คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงบประมาณรายงานการเตรียมการจัดทำงบประมาณและการกำหนดปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 สรุปได้ดังนี้
1. แนวทางในการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550
1.1 จัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2550 ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2550 ตามกรอบยุทธศาสตร์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2548 — 2551
1.2 ดำเนินนโยบายงบประมาณสมดุลอย่างต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ.2548 และปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ตามแผนบริหารราชการแผ่นดิน
1.3 ควบคุมรายจ่ายประจำให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้มีรายจ่ายลงทุนเพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ
1.4 เน้นความสมดุลระหว่างนโยบายทางสังคมและนโยบายทางเศรษฐกิจ
1.5 เน้นภารกิจที่มีความต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายสำคัญของรัฐบาล (Flag ship) โครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ (Mega Projects) และพิจารณาทบทวนเพื่อตัดทอน ชะลอ ยกเลิกภารกิจที่มีความซ้ำซ้อนระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ควบคู่กับการพิจารณาแหล่งเงินอื่นนอกเหนือจากแหล่งเงินงบประมาณ
2 การเตรียมความพร้อมในเบื้องต้นเพื่อการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 เพื่อให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 สามารถบรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจดำเนินการ ดังนี้
2.1 พิจารณาทบทวนการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ ผลผลิต กิจกรรม และตัวชี้วัดผลสำเร็จของปีงบประมาณ พ.ศ.2549 พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับสถานการณ์ความเป็นจริงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2.2 พิจารณาทบทวนแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของส่วนราชการร่วมกับสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการให้ สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2550 เพื่อใช้เป็นกรอบใน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550
2.3 ปรับปรุงฐานข้อมูลงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ตามข้อ 2.2 พร้อมทั้งจัดทำประมาณการรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็นที่สอดคล้องกับฐานข้อมูลรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง เพื่อให้ทราบภาระงบประมาณและให้เป็นกรอบในการกำหนดทางเลือกและจำลำดับความสำคัญประกอบการตัดสินใจของรัฐบาลในการจัดสรรงบประมาณภายใต้วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การกำหนดปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 เป็นการกำหนดแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงานในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลและระยะเวลาที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด โดยมีลำดับขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
3.1 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการเตรียมการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ในวันที่ 18 ตุลาคม 2548
3.2 ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจร่วมกับสำนักงบประมาณ พิจารณาทบทวนการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ ผลผลิต กิจกรรม และตัวชี้วัดผลสำเร็จ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2549 พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2548 รวมทั้งการปรับปรุงฐานข้อมูลรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง และจัดทำประมาณการรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็นระหว่างเดือนตุลาคม — พฤศจิกายน 2548
3.3 ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจร่วมกับสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณาทบทวนแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของส่วนราชการที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชกรแผ่นดิน พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2550 เสนอต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ความเห็นชอบ และส่งสำนักงบประมาณ ระหว่างเดือนตุลาคม — ธันวาคม 2548
3.4 กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาทบทวนประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อจัดทำข้อเสนอระหว่างเดือนพฤศจิกายน — ธันวาคม 2548
3.5 สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันพิจารณาทบทวนและจัดทำข้อเสนอเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และสถานการณ์ปัจจุบัน ระหว่างเดือน พฤศจิกายน — ธันวาคม 2548
3.6 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบนโยบายงบประมาณ วงเงิน โครงสร้างงบประมาณ และยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ในวันที่ 17 มกราคม 2549 สำนักงบประมาณเวียนแจ้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทราบพร้อมหลักเกณฑ์คู่มือคำขอและวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ
3.7 รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ และรัฐมนตรีมอบนโยบายให้กระทรวงส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจจัดทำเป้าหมาย ยุทธศาสตร์กระทรวง ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2550 ในระหว่างวันที่ 18 — 24 มกราคม 2549 ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับวงเงินและคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ในทุกมิติที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2550 พร้อมประมาณการรายได้ประจำปีฯ เสนอรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพิจารณากลั่นกรองรายละเอียดให้ความเห็นชอบและส่งสำนักงบประมาณ ระหว่างวันที่ 25 มกราคม — 23 กุมภาพันธ์ 2549
3.8 สำนักงบประมาณพิจารณาและจัดทำข้อเสนอรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ โดยบูรณาการงบประมาณในมิติกระทรวง มิติประเด็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและมิติพื้นที่ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พร้อมหลักเกณฑ์การปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ — 10 เมษายน 2549 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันที่ 18 เมษายน 2549
3.9 รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบและรัฐมนตรีมอบนโยบายให้กระทรวงส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและส่งสำนักงบประมาณในวันที่ 19 — 25 เมษายน 2549
3.10 สำนักงบประมาณพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันที่ 9 พฤษภาคม 2549
3.11 สำนักงบประมาณจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 และเอกสารงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2549
3.12 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ของสภาผู้แทนราษฎรวาระที่ 1 ควรเริ่มพิจารณาในวันที่ 14 — 15 มิถุนายน 2549 และวาระที่ 2 — 3 ควรเริ่มพิจารณาในวันที่ 23 — 24 สิงหาคม 2549 ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ของสภาผู้แทนราษฎรแล้วเสร็จก่อนวันที่ 4 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนด 105 วัน นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีส่ง ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ไปถึงสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 สำหรับการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ของวุฒิสภาเห็นควรพิจารณาในวันที่ 11 — 12 กันยายน 2549 และคาดว่าสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ในวันที่ 19 กันยายน 2549
ทั้งนี้ หากมีการดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 สามารถประกาศใช้ได้ก่อนเริ่มปีงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
1. แนวทางในการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550
1.1 จัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2550 ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2550 ตามกรอบยุทธศาสตร์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2548 — 2551
1.2 ดำเนินนโยบายงบประมาณสมดุลอย่างต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ.2548 และปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ตามแผนบริหารราชการแผ่นดิน
1.3 ควบคุมรายจ่ายประจำให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้มีรายจ่ายลงทุนเพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ
1.4 เน้นความสมดุลระหว่างนโยบายทางสังคมและนโยบายทางเศรษฐกิจ
1.5 เน้นภารกิจที่มีความต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายสำคัญของรัฐบาล (Flag ship) โครงการลงทุนขนาดใหญ่ภาครัฐ (Mega Projects) และพิจารณาทบทวนเพื่อตัดทอน ชะลอ ยกเลิกภารกิจที่มีความซ้ำซ้อนระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ควบคู่กับการพิจารณาแหล่งเงินอื่นนอกเหนือจากแหล่งเงินงบประมาณ
2 การเตรียมความพร้อมในเบื้องต้นเพื่อการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 เพื่อให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 สามารถบรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจดำเนินการ ดังนี้
2.1 พิจารณาทบทวนการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ ผลผลิต กิจกรรม และตัวชี้วัดผลสำเร็จของปีงบประมาณ พ.ศ.2549 พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ให้มีความชัดเจนสอดคล้องกับสถานการณ์ความเป็นจริงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2.2 พิจารณาทบทวนแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของส่วนราชการร่วมกับสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการให้ สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2550 เพื่อใช้เป็นกรอบใน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550
2.3 ปรับปรุงฐานข้อมูลงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ตามข้อ 2.2 พร้อมทั้งจัดทำประมาณการรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็นที่สอดคล้องกับฐานข้อมูลรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง เพื่อให้ทราบภาระงบประมาณและให้เป็นกรอบในการกำหนดทางเลือกและจำลำดับความสำคัญประกอบการตัดสินใจของรัฐบาลในการจัดสรรงบประมาณภายใต้วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การกำหนดปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 เป็นการกำหนดแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงานในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลและระยะเวลาที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด โดยมีลำดับขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
3.1 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการเตรียมการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ในวันที่ 18 ตุลาคม 2548
3.2 ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจร่วมกับสำนักงบประมาณ พิจารณาทบทวนการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ ผลผลิต กิจกรรม และตัวชี้วัดผลสำเร็จ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2549 พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2548 รวมทั้งการปรับปรุงฐานข้อมูลรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง และจัดทำประมาณการรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็นระหว่างเดือนตุลาคม — พฤศจิกายน 2548
3.3 ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจร่วมกับสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณาทบทวนแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของส่วนราชการที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชกรแผ่นดิน พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2550 เสนอต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ความเห็นชอบ และส่งสำนักงบประมาณ ระหว่างเดือนตุลาคม — ธันวาคม 2548
3.4 กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาทบทวนประมาณการรายได้ วงเงินงบประมาณและโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อจัดทำข้อเสนอระหว่างเดือนพฤศจิกายน — ธันวาคม 2548
3.5 สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันพิจารณาทบทวนและจัดทำข้อเสนอเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และสถานการณ์ปัจจุบัน ระหว่างเดือน พฤศจิกายน — ธันวาคม 2548
3.6 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบนโยบายงบประมาณ วงเงิน โครงสร้างงบประมาณ และยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ในวันที่ 17 มกราคม 2549 สำนักงบประมาณเวียนแจ้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจทราบพร้อมหลักเกณฑ์คู่มือคำขอและวิธีการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ
3.7 รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ และรัฐมนตรีมอบนโยบายให้กระทรวงส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจจัดทำเป้าหมาย ยุทธศาสตร์กระทรวง ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2550 ในระหว่างวันที่ 18 — 24 มกราคม 2549 ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับวงเงินและคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ในทุกมิติที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2550 พร้อมประมาณการรายได้ประจำปีฯ เสนอรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพิจารณากลั่นกรองรายละเอียดให้ความเห็นชอบและส่งสำนักงบประมาณ ระหว่างวันที่ 25 มกราคม — 23 กุมภาพันธ์ 2549
3.8 สำนักงบประมาณพิจารณาและจัดทำข้อเสนอรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ โดยบูรณาการงบประมาณในมิติกระทรวง มิติประเด็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและมิติพื้นที่ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พร้อมหลักเกณฑ์การปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ — 10 เมษายน 2549 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันที่ 18 เมษายน 2549
3.9 รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบและรัฐมนตรีมอบนโยบายให้กระทรวงส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและส่งสำนักงบประมาณในวันที่ 19 — 25 เมษายน 2549
3.10 สำนักงบประมาณพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในวันที่ 9 พฤษภาคม 2549
3.11 สำนักงบประมาณจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 และเอกสารงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2549
3.12 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ของสภาผู้แทนราษฎรวาระที่ 1 ควรเริ่มพิจารณาในวันที่ 14 — 15 มิถุนายน 2549 และวาระที่ 2 — 3 ควรเริ่มพิจารณาในวันที่ 23 — 24 สิงหาคม 2549 ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ของสภาผู้แทนราษฎรแล้วเสร็จก่อนวันที่ 4 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนด 105 วัน นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีส่ง ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ไปถึงสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 23 พฤษภาคม 2549 สำหรับการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ของวุฒิสภาเห็นควรพิจารณาในวันที่ 11 — 12 กันยายน 2549 และคาดว่าสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ในวันที่ 19 กันยายน 2549
ทั้งนี้ หากมีการดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 สามารถประกาศใช้ได้ก่อนเริ่มปีงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--