คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการมาตรการให้ความช่วยเหลือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปตามมาตรการให้ความช่วยเหลือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรการด้านภาษีท้องถิ่น และ มาตรการด้านค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า ควรกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมในด้านภาษีและค่าธรรมเนียม รวมทั้งรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามมาตรการให้ความช่วยเหลือที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น 3 มาตรการสำคัญ ได้แก่ มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านภาษีและค่าธรรมเนียม มาตรการด้านการเบิกจ่ายงบประมาณและการดำเนินการด้านการพัสดุและมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ดังนี้
1. มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านภาษีและค่าธรรมเนียม
1.1 มาตรการด้านภาษีศุลกากร
- ส่งเสริมให้มีการยื่นขอจัดตั้งเขตปลอดอากร และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงงานผลิตสินค้า เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยลดขั้นตอนและภาระภาษีศุลกากร
- สนับสนุนให้มีการจัดตั้งร้านค้าปลอดอากรในเขตชายแดนไทยที่อำเภอสะเดา อำเภอเบตง และอำเภอสุไหงโกลก เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาซื้อสินค้าในประเทศไทย
โดยมอบหมายให้กรมศุลกากรไปดำเนินการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการมาลงทุนจัดตั้งเขตปลอดอากร และคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า ต่อไป
1.2 มาตรการด้านภาษีท้องถิ่น บรรเทาภาระภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังนี้
- เจ้าพนักงานประเมินสามารถประเมินค่ารายปีของโรงเรือนต่ำลง ในกรณีเกิดความไม่สงบในพื้นที่เป็นผลให้ค่ารายปีหรือค่าเช่าต่อปีต่ำลง หรือไม่มีค่าเช่า
- ผู้เสียภาษีสามารถยื่นคำร้องขอให้ลดหย่อนภาษีตามสัดส่วนโรงเรือนที่เสียหายหรือขอยกเว้นภาษีทั้งหมดก็ได้
- ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการเลื่อนกำหนดเวลาการยื่นแบบประเมินการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินได้
โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการประสานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
1.3 มาตรการด้านค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
- ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิมร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
- ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ จากเดิมร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยให้มีผลใช้บังคับต่อไป โดยมีการกำหนดระยะเวลาของการให้สิทธิประโยชน์ 1 ปี
2. มาตรการยกเว้นเบี้ยปรับให้แก่ผู้ประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ยกเว้นเบี้ยปรับให้แก่ผู้ประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้าง่ในกรณีที่รับเหมาก่อสร้างให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐสามารถพิจารณาขยายอายุสัญญาได้ 180 วัน และหากเกินกว่า 180 วัน ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ได้รับมอบหมายอำนาจขยายอายุสัญญาได้
ทั้งนี้ เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และกรมบัญชีกลางได้มีหนังสือเวียนแจ้งไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว
3. มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน
3.1 การให้บริการทางการเงินตามหลักศาสนาอิสลามมอบหมายให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินซึ่งเปิดแผนกเฉพาะกิจเพื่อให้บริการทางการเงินตามหลักศาสนาอิสลามให้ตรงตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจะดำเนินการให้บริการในการจัดการซะกาตแก่ประชาชนในพื้นที่ที่ต้องการได้ทันทีตามกฎหมายรองรับการจัดตั้ง และขณะนี้ได้ดำเนินการเปิดบัญชีในนามกองทุนซะกาตโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการซะกาตเป็นผู้ดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม ส่วนการบริการด้านอื่น ๆ เช่น การจัดให้มีการประกันภัย การร่วมมือกับสหกรณ์อิสลาม การจัดบริการโรงรับจำนำ อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม
3.2 ขยายเวลาการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 20,000 ล้านบาท ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย
- ขยายเวลาของโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำตามมาตรการให้ความช่วยเหลือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2549
- ผ่อนปรนเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือครอบคลุมผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ทุกระดับ ทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่
- ผู้ประกอบกิจการรายเก่าที่ได้รับความช่วยเหลืออยู่ในขณะนี้ให้สามารถเพิ่มวงเงินได้
- ผู้ประกอบกิจการรายใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับความช่วยเหลือมาก่อนสามารถขอสินเชื่อใหม่ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า ควรกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมในด้านภาษีและค่าธรรมเนียม รวมทั้งรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามมาตรการให้ความช่วยเหลือที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น 3 มาตรการสำคัญ ได้แก่ มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านภาษีและค่าธรรมเนียม มาตรการด้านการเบิกจ่ายงบประมาณและการดำเนินการด้านการพัสดุและมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ดังนี้
1. มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านภาษีและค่าธรรมเนียม
1.1 มาตรการด้านภาษีศุลกากร
- ส่งเสริมให้มีการยื่นขอจัดตั้งเขตปลอดอากร และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงงานผลิตสินค้า เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยลดขั้นตอนและภาระภาษีศุลกากร
- สนับสนุนให้มีการจัดตั้งร้านค้าปลอดอากรในเขตชายแดนไทยที่อำเภอสะเดา อำเภอเบตง และอำเภอสุไหงโกลก เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาซื้อสินค้าในประเทศไทย
โดยมอบหมายให้กรมศุลกากรไปดำเนินการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการมาลงทุนจัดตั้งเขตปลอดอากร และคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้า ต่อไป
1.2 มาตรการด้านภาษีท้องถิ่น บรรเทาภาระภาษีโรงเรือนและที่ดินให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังนี้
- เจ้าพนักงานประเมินสามารถประเมินค่ารายปีของโรงเรือนต่ำลง ในกรณีเกิดความไม่สงบในพื้นที่เป็นผลให้ค่ารายปีหรือค่าเช่าต่อปีต่ำลง หรือไม่มีค่าเช่า
- ผู้เสียภาษีสามารถยื่นคำร้องขอให้ลดหย่อนภาษีตามสัดส่วนโรงเรือนที่เสียหายหรือขอยกเว้นภาษีทั้งหมดก็ได้
- ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการเลื่อนกำหนดเวลาการยื่นแบบประเมินการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินได้
โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการประสานกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
1.3 มาตรการด้านค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
- ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิมร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
- ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ จากเดิมร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยให้มีผลใช้บังคับต่อไป โดยมีการกำหนดระยะเวลาของการให้สิทธิประโยชน์ 1 ปี
2. มาตรการยกเว้นเบี้ยปรับให้แก่ผู้ประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ยกเว้นเบี้ยปรับให้แก่ผู้ประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้าง่ในกรณีที่รับเหมาก่อสร้างให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐสามารถพิจารณาขยายอายุสัญญาได้ 180 วัน และหากเกินกว่า 180 วัน ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ได้รับมอบหมายอำนาจขยายอายุสัญญาได้
ทั้งนี้ เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และกรมบัญชีกลางได้มีหนังสือเวียนแจ้งไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว
3. มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน
3.1 การให้บริการทางการเงินตามหลักศาสนาอิสลามมอบหมายให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานหลักในการประสานกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสินซึ่งเปิดแผนกเฉพาะกิจเพื่อให้บริการทางการเงินตามหลักศาสนาอิสลามให้ตรงตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยจะดำเนินการให้บริการในการจัดการซะกาตแก่ประชาชนในพื้นที่ที่ต้องการได้ทันทีตามกฎหมายรองรับการจัดตั้ง และขณะนี้ได้ดำเนินการเปิดบัญชีในนามกองทุนซะกาตโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการซะกาตเป็นผู้ดูแลการดำเนินการให้เป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม ส่วนการบริการด้านอื่น ๆ เช่น การจัดให้มีการประกันภัย การร่วมมือกับสหกรณ์อิสลาม การจัดบริการโรงรับจำนำ อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลาม
3.2 ขยายเวลาการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 20,000 ล้านบาท ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดย
- ขยายเวลาของโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำตามมาตรการให้ความช่วยเหลือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2549
- ผ่อนปรนเงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือครอบคลุมผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ทุกระดับ ทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่
- ผู้ประกอบกิจการรายเก่าที่ได้รับความช่วยเหลืออยู่ในขณะนี้ให้สามารถเพิ่มวงเงินได้
- ผู้ประกอบกิจการรายใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับความช่วยเหลือมาก่อนสามารถขอสินเชื่อใหม่ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--