คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) รายงานสรุปปัญหาภัยแล้งและการดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดังนี้
จังหวัดเพชรบุรี
1. จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ประสบภัยแล้งรวม 8 อำเภอ 60 ตำบล 437 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 37,846 ครัวเรือน (137,621 คน)
2. พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย รวม 45,274 ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่นา 18,750 ไร่, พื้นที่ 19,753 ไร่, และพื้นที่สวน 6,771 ไร่) มูลค่าความเสียหาย 12,167,409 บาท
3. จังหวัดเพชรบุรีได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคแก่ประชาชน โดยใช้รถยนต์บรรทุกน้ำจำนวน 74 คัน บรรทุกจำนวน 2,366 เที่ยว บรรทุกน้ำแจกจ่ายแล้ว รวม 24,149,006 ลิตร (คิดเป็นเงิน 542,840.60 บาท)
การดำเนินงานแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
1. จัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง โดยเน้นการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มูลนิธิ เข้าช่วยเหลือประชาชน
2. จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
3. จัดตั้งศูนย์อำนวยการภัยแล้งจังหวัดเพชรบุรี ขึ้น ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบุรี โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรับแจ้งรายงานเหตุ และรวบรวมข้อมูลจากทุกพื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรี ตลอด 24 ชั่วโมง
4. จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อตรวจสอบติดตามการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และรวบรวมปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการในทุกพื้นที่ของจังหวัด โดยดำเนินการประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขให้เกิดความชัดเจน รวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง
5. จัดทำบัญชีเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักรกล และยานพาหนะในการใช้ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งของทุกหน่วยงานในจังหวัดเพชรบุรี เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
6. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีเป็นประธาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และหัวหน้าโครงการส่งน้ำชลประทานจังหวัดเพชรบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้เพื่อควบคุมดูแลการจัดสรรน้ำ การผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำ และเขื่อนเก็บกักน้ำที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมีการบูรณาการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมการลุ่มน้ำจังหวัดเพชรบุรี เพื่อรองรับการเกิดสถานการณ์ภัยแล้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานและอาจรุนแรงได้ และเพื่อเป็นการจัดสรรปริมาณน้ำต้นทุนให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ
7. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ หรือปริมาณน้ำมีน้อย งดทำนาปรัง โดยให้ทำการปลูกพืชอายุสั้นแทน
8. เป่าล้างและซ่อมแซมบ่อบาดาลแก้ปัญหาภัยแล้ง ในหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการโดยใช้งบประมาณงบกลาง รวม 5 อำเภอ 26 ตำบล 57 หมู่บ้าน จำนวน 116 บ่อ
9. ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำ และสร้างความเข้าใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
1. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีพื้นที่ประสบภัยแล้งในช่วงแรก รวม 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 27 ตำบล 147 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 18,439 ครัวเรือน (66,886 คน)
2. สำหรับพื้นที่การเกษตรของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับการประสานจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่าไม่ได้รับรายงานความเสียหายจากอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดแต่ประการใดเนื่องจากในระยะหลังได้มีฝนตก ในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2548 เป็นต้นมา โดยฝนมีลักษณะการตกเป็นช่วง ๆ
3. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนในช่วงเกิดภาวะภัยแล้งช่วงแรก โดยใช้รถยนต์บรรทุกน้ำจำนวน 19 คัน บรรทุกจำนวน 422 เที่ยว บรรทุกน้ำแจกจ่ายแล้วรวม 2,551,000 ลิตร (คิดเป็นเงิน 69,695 บาท)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ได้ประสานงานและให้ข้อเสนอแนะกับทางจังหวัดเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ดังนี้
1. ให้จังหวัดเตรียมจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งไว้ล่วงหน้า โดยให้กำหนดเป็นระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว เพื่อจะได้นำเสนอพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อไป
2. ให้จังหวัดจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการน้ำอย่างยังยืน เพื่อเป็นการจัดสรรน้ำต้นทุนให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--
จังหวัดเพชรบุรี
1. จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ประสบภัยแล้งรวม 8 อำเภอ 60 ตำบล 437 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 37,846 ครัวเรือน (137,621 คน)
2. พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย รวม 45,274 ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่นา 18,750 ไร่, พื้นที่ 19,753 ไร่, และพื้นที่สวน 6,771 ไร่) มูลค่าความเสียหาย 12,167,409 บาท
3. จังหวัดเพชรบุรีได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคแก่ประชาชน โดยใช้รถยนต์บรรทุกน้ำจำนวน 74 คัน บรรทุกจำนวน 2,366 เที่ยว บรรทุกน้ำแจกจ่ายแล้ว รวม 24,149,006 ลิตร (คิดเป็นเงิน 542,840.60 บาท)
การดำเนินงานแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
1. จัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง โดยเน้นการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มูลนิธิ เข้าช่วยเหลือประชาชน
2. จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
3. จัดตั้งศูนย์อำนวยการภัยแล้งจังหวัดเพชรบุรี ขึ้น ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบุรี โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรับแจ้งรายงานเหตุ และรวบรวมข้อมูลจากทุกพื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรี ตลอด 24 ชั่วโมง
4. จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อตรวจสอบติดตามการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และรวบรวมปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการในทุกพื้นที่ของจังหวัด โดยดำเนินการประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขให้เกิดความชัดเจน รวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง
5. จัดทำบัญชีเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักรกล และยานพาหนะในการใช้ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งของทุกหน่วยงานในจังหวัดเพชรบุรี เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
6. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีเป็นประธาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ และหัวหน้าโครงการส่งน้ำชลประทานจังหวัดเพชรบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้เพื่อควบคุมดูแลการจัดสรรน้ำ การผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำ และเขื่อนเก็บกักน้ำที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมีการบูรณาการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมการลุ่มน้ำจังหวัดเพชรบุรี เพื่อรองรับการเกิดสถานการณ์ภัยแล้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาวนานและอาจรุนแรงได้ และเพื่อเป็นการจัดสรรปริมาณน้ำต้นทุนให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ
7. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ หรือปริมาณน้ำมีน้อย งดทำนาปรัง โดยให้ทำการปลูกพืชอายุสั้นแทน
8. เป่าล้างและซ่อมแซมบ่อบาดาลแก้ปัญหาภัยแล้ง ในหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการโดยใช้งบประมาณงบกลาง รวม 5 อำเภอ 26 ตำบล 57 หมู่บ้าน จำนวน 116 บ่อ
9. ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำ และสร้างความเข้าใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
1. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีพื้นที่ประสบภัยแล้งในช่วงแรก รวม 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 27 ตำบล 147 หมู่บ้าน ราษฎรประสบภัย 18,439 ครัวเรือน (66,886 คน)
2. สำหรับพื้นที่การเกษตรของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับการประสานจากสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่าไม่ได้รับรายงานความเสียหายจากอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดแต่ประการใดเนื่องจากในระยะหลังได้มีฝนตก ในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2548 เป็นต้นมา โดยฝนมีลักษณะการตกเป็นช่วง ๆ
3. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนในช่วงเกิดภาวะภัยแล้งช่วงแรก โดยใช้รถยนต์บรรทุกน้ำจำนวน 19 คัน บรรทุกจำนวน 422 เที่ยว บรรทุกน้ำแจกจ่ายแล้วรวม 2,551,000 ลิตร (คิดเป็นเงิน 69,695 บาท)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายไชยยศ สะสมทรัพย์) ได้ประสานงานและให้ข้อเสนอแนะกับทางจังหวัดเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ดังนี้
1. ให้จังหวัดเตรียมจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งไว้ล่วงหน้า โดยให้กำหนดเป็นระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว เพื่อจะได้นำเสนอพิจารณาจัดสรรงบประมาณต่อไป
2. ให้จังหวัดจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการน้ำอย่างยังยืน เพื่อเป็นการจัดสรรน้ำต้นทุนให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--