คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรายงานผลการสำรวจความ เสียหายจากธรณีพิบัติภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้ โดยส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสัมภาษณ์ทุกครัวเรือนที่พักอาศัยในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายใน 6 จังหวัด จำนวน 280 หมู่บ้าน/ชุมรุมอาคาร คาบการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 4 — 18 มกราคม 2548 และได้จัดทำสรุปผลการสำรวจเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ครัวเรือนที่ได้รับความเสียหายมีทั้งสิ้น 11,584 ครัวเรือน เป็นครัวเรือนที่เสียหายทั้งครัวเรือน 4,331 ครัวเรือน และเสียหายบางส่วน 7,253 ครัวเรือน
2. ผู้ที่ปกติอาศัยในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย เสียชีวิตจำนวน 539 ราย บาดเจ็บ 930 ราย และสูญหาย 301 ราย
3. มูลค่าความเสียหาย (จากการสัมภาษณ์และประมาณการ) ในภาพรวมประมาณ 2,172.57 ล้านบาท จังหวัดที่มีความเสียหายมากที่สุด คือ จังหวัดพังงา มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 1,075.20 ล้านบาท รองลงมาคือ กระบี่ ระนอง ภูเก็ต สตูล และตรัง มีมูลค่าความเสียหาย 368.45 229.62 229.03 227.34 และ 42.93 ล้านบาท ตามลำดับ
4. พื้นที่ทำการเกษตร/ประมง เสียหาย 6,046 ไร่ รถยนต์/รถปิคอัพเสียหาย 362 คัน รถจักรยานยนต์ เสียหาย 1,426 คัน เรือประมงเสียหาย 3,327 ลำ และเรือท่องเที่ยวเสียหาย 339 ลำ
5. ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.0 ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนเครื่องมือ/อุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ รองลงมาคือ ต้องการให้ฟื้นฟูอาชีพ/จัดหางานให้ทำมีร้อยละ 43.9 ต้องการให้สนับสนุนเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ มีร้อยละ 32.6 ให้รัฐดูแล/จ่ายค่าชดเชยความเสียหายมีร้อยละ 30.3
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. ครัวเรือนที่ได้รับความเสียหายมีทั้งสิ้น 11,584 ครัวเรือน เป็นครัวเรือนที่เสียหายทั้งครัวเรือน 4,331 ครัวเรือน และเสียหายบางส่วน 7,253 ครัวเรือน
2. ผู้ที่ปกติอาศัยในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย เสียชีวิตจำนวน 539 ราย บาดเจ็บ 930 ราย และสูญหาย 301 ราย
3. มูลค่าความเสียหาย (จากการสัมภาษณ์และประมาณการ) ในภาพรวมประมาณ 2,172.57 ล้านบาท จังหวัดที่มีความเสียหายมากที่สุด คือ จังหวัดพังงา มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 1,075.20 ล้านบาท รองลงมาคือ กระบี่ ระนอง ภูเก็ต สตูล และตรัง มีมูลค่าความเสียหาย 368.45 229.62 229.03 227.34 และ 42.93 ล้านบาท ตามลำดับ
4. พื้นที่ทำการเกษตร/ประมง เสียหาย 6,046 ไร่ รถยนต์/รถปิคอัพเสียหาย 362 คัน รถจักรยานยนต์ เสียหาย 1,426 คัน เรือประมงเสียหาย 3,327 ลำ และเรือท่องเที่ยวเสียหาย 339 ลำ
5. ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.0 ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนเครื่องมือ/อุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ รองลงมาคือ ต้องการให้ฟื้นฟูอาชีพ/จัดหางานให้ทำมีร้อยละ 43.9 ต้องการให้สนับสนุนเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ มีร้อยละ 32.6 ให้รัฐดูแล/จ่ายค่าชดเชยความเสียหายมีร้อยละ 30.3
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--