าอนุรักษ์ผาแต้ม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตติดต่อชายแดนระหว่างประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะที่ 2 โดยการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวได้มีการลงนามในความตกลงโครงการ (Project Agreement) ระหว่าง ITTO รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาไปแล้วในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2548 และในข้อตกลงประการหนึ่ง รัฐบาลประเทศไทยและรัฐบาลกัมพูชาได้แสดงเจตจำนงที่จะดำเนินงานโครงการในอาณาเขตประเทศของตนเอง ทั้งนี้ กรมป่าไม้โดยอธิบดีกรมป่าไม้ในขณะนั้น (นายฉัตรชัย รัตโนภาส) ได้ลงนามในความตกลงโครงการจัดการผืนป่าอนุรักษ์ผาแต้มฯ ระยะที่ 2 พร้อมทั้งนำส่งสำนักบริหารการจัดการป่าไม้ประเทศกัมพูชาเพื่อลงนาม และต่อมา ITTO ได้ลงนามและส่งความตกลงโครงการฯ ดังกล่าวที่ลงนามครบทั้ง 3 ฝ่าย มาให้กรมป่าไม้เพื่อดำเนินการต่อไป
โครงการจัดการผืนป่าอนุรักษ์ผาแต้มฯ ระยะที่ 2 มีสาระสำคัญโดยสรุป คือ
1. วัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาของโครงการ
เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในผืนป่าอนุรักษ์สามเหลี่ยมมรกต ตั้งอยู่ระหว่างประเทศไทย กัมพูชา และลาว ผลการดำเนินงานจะเป็นต้นแบบความร่วมมือในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตติดต่อชายแดนระหว่างประเทศต่าง ๆ และในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
2. วัตถุประสงค์เฉพาะ ประกอบด้วย
2.1 เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านความร่วมมือในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อนุรักษ์เขตติดต่อชายแดนระหว่างประเทศไทย กัมพูชา และลาว
2.2 เพื่อส่งเสริมมาตรการการป้องกัน และติดตามทรัพยากรชีวภาพตลอดเขตติดต่อชายแดนทั้ง 3 ประเทศ
2.3 เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนท้องถิ่นและผู้มีส่วนเสียเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการใช้และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนทั้งของชุมชนโดยรอบและ/หรือชุมชนในเขตกันชน
3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
3.1 โครงสร้างการจัดการเพื่อการประสานงานระดับท้องถิ่นและระดับประเทศในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตติดต่อชายแดนที่นำไปใช้และดำเนินการโดยทั้ง 3 ประเทศ
3.2 กิจกรรมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตติดต่อชายแดนระหว่างทั้ง 3 ประเทศ
3.3 ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในด้านการอนุรักษ์และการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
3.4 การบังคับใช้กฎหมายและมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด
3.5 โครงการวิจัยด้านการกระจายของแหล่งที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ และ กระบวนการทางนิเวศวิทยาสำเร็จตามเป้าประสงค์และได้รับการตีพิมพ์
3.6 เครือข่ายประชาคมชุมชนท้องถิ่นได้รับการจัดตั้งและสร้างความเข้มแข็งในชุมชนโดยรอบและ/หรือชุมชนในเขตกันชนที่ได้รับการคัดเลือก
3.7 กิจกรรมโครงการพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนและโครงการบูรณาการการอนุรักษ์และการพัฒนาในเขตกันชนสามเหลี่ยมมรกตสำเร็จลุล่วงตามกองทุนกิจกรรมนำร่อง
3. 8 การสร้างและขยายกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
4. หน่วยงานดำเนินการ กรมป่าไม้ เป็นหน่วยปฏิบัติงานและประสานงานโครงการ
5. ระยะเวลาดำเนินการ 24 เดือน
6. กิจกรรมที่จะดำเนินการ 26 กิจกรรม
7. งบประมาณดำเนินการ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,551,943 ดอลลาร์สหรัฐ จำแนกเป็น
7.1 งบประมาณสนับสนุนจาก ITTO เป็นจำนวนเงิน 688,208 ดอลลาร์สหรัฐ
7.2 งบประมาณสมทบจากประเทศไทย เป็นจำนวนเงิน 323,400 ดอลลาร์สหรัฐ
7.3 งบประมาณสมทบจากประเทศกัมพูชา เป็นจำนวนเงิน 540,335 ดอลลาร์สหรัฐ
8. สาระสำคัญของความตกลงโครงการฯ กำหนดไว้ 13 มาตรา โดยมาตราที่ 8 กล่าวถึงความรับผิดชอบรัฐบาล ดังนี้
ข้อ 8.01 รัฐบาลต้องยืนยันว่าองค์กรบริหารมีความสามารถในการดำเนินการตามข้อผูกพัน ภายใต้ ข้อตกลงนี้ โดยเฉพาะที่กำหนดไว้ในมาตรา 2,3,4 และ 5 ซึ่งไม่สามารถที่จะประนีประนอมในทางตรงกันข้าม
ข้อ 8.02 รัฐบาลจะต้องดำเนินการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจว่า :
a) การอนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญและบุคคลต่าง ๆ ที่จะเดินทางเข้ามาปฏิบัติงานโดยงบประมาณ ITTO ภายใต้โครงการ และ
b) การยกเว้นภาษีศุลกากรอย่างเหมาะสมของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำเข้า ตลอดจนสิ่งของต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการซึ่งจะต้องเสียภาษี ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่อาจมีร่วมมาด้วยจากวัสดุ โดยการยกเว้น หรือจัดลงในบัญชีของโครงการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนจากรัฐบาลที่มีต่อโครงการ
ข้อ 8.03 รัฐบาลตกลงว่า ITTO ไม่ต้องรับผิดชอบต่อภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บ หรือภาษีอื่น ๆ ที่อาจบังคับใช้ต่ออุปกรณ์ วัสดุ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่นำเข้าสำหรับโครงการ เงินทุนของโครงการจะไม่ได้รับการอนุมัติให้นำไปชำระค่าภาษีศุลกากร หรือภาษีอื่น ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--
ชายแดนระหว่างประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะที่ 2
คณะรัฐมนตรีรับทราบการลงนามในความตกลงโครงการจัดการผืนป่าอนุรักษ์ผาแต้ม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตติดต่อชายแดนระหว่างประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะที่ 2 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า กรมป่าไม้ในฐานะภาคีสมาชิกขององค์การไม้เขตร้อนระหว่างประเทศ (International Tropical Timber Organization : ITTO) ได้ร่วมมือกับ ITTO จัดทำโครงการจัดการผืนป่าอนุรักษ์ผาแต้ม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตติดต่อชายแดนระหว่างประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะที่ 2 โดยการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวได้มีการลงนามในความตกลงโครงการ (Project Agreement) ระหว่าง ITTO รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาไปแล้วในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2548 และในข้อตกลงประการหนึ่ง รัฐบาลประเทศไทยและรัฐบาลกัมพูชาได้แสดงเจตจำนงที่จะดำเนินงานโครงการในอาณาเขตประเทศของตนเอง ทั้งนี้ กรมป่าไม้โดยอธิบดีกรมป่าไม้ในขณะนั้น (นายฉัตรชัย รัตโนภาส) ได้ลงนามในความตกลงโครงการจัดการผืนป่าอนุรักษ์ผาแต้มฯ ระยะที่ 2 พร้อมทั้งนำส่งสำนักบริหารการจัดการป่าไม้ประเทศกัมพูชาเพื่อลงนาม และต่อมา ITTO ได้ลงนามและส่งความตกลงโครงการฯ ดังกล่าวที่ลงนามครบทั้ง 3 ฝ่าย มาให้กรมป่าไม้เพื่อดำเนินการต่อไป
โครงการจัดการผืนป่าอนุรักษ์ผาแต้มฯ ระยะที่ 2 มีสาระสำคัญโดยสรุป คือ
1. วัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาของโครงการ
เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในผืนป่าอนุรักษ์สามเหลี่ยมมรกต ตั้งอยู่ระหว่างประเทศไทย กัมพูชา และลาว ผลการดำเนินงานจะเป็นต้นแบบความร่วมมือในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตติดต่อชายแดนระหว่างประเทศต่าง ๆ และในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
2. วัตถุประสงค์เฉพาะ ประกอบด้วย
2.1 เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านความร่วมมือในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อนุรักษ์เขตติดต่อชายแดนระหว่างประเทศไทย กัมพูชา และลาว
2.2 เพื่อส่งเสริมมาตรการการป้องกัน และติดตามทรัพยากรชีวภาพตลอดเขตติดต่อชายแดนทั้ง 3 ประเทศ
2.3 เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนท้องถิ่นและผู้มีส่วนเสียเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการใช้และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนทั้งของชุมชนโดยรอบและ/หรือชุมชนในเขตกันชน
3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
3.1 โครงสร้างการจัดการเพื่อการประสานงานระดับท้องถิ่นและระดับประเทศในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตติดต่อชายแดนที่นำไปใช้และดำเนินการโดยทั้ง 3 ประเทศ
3.2 กิจกรรมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเขตติดต่อชายแดนระหว่างทั้ง 3 ประเทศ
3.3 ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในด้านการอนุรักษ์และการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
3.4 การบังคับใช้กฎหมายและมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด
3.5 โครงการวิจัยด้านการกระจายของแหล่งที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ และ กระบวนการทางนิเวศวิทยาสำเร็จตามเป้าประสงค์และได้รับการตีพิมพ์
3.6 เครือข่ายประชาคมชุมชนท้องถิ่นได้รับการจัดตั้งและสร้างความเข้มแข็งในชุมชนโดยรอบและ/หรือชุมชนในเขตกันชนที่ได้รับการคัดเลือก
3.7 กิจกรรมโครงการพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนและโครงการบูรณาการการอนุรักษ์และการพัฒนาในเขตกันชนสามเหลี่ยมมรกตสำเร็จลุล่วงตามกองทุนกิจกรรมนำร่อง
3. 8 การสร้างและขยายกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
4. หน่วยงานดำเนินการ กรมป่าไม้ เป็นหน่วยปฏิบัติงานและประสานงานโครงการ
5. ระยะเวลาดำเนินการ 24 เดือน
6. กิจกรรมที่จะดำเนินการ 26 กิจกรรม
7. งบประมาณดำเนินการ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,551,943 ดอลลาร์สหรัฐ จำแนกเป็น
7.1 งบประมาณสนับสนุนจาก ITTO เป็นจำนวนเงิน 688,208 ดอลลาร์สหรัฐ
7.2 งบประมาณสมทบจากประเทศไทย เป็นจำนวนเงิน 323,400 ดอลลาร์สหรัฐ
7.3 งบประมาณสมทบจากประเทศกัมพูชา เป็นจำนวนเงิน 540,335 ดอลลาร์สหรัฐ
8. สาระสำคัญของความตกลงโครงการฯ กำหนดไว้ 13 มาตรา โดยมาตราที่ 8 กล่าวถึงความรับผิดชอบรัฐบาล ดังนี้
ข้อ 8.01 รัฐบาลต้องยืนยันว่าองค์กรบริหารมีความสามารถในการดำเนินการตามข้อผูกพัน ภายใต้ ข้อตกลงนี้ โดยเฉพาะที่กำหนดไว้ในมาตรา 2,3,4 และ 5 ซึ่งไม่สามารถที่จะประนีประนอมในทางตรงกันข้าม
ข้อ 8.02 รัฐบาลจะต้องดำเนินการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อให้มั่นใจว่า :
a) การอนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญและบุคคลต่าง ๆ ที่จะเดินทางเข้ามาปฏิบัติงานโดยงบประมาณ ITTO ภายใต้โครงการ และ
b) การยกเว้นภาษีศุลกากรอย่างเหมาะสมของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำเข้า ตลอดจนสิ่งของต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการซึ่งจะต้องเสียภาษี ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่อาจมีร่วมมาด้วยจากวัสดุ โดยการยกเว้น หรือจัดลงในบัญชีของโครงการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนจากรัฐบาลที่มีต่อโครงการ
ข้อ 8.03 รัฐบาลตกลงว่า ITTO ไม่ต้องรับผิดชอบต่อภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บ หรือภาษีอื่น ๆ ที่อาจบังคับใช้ต่ออุปกรณ์ วัสดุ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่นำเข้าสำหรับโครงการ เงินทุนของโครงการจะไม่ได้รับการอนุมัติให้นำไปชำระค่าภาษีศุลกากร หรือภาษีอื่น ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--