คณะรัฐมนตรีรับทราบการกำหนดอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงสำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษา ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ทั้งนี้ เป็นไปตามมติของคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 16 ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2548 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2548 ที่เห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงสำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษาที่ทำงานชนิดไม่เต็มเวลา โดยกำหนดชั่วโมงในการทำงาน เงื่อนไขการจ้าง ลักษณะ และประเภทกิจการที่กำหนดให้มีการจ้างงานชนิดไม่เต็มเวลา ดังนี้
1. การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมงให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ทำงานชนิดไม่เต็มเวลา ในอัตราไม่ต่ำกว่าชั่วโมงละ 25 บาท
2. การกำหนดชั่วโมงในการทำงาน สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา กำหนดเป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้
2.1 ชั่วโมงการทำงานนอกเวลาเรียนในช่วงเปิดภาคเรียนปกติ ไม่เกิน 4 ชั่วโมงต่อวัน
2.2 ชั่วโมงการทำงานในช่วงปิดภาคเรียน ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน
3. เงื่อนไขการจ้างงานชนิดไม่เต็มเวลาเฉพาะนักเรียน นิสิต นักศึกษา มีดังนี้
3.1 มีเอกสารแสดงสถานภาพ โดยให้สถานศึกษาออกหนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะทำงานไม่เต็มเวลา
3.2 การจ้างงานไม่เต็มเวลาของนักเรียน นิสิต นักศึกษา เป็นการจ้างงานนอกเวลาเรียนในช่วงเปิดภาคเรียนปกติ ในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันนักขัตฤกษ์ และวันปิดภาคเรียน
3.3 นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ประสงค์จะทำงานไม่เต็มเวลา ต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
3.4 การแต่งกายในระหว่างการทำงานของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้แต่งเครื่องแบบนักเรียน นิสิต นักศึกษา และ/หรือแบบฟอร์มที่มีสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาทำงานชนิดไม่เต็มเวลา เช่น ป้ายชื่อ
4. ลักษณะงานและประเภทกิจการที่กำหนดให้มีการจ้างนักเรียน นิสิต นักศึกษาทำงานชนิดไม่เต็มเวลา มีดังนี้
4.1 งานขายสินค้าและบริการลูกค้า
4.2 งานวิจัยตลาด
4.3 งานร้านอาหาร
4.4 งานห้างสรรพสินค้า
4.5 งานบริการในร้านสะดวกซื้อ
4.6 งานคลังสินค้า
4.7 ต้องเป็นงานที่มีความปลอดภัย และไม่เสี่ยงอันตราย โดยห้ามให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทำงาน ดังนี้
(1) งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
(2) งานปั๊มโลหะ
(3) งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียง และแสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติ อันอาจเป็นอันตราย
(4) งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย
(5) งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา ฯลฯ
(6) งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ
(7) งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่น
(8) งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
(9) งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้ดินน้ำ ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา
(10) งานเกี่ยวกับมันตภาพรังสี
(11) งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ขณะที่เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์กำลังทำงาน
(12) งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป
4.8 สถานที่ที่ห้ามไม่ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทำงาน คือ
(1) โรงฆ่าสัตว์
(2) สถานที่เล่นการพนัน
(3) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง
(4) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการโดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
ทั้งนี้ ได้จัดส่งประกาศฯ ฉบับดังกล่าว เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2548 แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมงให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ทำงานชนิดไม่เต็มเวลา ในอัตราไม่ต่ำกว่าชั่วโมงละ 25 บาท
2. การกำหนดชั่วโมงในการทำงาน สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา กำหนดเป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้
2.1 ชั่วโมงการทำงานนอกเวลาเรียนในช่วงเปิดภาคเรียนปกติ ไม่เกิน 4 ชั่วโมงต่อวัน
2.2 ชั่วโมงการทำงานในช่วงปิดภาคเรียน ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน
3. เงื่อนไขการจ้างงานชนิดไม่เต็มเวลาเฉพาะนักเรียน นิสิต นักศึกษา มีดังนี้
3.1 มีเอกสารแสดงสถานภาพ โดยให้สถานศึกษาออกหนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะทำงานไม่เต็มเวลา
3.2 การจ้างงานไม่เต็มเวลาของนักเรียน นิสิต นักศึกษา เป็นการจ้างงานนอกเวลาเรียนในช่วงเปิดภาคเรียนปกติ ในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันนักขัตฤกษ์ และวันปิดภาคเรียน
3.3 นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ประสงค์จะทำงานไม่เต็มเวลา ต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
3.4 การแต่งกายในระหว่างการทำงานของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้แต่งเครื่องแบบนักเรียน นิสิต นักศึกษา และ/หรือแบบฟอร์มที่มีสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาทำงานชนิดไม่เต็มเวลา เช่น ป้ายชื่อ
4. ลักษณะงานและประเภทกิจการที่กำหนดให้มีการจ้างนักเรียน นิสิต นักศึกษาทำงานชนิดไม่เต็มเวลา มีดังนี้
4.1 งานขายสินค้าและบริการลูกค้า
4.2 งานวิจัยตลาด
4.3 งานร้านอาหาร
4.4 งานห้างสรรพสินค้า
4.5 งานบริการในร้านสะดวกซื้อ
4.6 งานคลังสินค้า
4.7 ต้องเป็นงานที่มีความปลอดภัย และไม่เสี่ยงอันตราย โดยห้ามให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทำงาน ดังนี้
(1) งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
(2) งานปั๊มโลหะ
(3) งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียง และแสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติ อันอาจเป็นอันตราย
(4) งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตราย
(5) งานเกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย รา ฯลฯ
(6) งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ
(7) งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่น
(8) งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
(9) งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้ดินน้ำ ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา
(10) งานเกี่ยวกับมันตภาพรังสี
(11) งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ขณะที่เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์กำลังทำงาน
(12) งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป
4.8 สถานที่ที่ห้ามไม่ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทำงาน คือ
(1) โรงฆ่าสัตว์
(2) สถานที่เล่นการพนัน
(3) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง
(4) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการโดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
ทั้งนี้ ได้จัดส่งประกาศฯ ฉบับดังกล่าว เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2548 แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--