คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรายงานผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ. 2548 ดังนี้
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง พ.ศ. 2548 โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ มีประชาชนถูกเลือกเป็นตัวอย่างจำนวน 5,900 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 14-20 กันยายน 2548 และผลการสำรวจมีสาระสำคัญ สรุปดังนี้
1. การกู้เงินกองทุนฯ และจำนวนครั้งที่กู้ สมาชิกร้อยละ 86.2 ระบุว่าเคยกู้เงินกองทุน และร้อยละ 13.8 ไม่เคยกู้ โดยผู้ที่กู้ส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.7 ระบุว่าเคยกู้เงินกองทุนฯ มาแล้วสองครั้ง ส่วนผู้ที่เคยกู้สามครั้งมีร้อยละ 27.4 กู้เพียงครั้งเดียวร้อยละ 18.6 และกู้สี่ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 10.5
2. การนำเงินกู้ไปใช้ประโยชน์ ผู้กู้ส่วนใหญ่ ระบุว่านำเงินไปใช้หมุนเวียนในการประกอบอาชีพ ร้อยละ 79.0 บรรเทาเหตุฉุกเฉิน/ความเดือดร้อนในครัวเรือน ร้อยละ 16.9 ใช้หนี้แหล่งเงินกู้นอกระบบ ร้อยละ 2.6 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.5
3. การชำระหนี้คืนกองทุนฯ ผู้กู้ส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.0 ระบุว่าสามารถชำระหนี้คืน ฯ ได้ทั้งหมด ส่วนอีกร้อยละ 6.0 ระบุว่ามีปัญหาในการชำระคืน โดยระบุว่าจะชำระคืนได้บางส่วน อยู่ระหว่างการเจรจาขอผ่อนผันและคาดว่าจะชำระคืนไม่ได้ สำหรับเงินที่นำมาใช้ในการชำระหนี้นั้น ผู้ที่กู้เงินส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.3 ระบุว่านำมาจากรายได้ในการประกอบอาชีพ ร้อยละ 24.0 จากเงินสะสม/รายได้อื่นของครอบครัว จากเงินกู้นอกระบบ ร้อยละ 5.9 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 5.8
4. ความโปร่งใส/เป็นธรรมในการให้กู้ยืมเงินกองทุนฯ สมาชิกส่วนใหญ่สูงถึงร้อยละ 88.7 เห็นว่า คณะกรรมการฯ มีความโปร่งใส/เป็นธรรมในการให้กู้ยืม มีพียงร้อยละ 11.3 เห็นว่าไม่โปร่งใส
5. ผลดี/ผลกระทบที่ได้รับหลังจากมีกองทุนฯ
สำหรับผลดีในด้านรายได้ของครัวเรือน มีประชาชนเห็นว่าดีขึ้น ร้อยละ 46.2 เท่าเดิม ร้อยละ 50.1 และลดลง ร้อยละ 3.7 ในเรื่องการออมมีประชาชนเห็นว่าดีขึ้น ร้อยละ 22.8 เท่าเดิม ร้อยละ 62.2 และลดลง ร้อยละ 15.0 และในเรื่องการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน ประชาชนเห็นว่าดีขึ้น ร้อยละ 40.0 เห็นว่าเท่าเดิม ร้อยละ 56.3 และเห็นว่า ลดลง มีร้อยละ 3.7
ส่วนผลกระทบในเรื่องรายจ่าย มีประชาชนเห็นว่ามากขึ้น ร้อยละ 44.0 เท่าเดิมร้อยละ 56.3 และลดลง ร้อยละ 6.9
6. สำหรับความพึงพอใจการดำเนินงานของรัฐบาลต่อโครงการกองทุนฯ ประชาชนส่วนใหญ่ ระบุว่าพอใจระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 89.2 มีเพียงร้อยละ 5.5 ที่ระบุว่าพอใจน้อย/ไม่พอใจ อีกร้อยละ 5.3 ไม่มีความคิดเห็น
7. ความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุนฯ ประชาชนโดยรวมระบุว่าประสบผลสำเร็จในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 84.4 และประสบผลสำเร็จน้อย/ไม่ประสบผลสำเร็จ ร้อยละ 9.0 และอีกร้อยละ 6.6 ไม่มีความคิดเห็น
8. การจัดทำบัญชีรายรับ — รายจ่ายของครัวเรือน มีประชาชนเพียงร้อยละ 14.3 ระบุว่าได้จัดทำแล้ว ส่วนอีกร้อยละ 85.7 ยังไม่ได้จัดทำ โดยแยกเป็นผู้ที่ระบุว่าอยากจะจัดทำ ร้อยละ 24.8 และที่ยังไม่คิดจะทำ/ไม่แน่ใจ มีร้อยละ 60.9
9. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งธนาคารหมู่บ้าน ประชาชนโดยรวม ระบุว่า ทราบ ร้อยละ 44.2 และไม่ทราบ ร้อยละ 55.8 ส่วนความต้องการให้มีธนาคารในชุมชนนั้น ประมาณร้อยละ 84.0 ระบุว่าต้องการให้มี ส่วนที่ไม่ต้องการมีเพียงร้อยละ 4.7 และอีกร้อยละ 11.3 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ
10. ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะต่อโครงการกองทุนฯ มีประชาชนประมาณร้อยละ 30.7 เห็นว่าเป็นโครงการที่ดีไม่ต้องปรับปรุง ส่วนผู้ที่เห็นว่าควรปรับปรุง ร้อยละ 33.5 ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ ควรเพิ่มจำนวนเงินที่ขอกู้ให้มากขึ้น ร้อยละ 29.1 ควรขยายระยะเวลาชำระเงินคืน ร้อยละ 15.1 กระจายเงินกู้ให้ทั่วถึงและเป็นธรรม ร้อยละ 15.1 ลดดอกเบี้ยลง ร้อยละ 13.3 และควรมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำร้อยละ 10.1
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง พ.ศ. 2548 โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ มีประชาชนถูกเลือกเป็นตัวอย่างจำนวน 5,900 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 14-20 กันยายน 2548 และผลการสำรวจมีสาระสำคัญ สรุปดังนี้
1. การกู้เงินกองทุนฯ และจำนวนครั้งที่กู้ สมาชิกร้อยละ 86.2 ระบุว่าเคยกู้เงินกองทุน และร้อยละ 13.8 ไม่เคยกู้ โดยผู้ที่กู้ส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.7 ระบุว่าเคยกู้เงินกองทุนฯ มาแล้วสองครั้ง ส่วนผู้ที่เคยกู้สามครั้งมีร้อยละ 27.4 กู้เพียงครั้งเดียวร้อยละ 18.6 และกู้สี่ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 10.5
2. การนำเงินกู้ไปใช้ประโยชน์ ผู้กู้ส่วนใหญ่ ระบุว่านำเงินไปใช้หมุนเวียนในการประกอบอาชีพ ร้อยละ 79.0 บรรเทาเหตุฉุกเฉิน/ความเดือดร้อนในครัวเรือน ร้อยละ 16.9 ใช้หนี้แหล่งเงินกู้นอกระบบ ร้อยละ 2.6 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.5
3. การชำระหนี้คืนกองทุนฯ ผู้กู้ส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.0 ระบุว่าสามารถชำระหนี้คืน ฯ ได้ทั้งหมด ส่วนอีกร้อยละ 6.0 ระบุว่ามีปัญหาในการชำระคืน โดยระบุว่าจะชำระคืนได้บางส่วน อยู่ระหว่างการเจรจาขอผ่อนผันและคาดว่าจะชำระคืนไม่ได้ สำหรับเงินที่นำมาใช้ในการชำระหนี้นั้น ผู้ที่กู้เงินส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.3 ระบุว่านำมาจากรายได้ในการประกอบอาชีพ ร้อยละ 24.0 จากเงินสะสม/รายได้อื่นของครอบครัว จากเงินกู้นอกระบบ ร้อยละ 5.9 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 5.8
4. ความโปร่งใส/เป็นธรรมในการให้กู้ยืมเงินกองทุนฯ สมาชิกส่วนใหญ่สูงถึงร้อยละ 88.7 เห็นว่า คณะกรรมการฯ มีความโปร่งใส/เป็นธรรมในการให้กู้ยืม มีพียงร้อยละ 11.3 เห็นว่าไม่โปร่งใส
5. ผลดี/ผลกระทบที่ได้รับหลังจากมีกองทุนฯ
สำหรับผลดีในด้านรายได้ของครัวเรือน มีประชาชนเห็นว่าดีขึ้น ร้อยละ 46.2 เท่าเดิม ร้อยละ 50.1 และลดลง ร้อยละ 3.7 ในเรื่องการออมมีประชาชนเห็นว่าดีขึ้น ร้อยละ 22.8 เท่าเดิม ร้อยละ 62.2 และลดลง ร้อยละ 15.0 และในเรื่องการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน ประชาชนเห็นว่าดีขึ้น ร้อยละ 40.0 เห็นว่าเท่าเดิม ร้อยละ 56.3 และเห็นว่า ลดลง มีร้อยละ 3.7
ส่วนผลกระทบในเรื่องรายจ่าย มีประชาชนเห็นว่ามากขึ้น ร้อยละ 44.0 เท่าเดิมร้อยละ 56.3 และลดลง ร้อยละ 6.9
6. สำหรับความพึงพอใจการดำเนินงานของรัฐบาลต่อโครงการกองทุนฯ ประชาชนส่วนใหญ่ ระบุว่าพอใจระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 89.2 มีเพียงร้อยละ 5.5 ที่ระบุว่าพอใจน้อย/ไม่พอใจ อีกร้อยละ 5.3 ไม่มีความคิดเห็น
7. ความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุนฯ ประชาชนโดยรวมระบุว่าประสบผลสำเร็จในระดับปานกลางถึงมาก ร้อยละ 84.4 และประสบผลสำเร็จน้อย/ไม่ประสบผลสำเร็จ ร้อยละ 9.0 และอีกร้อยละ 6.6 ไม่มีความคิดเห็น
8. การจัดทำบัญชีรายรับ — รายจ่ายของครัวเรือน มีประชาชนเพียงร้อยละ 14.3 ระบุว่าได้จัดทำแล้ว ส่วนอีกร้อยละ 85.7 ยังไม่ได้จัดทำ โดยแยกเป็นผู้ที่ระบุว่าอยากจะจัดทำ ร้อยละ 24.8 และที่ยังไม่คิดจะทำ/ไม่แน่ใจ มีร้อยละ 60.9
9. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งธนาคารหมู่บ้าน ประชาชนโดยรวม ระบุว่า ทราบ ร้อยละ 44.2 และไม่ทราบ ร้อยละ 55.8 ส่วนความต้องการให้มีธนาคารในชุมชนนั้น ประมาณร้อยละ 84.0 ระบุว่าต้องการให้มี ส่วนที่ไม่ต้องการมีเพียงร้อยละ 4.7 และอีกร้อยละ 11.3 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ
10. ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะต่อโครงการกองทุนฯ มีประชาชนประมาณร้อยละ 30.7 เห็นว่าเป็นโครงการที่ดีไม่ต้องปรับปรุง ส่วนผู้ที่เห็นว่าควรปรับปรุง ร้อยละ 33.5 ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ ควรเพิ่มจำนวนเงินที่ขอกู้ให้มากขึ้น ร้อยละ 29.1 ควรขยายระยะเวลาชำระเงินคืน ร้อยละ 15.1 กระจายเงินกู้ให้ทั่วถึงและเป็นธรรม ร้อยละ 15.1 ลดดอกเบี้ยลง ร้อยละ 13.3 และควรมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำร้อยละ 10.1
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--