คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องการตรวจราชการและติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ของนายกรัฐมนตรี ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจราชการและติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2548 และร่วมรับฟังความคืบหน้าการเยียวยาผู้ประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2548 นั้น นายกรัฐมนตรีมีดำริในการตรวจราชการและประชุมดังกล่าวว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้นให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยด่วน ดังนี้
1. การบรรเทาผลกระทบกรณีน้ำท่วม
1.1 การช่วยเหลือด้านภาระภาษีและหนี้ ให้กระทรวงการคลังพิจารณามาตรการผ่อนปรนภาระภาษีสรรพากร เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่ และให้สถาบันการเงินของรัฐพิจารณาผ่อนปรนหรือขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้วย
1.2 การช่วยเหลือเกษตรกร ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณามาตรการ รับซื้อ โค/กระบือ ภายใต้โครงการโคล้านครอบครัว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยด่วน เพิ่มเติมจากมาตรการสนับสนุน อาหารสัตว์ และการฝากเลี้ยงที่ดำเนินการอยู่แล้ว
2. การแก้ไขปัญหาในจังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิ
2.1 ปัญหาน้ำจืดขาดแคลน มอบกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาความเป็นไปได้และดำเนินการเพื่อจัดส่งน้ำเป็นการถาวรจากเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มายังพื้นที่ที่ขาดแคลนโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต
2.2 ชะลอการให้เช่าที่สาธารณะ เพื่อให้การวางผังเมืองในภาพรวมจัดทำได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเห็นควรให้ทุกหน่วยงานราชการในพื้นที่ เช่น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระงับ การให้เอกชนเช่าที่สาธารณะ เพื่อทำประโยชน์ต่าง ๆ ไว้ชั่วคราว และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดการปรับผังเมืองให้มีความชัดเจนและถูกต้องโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--
ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปตรวจราชการและติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2548 และร่วมรับฟังความคืบหน้าการเยียวยาผู้ประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2548 นั้น นายกรัฐมนตรีมีดำริในการตรวจราชการและประชุมดังกล่าวว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้นให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยด่วน ดังนี้
1. การบรรเทาผลกระทบกรณีน้ำท่วม
1.1 การช่วยเหลือด้านภาระภาษีและหนี้ ให้กระทรวงการคลังพิจารณามาตรการผ่อนปรนภาระภาษีสรรพากร เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่ และให้สถาบันการเงินของรัฐพิจารณาผ่อนปรนหรือขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้วย
1.2 การช่วยเหลือเกษตรกร ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณามาตรการ รับซื้อ โค/กระบือ ภายใต้โครงการโคล้านครอบครัว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยด่วน เพิ่มเติมจากมาตรการสนับสนุน อาหารสัตว์ และการฝากเลี้ยงที่ดำเนินการอยู่แล้ว
2. การแก้ไขปัญหาในจังหวัดภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิ
2.1 ปัญหาน้ำจืดขาดแคลน มอบกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาความเป็นไปได้และดำเนินการเพื่อจัดส่งน้ำเป็นการถาวรจากเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มายังพื้นที่ที่ขาดแคลนโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต
2.2 ชะลอการให้เช่าที่สาธารณะ เพื่อให้การวางผังเมืองในภาพรวมจัดทำได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเห็นควรให้ทุกหน่วยงานราชการในพื้นที่ เช่น หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระงับ การให้เอกชนเช่าที่สาธารณะ เพื่อทำประโยชน์ต่าง ๆ ไว้ชั่วคราว และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดการปรับผังเมืองให้มีความชัดเจนและถูกต้องโดยเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--