1. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แต่งตั้ง นายพงศ์ศักดิ์ ปัจฉิมะกุล นายแพทย์ 9 วช. ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุวิทยา กลุ่มภารกิจวิชาการ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ 10 วช. ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุวิทยา กลุ่มภารกิจวิชาการ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป
2. การแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ความมั่นคงศึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 176 / 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ความมั่นคงศึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ ดังนี้
โดยที่ปัจจุบันสถานการณ์ภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงมีความหลากหลายเชื่อมโยง และซับซ้อนยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การสนับสนุนข้อมูลในการรักษาความมั่นคงของสภาความมั่นคงแห่งชาติสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลตามเป้าหมายยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2502 นายกรัฐมนตรี จึงออกคำสั่งไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ความมั่นคงศึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็น ประธานกรรมการ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ที่ปรึกษาสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ปรึกษาด้านการประสานกิจการความมั่นคง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมาย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมาย ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิจารณา โดยมีผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิจารณา เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และเสนอความเห็นการดำเนินการด้านความมั่นคงตามหลักวิชาการอย่างเหมาะสมให้แก่นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสภาความมั่นคงแห่งชาติ
2. พิจารณาดำเนินการ ศึกษา วิเคราะห์ ค้นคว้า วิจัย และประเมินสถานการณ์ภัยคุกคาม รวมถึงเชิญประชุมหารือผู้เกี่ยวข้อง และประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารตามความจำเป็นเพื่อประกอบการปฏิบัติหน้าที่
3. ดำเนินการด้านข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หน่วยงานและคณะกรรมการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือบุคคล เพื่อดำเนินการใด ๆ ได้ตามความจำเป็น
5. ดำเนินการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติและสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย
ข้อ 2 ให้จัดตั้งศูนย์ความมั่นคงศึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ ขึ้นในสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “ศมศ.สภา มช.” ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการศูนย์ความมั่นคงศึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ และให้สามารถจัดอัตรากำลังเฉพาะกิจ รวมทั้งงบประมาณ เพื่อดำเนินการต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็นและตามความเหมาะสม
ข้อ 3 ให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน ตลอดจนบุคคลและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตามคำสั่งนี้ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ข้อ 4 การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ข้อ 5 ให้สำนักงบประมาณ พิจารณาจัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป เพื่อการปฏิบัติงานตามคำสั่งนี้ ตามที่ได้รับการร้องขอจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยให้จัดสรรตามความจำเป็นและตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
3. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายอเนก หุตังคบดี ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2. นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
4. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงยุติธรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ให้แต่งตั้งนายโสภณ โกชุม ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แทนนายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมที่ได้ขอลาออกจากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
5. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 5 ราย ดังนี้
(1) นายสุพจน์ ฤชุพันธ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(2) นายวีระศักดิ์ จินารัตน์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์)
(3) นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(4) นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ)
(5) ร้อยเอก รชฏ พิสิษฐบรรณกร ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
6. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2. นายศุภชัย ใจสมุทร เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
7. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำรงตำแหน่งระดับ 11 จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เพื่อทดแทนตำแหน่งผู้เกษียณอายุราชการ ดังนี้
1. นายชินภัทร ภูมิรัตน รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง (นักบริหาร 11) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
2. นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ (นักบริหาร 11) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
3. นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ (นักบริหาร 11) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดทั้ง 2 ฝ่าย ได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว) และขอให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งข้าราชการ ทั้ง 3 รายดังกล่าว พ้นจากตำแหน่งเดิม และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป
8. แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหาร 10) สำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ให้แต่งตั้ง นายนิรันดร์ เมืองพระ ตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ 10 ชช.) สำนักงบประมาณ ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหาร 10) สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี และขอให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ข้าราชการดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งเดิมและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป
9. การมอบหมายให้รักษาราชการแทน (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามลำดับดังนี้
1. นายสุพล ฟองงาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
2. นายประสงค์ โฆษิตานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
10. แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ให้มอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์) ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
11. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายธวัชชัย สุทธิบงกช ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
2. นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
12. การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ดังนี้
1. นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
2. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ
13. ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ครั้งที่ 1
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ให้นายวัลลภ พลอยทับทิม ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2552
14. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายสันติ สาทิพย์พงษ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
2. นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
15. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. พลตำรวจโท ชัยยันต์ มะกล่ำทอง ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
2. นายสมาน เลิศวงศ์รัฐ ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
16. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายปัญญา จีนาคำ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
2. นางศรีญาดา ชินวัตร ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
17. แต่งตั้งคณะกรรมการคดีพิเศษประเภทกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ จำนวน 9 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมได้ครบวาระการดำรงตำแหน่ง โดยมีรายชื่อดังนี้
1. นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร
2. นายประดิษฐ์ เอกมณี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การพิจารณาพิพากษาคดี
3. นางรวีพร คูหิรัญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมาย การบัญชี
4. นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การมีความเห็นทางคดี
5. พลตำรวจเอก ล้วน ปานรศทิพ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย รัฐประศาสนศาสตร์การสืบสวนสอบสวน
6. พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย รัฐศาสตร์ สื่อสารมวลชน
7. นายวีรพงษ์ รามางกูร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร
8. พลตำรวจเอก สมบัติ อมรวิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การสืบสวนสอบสวน
9. นายสวัสดิ์ โชติพานิช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การพิจารณาพิพากษาคดี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
18. การแต่งตั้งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอให้แต่งตั้ง นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.อ.) อีกวาระหนึ่ง
19. ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอการแต่งตั้ง “คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ (รศก.)” เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. องค์ประกอบของคณะกรรมการ ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 18 ท่าน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายวีรพงษ์ รามางกูร นายณรงค์ชัย อัครเศรณี นายคณิศ แสงสุพรรณ และนายปรเมธี วิมลศิริ เป็นกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่ ประกอบด้วย
2.1 ประเมินสภาวะเศรษฐกิจ และเสนอแนะนโยบายและมาตรการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้สามารถเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ
2.2 กำกับดูแล ประสาน ผลักดัน และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและมาตรการเศรษฐกิจของรัฐบาล
2.3 แต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อดำเนินการอื่นใดตามความเหมาะสม
2.4 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
3. การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
20. การจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาระบบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง
คณะรัฐมนตรีอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาระบบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยมีองค์ประกอบคณะกรรมการและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบของคณะกรรมการ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ผู้แทนสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา และนักวิชาการอิสระ โดยมี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า กรมการค้าภายใน ผู้อำนวยการกองนิติการ กรมการค้าภายใน และผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาระบบตลาด กรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
1. ศึกษา วิเคราะห์ ปัญหา และผลกระทบที่เกิดขึ้นในธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทั้งระบบ
2. กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
3. ให้รายงานผลการศึกษาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลทราบและให้ความเห็นชอบก่อนยกร่างพระราชบัญญัติ
4. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่ถูกต้อง มีความสมดุล เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคม
5. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของคณะกรรมการ
ค่าเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม/สัมมนา การจัดทำเอกสารเผยแพร่ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้ใช้งบประมาณของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แต่งตั้ง นายพงศ์ศักดิ์ ปัจฉิมะกุล นายแพทย์ 9 วช. ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุวิทยา กลุ่มภารกิจวิชาการ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ 10 วช. ด้านเวชกรรม สาขาจักษุวิทยา กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุวิทยา กลุ่มภารกิจวิชาการ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป
2. การแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ความมั่นคงศึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 176 / 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ความมั่นคงศึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ ดังนี้
โดยที่ปัจจุบันสถานการณ์ภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงมีความหลากหลายเชื่อมโยง และซับซ้อนยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การสนับสนุนข้อมูลในการรักษาความมั่นคงของสภาความมั่นคงแห่งชาติสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลตามเป้าหมายยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2502 นายกรัฐมนตรี จึงออกคำสั่งไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ความมั่นคงศึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็น ประธานกรรมการ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ที่ปรึกษาสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ปรึกษาด้านการประสานกิจการความมั่นคง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมาย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมาย ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิจารณา โดยมีผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิจารณา เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
1. ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะ และเสนอความเห็นการดำเนินการด้านความมั่นคงตามหลักวิชาการอย่างเหมาะสมให้แก่นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสภาความมั่นคงแห่งชาติ
2. พิจารณาดำเนินการ ศึกษา วิเคราะห์ ค้นคว้า วิจัย และประเมินสถานการณ์ภัยคุกคาม รวมถึงเชิญประชุมหารือผู้เกี่ยวข้อง และประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารตามความจำเป็นเพื่อประกอบการปฏิบัติหน้าที่
3. ดำเนินการด้านข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หน่วยงานและคณะกรรมการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือบุคคล เพื่อดำเนินการใด ๆ ได้ตามความจำเป็น
5. ดำเนินการอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติและสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย
ข้อ 2 ให้จัดตั้งศูนย์ความมั่นคงศึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ ขึ้นในสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “ศมศ.สภา มช.” ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการศูนย์ความมั่นคงศึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติ และให้สามารถจัดอัตรากำลังเฉพาะกิจ รวมทั้งงบประมาณ เพื่อดำเนินการต่าง ๆ ได้ตามความจำเป็นและตามความเหมาะสม
ข้อ 3 ให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน ตลอดจนบุคคลและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตามคำสั่งนี้ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ข้อ 4 การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ตามคำสั่งนี้ ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ข้อ 5 ให้สำนักงบประมาณ พิจารณาจัดสรรงบประมาณในลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป เพื่อการปฏิบัติงานตามคำสั่งนี้ ตามที่ได้รับการร้องขอจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยให้จัดสรรตามความจำเป็นและตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
3. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายอเนก หุตังคบดี ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2. นายเฉลิมชัย จีนะวิจารณะ ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
4. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงยุติธรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ให้แต่งตั้งนายโสภณ โกชุม ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แทนนายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมที่ได้ขอลาออกจากตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
5. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 5 ราย ดังนี้
(1) นายสุพจน์ ฤชุพันธ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(2) นายวีระศักดิ์ จินารัตน์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์)
(3) นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(4) นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ)
(5) ร้อยเอก รชฏ พิสิษฐบรรณกร ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
6. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2. นายศุภชัย ใจสมุทร เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
7. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ให้แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำรงตำแหน่งระดับ 11 จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 เพื่อทดแทนตำแหน่งผู้เกษียณอายุราชการ ดังนี้
1. นายชินภัทร ภูมิรัตน รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง (นักบริหาร 11) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
2. นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ (นักบริหาร 11) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
3. นายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ (นักบริหาร 11) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ซึ่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัดทั้ง 2 ฝ่าย ได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว) และขอให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งข้าราชการ ทั้ง 3 รายดังกล่าว พ้นจากตำแหน่งเดิม และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป
8. แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหาร 10) สำนักนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ให้แต่งตั้ง นายนิรันดร์ เมืองพระ ตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ 10 ชช.) สำนักงบประมาณ ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหาร 10) สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี และขอให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ข้าราชการดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งเดิมและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป
9. การมอบหมายให้รักษาราชการแทน (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ให้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามลำดับดังนี้
1. นายสุพล ฟองงาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
2. นายประสงค์ โฆษิตานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
10. แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ให้มอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์) ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
11. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายธวัชชัย สุทธิบงกช ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
2. นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
12. การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ดังนี้
1. นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
2. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้รักษาราชการแทนตามลำดับ
13. ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ครั้งที่ 1
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ให้นายวัลลภ พลอยทับทิม ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2552
14. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายสันติ สาทิพย์พงษ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
2. นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
15. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. พลตำรวจโท ชัยยันต์ มะกล่ำทอง ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
2. นายสมาน เลิศวงศ์รัฐ ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
16. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. นายปัญญา จีนาคำ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
2. นางศรีญาดา ชินวัตร ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
17. แต่งตั้งคณะกรรมการคดีพิเศษประเภทกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ จำนวน 9 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมได้ครบวาระการดำรงตำแหน่ง โดยมีรายชื่อดังนี้
1. นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร
2. นายประดิษฐ์ เอกมณี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การพิจารณาพิพากษาคดี
3. นางรวีพร คูหิรัญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กฎหมาย การบัญชี
4. นายเรวัต ฉ่ำเฉลิม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การมีความเห็นทางคดี
5. พลตำรวจเอก ล้วน ปานรศทิพ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย รัฐประศาสนศาสตร์การสืบสวนสอบสวน
6. พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย รัฐศาสตร์ สื่อสารมวลชน
7. นายวีรพงษ์ รามางกูร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร
8. พลตำรวจเอก สมบัติ อมรวิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การสืบสวนสอบสวน
9. นายสวัสดิ์ โชติพานิช ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การพิจารณาพิพากษาคดี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป
18. การแต่งตั้งกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอให้แต่งตั้ง นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.อ.) อีกวาระหนึ่ง
19. ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอการแต่งตั้ง “คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ (รศก.)” เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการด้านเศรษฐกิจ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. องค์ประกอบของคณะกรรมการ ประกอบด้วยกรรมการ จำนวน 18 ท่าน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายวีรพงษ์ รามางกูร นายณรงค์ชัย อัครเศรณี นายคณิศ แสงสุพรรณ และนายปรเมธี วิมลศิริ เป็นกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่ ประกอบด้วย
2.1 ประเมินสภาวะเศรษฐกิจ และเสนอแนะนโยบายและมาตรการในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้สามารถเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ
2.2 กำกับดูแล ประสาน ผลักดัน และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและมาตรการเศรษฐกิจของรัฐบาล
2.3 แต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อดำเนินการอื่นใดตามความเหมาะสม
2.4 ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
3. การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
20. การจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาระบบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง
คณะรัฐมนตรีอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาระบบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยมีองค์ประกอบคณะกรรมการและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบของคณะกรรมการ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ผู้แทนสมาคมการค้าส่ง-ปลีกไทย นักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา และนักวิชาการอิสระ โดยมี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า กรมการค้าภายใน ผู้อำนวยการกองนิติการ กรมการค้าภายใน และผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาระบบตลาด กรมการค้าภายใน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
1. ศึกษา วิเคราะห์ ปัญหา และผลกระทบที่เกิดขึ้นในธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทั้งระบบ
2. กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
3. ให้รายงานผลการศึกษาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลทราบและให้ความเห็นชอบก่อนยกร่างพระราชบัญญัติ
4. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่ถูกต้อง มีความสมดุล เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และสังคม
5. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของคณะกรรมการ
ค่าเบี้ยประชุม ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม/สัมมนา การจัดทำเอกสารเผยแพร่ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้ใช้งบประมาณของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 สิงหาคม 2551--จบ--