1. คณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ธรณีพิบัติจากคลื่นใต้น้ำ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 14/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ธรณีพิบัติจากคลื่นใต้น้ำ โดยมี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น ประธาน คณะกรรมการ ประกอบด้วย นายสมิทธ ธรรมสโรธ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสมใจนึก เองตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พลเอก ชาญ บุญประเสริฐ นายสุวิทย์ ยอดมณี นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ ศาสตราจารย์ เอิบ เขียวรื่นรมณ์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ อมร เปรมกมล ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ วีระพล สุวรรณนันต์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายธวัช คงเดชา เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี นายศิริพงศ์ ภัทรสถาพรชัย นิติกร 8 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พันตรี เจียรนัย วงศ์สะอาด อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากองทัพบก และพันตรี ขจรศักดิ์ ไทยประยูร นายทหารประจำศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ มีดังนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์และพิจารณากรณีเหตุการณีธรณีพิบัติจากคลื่นใต้น้ำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนปัญหา อุปสรรค และการดำเนินการของหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
2. กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติและเสนอแนะแนวทางในการสร้างความเข้าใจ การเสริมสร้างการป้องกันภัย และการให้ความช่วยเหลือหรือบรรเทาความเสียหาย
3. เรียกหรือเชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือให้จัดส่งเอกสารที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา
4. แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติม คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามความจำเป็น
5. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
2. คณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System)
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 16/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) โดยมี นายสมิทธ ธรรมสโรช เป็นประธานกรรมการ นายสุวิทย์ ยอดมณี เป็นรองประธานกรรมการ คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสภากาชาดไทย นายธีระ สูตะบุตร นายเสรี ศุภราทิตย์ นายปลอดประสพ สุรัสวดี นายปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ นายเป็นหนึ่ง วานิชชัย นายวีระพล แต้สมบัติ ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกรรมการและเลขานุการ นางสาวสมศรี ฮั่นตระกูล และเจ้าหน้าที่กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. ศึกษาประเภทและลักษณะงานของภัยธรรมชาติทุกชนิดที่จะเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทรัพย์สินของทางราชการ ภัยธรรมชาติที่มีผลกระทบระบบเกษตร กสิกรรม สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และ
ภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อระบบอุตสาหกรรม และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติ
2. ศึกษา สำรวจ ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการเฝ้าระวัง ตรวจวัด ตรวจสอบข้อมูลของภัยธรรมชาติชนิดต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย
3. ศึกษา สำรวจ ความพร้อมและความพอเพียงของเครื่องมือตรวจสอบ ตรวจวัดข้อมูลของภัยธรรมชาติ ที่มีอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานในข้อ 2
4. ศึกษา สำรวจปริมาณบุคลากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเฝ้าระวังตรวจวัดตรวจสอบข้อมูลของภัยธรรมชาติชนิดต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย
5. พิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองและวินิจฉัยข้อมูลคำเตือนภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งเตือนภัยธรรมชาติทุกชนิดที่เกิดขึ้นในประเทศแก่ประชาชน
6. สำรวจศึกษาและจัดวางแผน จัดทำระบบสื่อสารข้อมูลคำเตือนภัยระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบใน การตรวจวัดข้อมูลการเกิดภัยธรรมชาติ เสนอคณะกรรมการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อระบบ การเผยแพร่ข้อมูลคำเตือนภัยธรรมชาติทางวิทยุ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง และระบบโทรคมนาคมอื่น ให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างรวดเร็ว
7. ให้คณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) ดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายโดยด่วน และให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการทุกระยะต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรงต่อไป
8. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือผู้รับผิดชอบให้ศึกษาพิจารณา หรือตรวจสอบปัญหาเฉพาะเรื่องได้ตามความจำเป็น
3. กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้แต่งตั้ง นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินทร์ เป็นกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมแทน นางลีนา เจริญศรี และให้นายวิชัย เทียนถาวร, นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา และนายธวัช สุนทราจารย์ เป็นกรรมการอื่นเพิ่มเติมในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม โดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่เหลือของคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2545
4. เอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยคนใหม่
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอให้แต่งตั้ง นายอิกนาซีโอ ดี ปาเช (Mr. Ignazio DI PACE) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทยคนใหม่ สืบแทน นายสเตฟาโน สตาราเช ยันฟอลลา โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 14/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ธรณีพิบัติจากคลื่นใต้น้ำ โดยมี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น ประธาน คณะกรรมการ ประกอบด้วย นายสมิทธ ธรรมสโรธ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสมใจนึก เองตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พลเอก ชาญ บุญประเสริฐ นายสุวิทย์ ยอดมณี นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ ศาสตราจารย์ เอิบ เขียวรื่นรมณ์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ อมร เปรมกมล ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์ วีระพล สุวรรณนันต์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายธวัช คงเดชา เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี นายศิริพงศ์ ภัทรสถาพรชัย นิติกร 8 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พันตรี เจียรนัย วงศ์สะอาด อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากองทัพบก และพันตรี ขจรศักดิ์ ไทยประยูร นายทหารประจำศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ มีดังนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์และพิจารณากรณีเหตุการณีธรณีพิบัติจากคลื่นใต้น้ำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนปัญหา อุปสรรค และการดำเนินการของหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ
2. กำหนดแนวทาง วิธีปฏิบัติและเสนอแนะแนวทางในการสร้างความเข้าใจ การเสริมสร้างการป้องกันภัย และการให้ความช่วยเหลือหรือบรรเทาความเสียหาย
3. เรียกหรือเชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือให้จัดส่งเอกสารที่เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา
4. แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติม คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามความจำเป็น
5. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
2. คณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System)
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 16/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) โดยมี นายสมิทธ ธรรมสโรช เป็นประธานกรรมการ นายสุวิทย์ ยอดมณี เป็นรองประธานกรรมการ คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสภากาชาดไทย นายธีระ สูตะบุตร นายเสรี ศุภราทิตย์ นายปลอดประสพ สุรัสวดี นายปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ นายเป็นหนึ่ง วานิชชัย นายวีระพล แต้สมบัติ ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกรรมการและเลขานุการ นางสาวสมศรี ฮั่นตระกูล และเจ้าหน้าที่กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. ศึกษาประเภทและลักษณะงานของภัยธรรมชาติทุกชนิดที่จะเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทรัพย์สินของทางราชการ ภัยธรรมชาติที่มีผลกระทบระบบเกษตร กสิกรรม สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ และ
ภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อระบบอุตสาหกรรม และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศชาติ
2. ศึกษา สำรวจ ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการเฝ้าระวัง ตรวจวัด ตรวจสอบข้อมูลของภัยธรรมชาติชนิดต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย
3. ศึกษา สำรวจ ความพร้อมและความพอเพียงของเครื่องมือตรวจสอบ ตรวจวัดข้อมูลของภัยธรรมชาติ ที่มีอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานในข้อ 2
4. ศึกษา สำรวจปริมาณบุคลากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเฝ้าระวังตรวจวัดตรวจสอบข้อมูลของภัยธรรมชาติชนิดต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย
5. พิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองและวินิจฉัยข้อมูลคำเตือนภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งเตือนภัยธรรมชาติทุกชนิดที่เกิดขึ้นในประเทศแก่ประชาชน
6. สำรวจศึกษาและจัดวางแผน จัดทำระบบสื่อสารข้อมูลคำเตือนภัยระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบใน การตรวจวัดข้อมูลการเกิดภัยธรรมชาติ เสนอคณะกรรมการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อระบบ การเผยแพร่ข้อมูลคำเตือนภัยธรรมชาติทางวิทยุ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง และระบบโทรคมนาคมอื่น ให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างรวดเร็ว
7. ให้คณะกรรมการศึกษาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) ดำเนินงานที่ได้รับมอบหมายโดยด่วน และให้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการทุกระยะต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรงต่อไป
8. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือผู้รับผิดชอบให้ศึกษาพิจารณา หรือตรวจสอบปัญหาเฉพาะเรื่องได้ตามความจำเป็น
3. กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้แต่งตั้ง นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินทร์ เป็นกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมแทน นางลีนา เจริญศรี และให้นายวิชัย เทียนถาวร, นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา และนายธวัช สุนทราจารย์ เป็นกรรมการอื่นเพิ่มเติมในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม โดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งที่เหลือของคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2545
4. เอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยคนใหม่
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอให้แต่งตั้ง นายอิกนาซีโอ ดี ปาเช (Mr. Ignazio DI PACE) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐอิตาลีประจำประเทศไทยคนใหม่ สืบแทน นายสเตฟาโน สตาราเช ยันฟอลลา โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--